การศึกษาการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในสถาบันอุดมศึกษา : ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
คำสำคัญ:
การดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม, สถานบันอุดมศึกษาบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนงานวิจัยและบทความที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในสถานบันอุดมศึกษา โดยการสืบค้นในฐานข้อมูล Google Scholar และ ฐานข้อมูลงานวิจัย (Thailis) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 – 2560 โดยใช้คำในการสืบค้น คือ “การจัดการความปลอดภัย” “นโยบายความปลอดภัย” “บ่งชี้อันตราย” “สถาบันอุดมศึกษา” “มหาวิทยาลัย” “การยศาสตร์”และ “สถาบันอุดมศึกษา” ซึ่งพบงานวิจัยและบทความที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 12 เรื่อง ผลการวิจัยพบว่าสถาบันอุดมศึกษามีการดำเนินการเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในระดับที่แตกต่างกัน และพบว่าบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษามีความเสี่ยงในการทำงานไม่ว่าจะมาจากการกระทำของตัวบุคลากรเอง หรือจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน ทั้งจากสารเคมี และชีวภาพ ดังนั้นหากมหาวิทยาลัย มีการดำเนินการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในสถาบันอุดมศึกษา ก็จะเป็นการลดความเสี่ยงดังกล่าวลงได้ และเป็นการป้องกันมิให้เกิดความสูญเสีย ไม่ว่าจะเป็นทางด้านร่างกาย ทรัพย์สิน หรือชื่อเสียงของแต่ละสถาบัน
References
กองความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. ความเป็นมาของระเบียบวาระชาติ “แรงงาน ปลอดภัยและสุขภาพอนามัยดี”. เข้าถึงได้จาก http://www.oshthai.org/index.php?option=com_content&view=article&id=33& Itemid=226. เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2560.
พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 128 ตอน 4 ก. 5-25.
กองความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. สถาบันอุดมศึกษาที่เปิดสอนสาขาอาชีวอนามัยหรือเทียบเท่า. เข้าถึงได้จาก www.oshthai.org/index.php?option=com_content&view=article&id= 92&lang=th. เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2560.
ศูนย์บริหารความปลอภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล. แนวปฏิบัติอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ: ทองสุขพริ้นท์. 2555.
ประกาศคณะกรรมการเพื่อควบคุมบริหารจัดการด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. นโยบายความปลอดภัยห้องวิจัยกลาง. เข้าถึงได้จาก http://zoo.sci.ku.ac.th/new-website/zoology25-en/file_document/. เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2560.
ประกาศมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. นโยบายความปลอดภัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. เข้าถึงได้จาก http://www.rangsitcenter.tu.ac.th/files/TU%20OSH%20COM%20Training/OSH%20com%201 %20policy.pdf. เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2560.
ประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. นโยบายและแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัย ทางชีวภาพ ห้องปฏิบัติ และสิ่งแวดล้อม. เข้าถึงได้จาก http://rac.oop.cmu.ac.th/rac-view.php?news_id=126&news=cmuibc. เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2560.
วิไล กวางคีรี. การบริหารความปลอดภัยในสถานศึกษา. รายงานการค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2550.
รวิวรรณ หิรัญสุนทร. ทัศนคติของนิสิตต่อการจัดดำเนินการด้านความปลอดภัยในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการอุดมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 2555.
นรุตตม์ สหนาวิน. การประเมินความเสี่ยงด้านจุลินทรีย์ในอากาศในห้องเรียน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์. วารสารคณะพลศึกษา 2555. 15 (ฉบับพิเศษ). 367- 80.
พรเพ็ญ ก๋ำนารายณ์. ผลการสำรวจชี้บ่งอันตรายและวิเคราะห์ความเสี่ยงในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2558. 23(4). 667-81.
จินดาวัลย์ เพ็ชรสูงเนิน สาริณี ลิพันธ์ สุราณี อโณทัย รุ่งรัตน์ และโกวิทย์ ปิยะมังคลา. การชี้บ่งอันตรายห้องปฏิบัติการเคมี: กรณีศึกษาห้องปฏิบัติการเคมีอุตสาหกรรม. SDU Res.J. 2559. 9(1). 21-33.
อุดมวิชช์ พลเยี่ยม และทรงสิริ วิชิรานนท์. การจัดการสารเคมีในห้องปฏิบัติการของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. 2552.
ธนา ภิรมย์ สุรสิทธิ์ ระวังวงศ์ และนงนาฎ ระวังวงศ์. การประเมินภาวะความเสี่ยงทางการยศาสตร์จากการทำงานของบุคลากรในสำนักงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. 2557.
จุฑาทิพย์ วิญญูเจริญกุล และกลางเดือน โพชนา. การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ด้วยวิธี Rapid Office Strain Assessment (ROSA). Journal of Public Health 2558. 45(2). 148-58.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.