ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับและความเครียด ของนักดนตรีมืออาชีพ อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • เมธา บัวคำ
  • กานต์พิชชา เกียรติกิจโรจน์

คำสำคัญ:

ความเครียด, คุณภาพการนอนหลับ, นักดนตรีมืออาชีพ

บทคัดย่อ

          การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (Cross sectional analytic) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับและความเครียด ของนักดนตรีมืออาชีพ อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก กลุ่มตัวอย่างเป็นนักดนตรีมืออาชีพจำนวน 64 ราย ระยะเวลาในการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคม ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 3 ส่วน 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยด้านการทำงาน 2) แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับ (Pittsburg Sleep Quality Index) 3) แบบประเมินระดับความเครียดสวนปรุง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละสถิติ Chi-square Test และ Pearson Correlation ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับ ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ประกอบด้วย อายุ โรคประจำตัว และปัจจัยการทำงาน ประกอบด้วยอายุการทำงาน การทำงานช่วงดึก (18.00-06.00 น.) และชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยต่อวัน (p-value<0.05) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียด ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ประกอบด้วยสถานภาพสมรส โรคประจำตัว และปัจจัยการทำงาน ประกอบด้วยอายุการทำงานชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยต่อวัน (p-value<0.05) โดยคุณภาพการนอนหลับมีความสัมพันธ์กับความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง (p-value<0.01, r=0.59)

References

Boivin, D.B., & Boudreau, P. (2014). Impacts of shift work on sleep and circadian rhythms. PathologieBiologie, 62(5), 292-301.Retrieved from: http://dx.doi.org/10.1016/j.patbio.2014.02.001

ธีรศักดิ์ สาตรา. (2553). นอนไม่หลับ, ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล, กรุงเทพฯ. 3. Landis, C.A. (2002). Sleep and methods of assessment. The Nursing Clinics of North America, 37(4), 583-597.

Fruhstorfer,B., Fruhstorfer, H., & Grass, P. (1981). Daytime noise and Subsequent night sleep in man. European Journal of Applied Physiology and Occupational Physiology, 53(2), 159-163.

ภัควรรต บัวทอง. (2546). คุณภาพการนอนหลับและสุขภาพจิตของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน). คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 63-67.

ผาณิตา ชนะมณี, สุนุตรา ตะบูนพงศ์, ถนอมศรี อินทนนท์. (2548). คุณภาพการนอนหลับและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของนักศึกษา มหาวิทยาลัยในภาคใต้. มหาวิทยาลัยสงขลาราชนครินทร์, 11(2), 163-173.

Closs, L. (1988). Patients’ sleep-wake rhythm in hospital part1. Nursing Time, 84(1), 48-50.

รักพงศ์ พยัคฆาคม. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะความเครียดกับประสิทธิภาพในการทำงานของคนงานเก็บขนมูลฝอยในเทศบาลต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี.วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

Kecklund, G., Akerstedt T., Lowden A. (1997). Morning work: effects of early rising on sleep and alertness. Sleep Mar, 20(3):2015-23.

Best Practice & Research Clinical Rheumatology. (2008). Volume 22, Issue 4, Pages 579-772.

อารยะ คงมนต์. (2545). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าสาเร็จรูป บริษัท ไหมทอง จำกัด. ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคม คณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนศาสตร์.

Holmes, Thomas H., and Richard H. Rahe. (1967). “The social readjustment rating scale.” Journal of psychosomatic research. 11.2, 213-218.

Peter, R., Alfredsson, L., et al. (1999). Does a stressful psychosocial work environment mediate the effect of shift work on cardiovascular risk factors? Retrieved from: http://www.ncbi.nlm.nih. gov/entrez/query.fcgi?cmd=Retrieve&db=pubmed&dopt=Abstract_uids=10505664.

Sorrentino, S.A. (1995). Mosby’s textbook of Nursing assistants. United Stage of America: Mosby Lifeline.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-17