การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการสัมผัสสารพาราควอตในผู้ฉีดพ่น
คำสำคัญ:
พาราควอต, อาการไม่พึงประสงค์, สารกำจัดวัชพืช, การสัมผัสทางการหายใจ, เมตริกความเสี่ยงบทคัดย่อ
การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอาการผิดปกติอันไม่พึงประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพและ ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อสุขภาพ ในผู้ฉีดพ่นสารพาราควอตโดยใช้เมตริกความเสี่ยงที่พิจารณาจากโอกาสสัมผัส (การสัมผัส) และความ รุนแรง (อาการผิดปกติอันไม่พึงประสงค์) ในการประเมินความเสี่ยง เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์อาสาสมัครผู้ฉีดพ่น 30 คน ในอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ผลการศึกษาพบว่าผู้ฉีดพ่นส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 83.33 กลุ่มตัวอย่างมีประวัติอาการผิดปกติ 5 ลำดับแรกคือ ระคาย เคืองทางเดินหายใจส่วนต้น ระคายเคืองผิวหนัง เพลียหรือเหนื่อยล้า เวียนศีรษะ และระคายเคืองตาหรือน้ำตาไหลมากตามลำดับ โดยผู้ฉีดพ่น รายงานว่าอาการอย่างน้อย 1 อาการสูงสุด และรองลงมามี 3 อาการร่วมกัน และเมื่อจัดกลุ่มเป็นอาการรุนแรงมีร้อยละ 60.00 อาการไม่รุนแรง มีร้อยละ 40.00 ผลการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพโดยใช้เมตริกความเสี่ยง พบว่าผู้ฉีดพ่นที่มีความเสี่ยงสูงต่อผลกระทบทางสุขภาพ ร้อยละ 23.33 และความเสี่ยงยอมรับได้ร้อยละ 76.67 ซึ่งปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเสี่ยงสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) คือ พฤติกรรมการ รับประทานอาหารในที่ฉีดพ่น และปริมาณสารพาราควอตที่ใช้ต่อปี นอกจากนี้ยังพบว่าอาสาสมัครมีการป้องกันทางการหายใจ ร้อยละ 90.00 แต่ยังคงมีความเสี่ยงทั้งจากข้อมูลสนับสนุนจากผลการคาดการณ์ความเสี่ยงต่อสัมผัสผ่านทางการหายใจที่พบว่ามีความเสี่ยงต่อการสัมผัสร้อยละ 66.67 ข้อมูลนี้มีประโยชน์ต่อการศึกษาต่อไปด้านความเสี่ยงต่อการสัมผัสทางการหายใจโดยใช้ผลการตรวจวัดความเข้มข้นของสารพาราควอตที่ ระดับทางการหายใจร่วมกับการพิจารณาอุปกรณ์ป้องกันทางการหายใจต่างชนิดกันขณะฉีดพ่น เพื่อลดการสัมผัสสารผ่านทางการหายใจและ ความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้ฉีดพ่น
References
Fortenberry GZ, Beckman J, Schwartz A, Prado JB, Graham LS, Higgins S et al. Magnitude and characteristics of acute paraquat- and diquat-related illnesses in the us: 1998-2013. Environ Res. 2016 Apr; 146: 191-9.
Kumar H, Singh VB, Meena BL, Gaur S & Singla R. Paraquat Poisoning: A Case Report. J Clindiagn Res. 2016; 10(2): 10–1.
NIOSH. Paraquat (paraquat dichloride), 2016. Available at https://www.cdc.gov/niosh/npg/npgd0478.html,accessed April 10, 2017.
Patil VS & patil GV. A study of paraquat poisoning. IJSR. 2016 march 5(3): 118-21.
พันธ์เทพ เพชรผึ้ง. ผลกระทบทางสุขภาพจากการใช้พาราควอตและแนวทางจัดการความเสี่ยง กรณีศึกษา ตำบลปงสนุก อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน. TJPP. 2558; 7(2): 250-8.
ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี. ภาวะเป็นพิษจาก paraquat, 2558. สืบค้นจาก http://med.mahidol.ac.th/poisoncenter/th/pois-cov/pq, เข้าถึงเมื่อ 19 มกราคม 2560.
สุนิสา ชายเกลี้ยง. พิษวิทยาสาธารณสุข. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557.
สำนักควบคุมโรคและวัสดุการเกษตร. รายงานสรุปการนำเข้าวัตถุอันตรายปี 2559. สืบค้นจาก http://www.doa.go.th/ard/, เข้าถึงเมื่อ 21 มีนาคม 2560.
Morshed MM, Omar D, Mohamad R, Wahed S &Rahman MA. Airborne paraquat measurement and its exposure to spray operators. IJABE. 2010; 12(5): 679–84.
OSHA. permissible exposure limits – annotated tables, 2017. available at https://www.osha.gov/dsg/annotated-pels/, accessed october 27, 2016.
NIOSH. paraquat 5003, 1994. available at https://www.cdc.gov/niosh/docs/2003-154/pdfs/5003.pdf, accessed october 27, 2016.
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข. แบบประเมินความเสี่ยงในการทำงานของเกษตรกรจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (นบก.1-56), 2557. สืบค้นจาก http://envocc.ddc.moph.go.th/, ค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2559.
European commission. paraquat, 2003. Available at http://archive.pic.int/incs/crc7/k11)add2/english/crc-7-11- add-2_eu_2 shpf%20info_paraquat_review%20report_2003. pdf, accessed november 23, 2016.
U.S. EPA. risk assessment guidance for superfund volume i: human health evaluation manual supplemental guidance “standard default exposure factors” interim final. united state: washington d.c.; 1991.
U.S. EPA. Paraquat. available at https://cfpub.epa.gov/ncea/iris2/ chemicallanding.cfm? substance_nmbr=183, accessed march 27, 2017.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.