ประสิทธิผลของแผ่นรองไหล่เพื่อลดอาการปวดไหล่ ในผู้ประกอบอาชีพขนส่งน้ำแข็ง กรณีศึกษา โรงน้ำแข็งแห่งหนึ่ง ในตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • ณัฐติกุล เขียวคำปัน
  • วิโรจน์ จันทร

คำสำคัญ:

การยศาสตร์, แผ่นรองไหล่, อาการปวดไหล่, ผู้ประกอบอาชีพขนส่งน้ำแข็ง

บทคัดย่อ

          งานวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของแผ่นรองไหล่สำหรับลดอาการปวดไหล่จากการทำงานของผู้ประกอบอาชีพขนส่งน้ำแข็ง โดยศึกษาในโรงน้ำแข็งแห่งหนึ่ง ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก เก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงานขนส่งน้ำแข็ง (n=30) โดยใช้แบบสอบถาม แบบประเมินความปวด Body diagrams และ Numeric Rating Scales วัสดุที่ใช้ในการออกแบบแผนรองไหล่คือซิลิโคนที่มีความหนา 3 มิลลิเมตร ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังการใช้แผ่นรองไหล่กลุ่มทดลอง มีอาการปวดไหล่ต่ำกว่าก่อนการใช้แผ่นรองไหล่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) ภายหลังการใช้แผ่นรองไหล่กลุ่มควบคุมมีอาการปวดไหล่สูงกว่าก่อนการใช้แผ่นรองไหล่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.017 ) เปรียบเทียบอาการปวดไหล่ ก่อนการใช้แผ่นรองไหล่ระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม พบว่ามีอาการปวดไหล่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.78) เปรียบเทียบอาการปวดไหล่ หลังการใช้แผ่นรองไหล่ระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม พบว่ามีอาการปวดไหล่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) สรุปได้ว่าแผ่นรองไหล่ที่ใช้ซิลิโคนหนา 3 มิลลิเมตร สามารถลดอาการปวดไหล่ของพนักงานขนส่งน้ำแข็งได้ ข้อเสนอแนะจากการศึกษาควรพิจารณาเปรียบเทียบความหนาของแผ่นซิลิโคนที่มีความหนาแตกต่างกันเพื่อให้ได้แผ่นรองไหล่ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด

References

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. ปัญหาและแนวทางการแก้ไขการผลิตน้ำแข็ง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2545.

วรรธนะ ชลายนเดชะ. (2554). แบกอย่างไรไม่ให้เจ็บ. วันที่ค้นข้อมูล 16 มกราคม 2559, จาก บทความสุขภาพ หมอชาวบ้าน เวปไซด์ : http://www.pt.mahidol.ac.th/knowledge.

ฐิติชญา ฉลาดล้น, พิมพ์ลดา อนันต์สิริเกษม. (2556). การบาดเจ็บทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานและพฤติกรรมการทำงานที่ปลอดภัยของพนักงานศูนย์บริการให้ข้อมูล. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช.

สุดาว เลิศวิสุทธิไพบูลย์. (2550). เทคนิคการยกของตามหลักการยศาสตร์ โดยใช้แผ่นรองไหล่. วันที่ค้นข้อมูล 3 กรกฎาคม 2559, จาก เวปไซด์ : http://healthsci.stou.ac.th/UploadedFile/4)

นันทสิริ แสงสว่าง, สุพรรณี นาจารย์. (2556). การใช้เบาะน้ำเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูก. วารสารโรงพยาบาลพิจิตร, 28(1), 41-49. เข้าถึงได้จาก ฐานข้อมูลวิจัยไทย

สหัทยา ไพบูลย์วรชาติ. Pain Assessment and Measurement. วารสารเชียงใหม่เวชสาร. 2555:1-13.

สันติ อัศวพลังชัย, อยุทธ ธัมมวิจยะ. (2556). การศึกษาผลจากการใส่แผ่นซิลิโคนพยุงอุ้งเท้าด้านในชนิดทำเฉพาะรายสำหรับผู้ป่วยโรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต,

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล.

พัชรพร วงษ์สิทธิชัย, ฉกาจ ผ่องอักษร. (2557). ผลการใช้ผ้าเทปเพื่อการบำบัดในการลดอาการปวดไหล่ข้างที่อ่อนแรงในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-17