การวิเคราะห์ท่าทางการทำงานและการศึกษาความชุกของการเกิดความผิดปกติของระบบกล้าม เนื้อและโครงสร้างกระดูกของพนักงานยกสินค้าในบริษัทปิโตรเคมีแห่งหนึ่ง
คำสำคัญ:
พนักงานยกสินค้า, ท่าทางการทำงาน, ความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและโครงสร้างกระดูกบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินท่าทางการยกมีความสัมพันธ์กับการเกิดความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและโครงสร้างกระดูกของพนักงานยกสินค้าบริษัท ปิโตรเคมีแห่งหนึ่ง จำนวนตัวอย่างที่ศึกษาข้อมูลลักษณะส่วนบุคคล และอื่นๆ มีจำนวน 22 คน และทำการศึกษาแบบประเมินซ้ำในตัวอย่าง 22 คน ได้เป็นจำนวนทั้งหมด 120 ราย เครื่องมือของการศึกษานี้ คือ การสังเกตท่าทางการยกสินค้าด้วยวิธี OWAS เพื่อวิเคราะห์ความรุนแรงต่อร่างกายจากการใช้ท่าทางการทำงานผิดปกติ แบบสอบถามข้อมูลลักษณะส่วนบุคคล ข้อมูลสภาวะสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ข้อมูลการทำงาน และใช้แบบสอบของ Cornell Musculoskeletal Discomfort Questionnaires (CMDQ) เพื่อประเมินการเกิดความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและโครงสร้างกระดูก การศึกษานี้ได้มุ่งเน้นไปยังพนักงานยกสินค้าในคลังสินค้าเท่านั้น ผลการศึกษาพบว่าพนักงานยกสินค้า เป็นผู้ชายทั้งหมด มีอายุเฉลี่ย 35.27 ± 2.02 ปี มีค่าดัชนีมวลกาย 22.45 ± 0.60 พบร้อยละ 59.1 เมื่อมีอาการเจ็บปวดตามร่างกาย จะซื้อยารับประทานเพื่อบรรเทาอาการปวด พบร้อยละ 86.4 ไม่ออกกำลังกาย และทั้งหมดไม่มีโรคประจำตัว พนักงานส่วนใหญ่มีประสบการณ์ทำงานยกน้อยกว่า 3 ปี ไม่ได้ทำงานพิเศษหลังเลิกงานหรือหยุดงาน สินค้าที่ยกมีน้ำหนัก 25 กิโลกรัม/ถุง ทำงานยกสินค้าเป็นคู่ต่อ 1 คันรถรับสินค้า ยกสินค้ามากกว่า 700 ถุงต่อรถรับสินค้า 1 คัน ใช้เวลายกสินค้าต่อคันรถ ประมาณไม่เกิน 40 นาที และมีเวลาพักประมาณ 5-10 นาทีเมื่อยกเสร็จ 1 คัน สำหรับรอหมุนเวียนยกสินค้าในคันถัดไป พบอาการปวดหลังส่วนล่างมีความชุกมากที่สุดร้อยละ 55.8 ท่าทางการยกสินค้าเหนือระดับหัวไหล่มีสัมพันธ์ต่อการเกิดความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและโครงสร้างกระดูก ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ( p-value = 0.036) และพบว่าร้อยละ 65 มีผลการประเมินการยศาสตร์ด้วยวิธี OWAS เป็นการดำเนินการระดับ 4 คือท่าทางการทำงานเป็นอันตรายต่อสุขภาพมาก ควรได้รับการแก้ไขในทันที และร้อยละ 35 มีผลการประเมินการยศาสตร์ด้วยวิธี OWAS เป็นการดำเนินการระดับ3 คือท่าทางการทำงานเป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างชัดเจน ควรได้รับการแก้ไขโดยเร็ว การปรับปรุงสถานที่ทำงานให้เหมาะสม การออกกำลังกายและการสันทนาการ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อจะช่วยลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและโครงสร้างกระดูก
References
Basahel AM. Investigation of work-related Musculoskeletal Disorders (MSDs) in warehouse workers in Saudi Arabia. Procedia Manufacturing 2015;3: 4643–49
Lasota AM. Packer’s workload assessment, using the owas method [Internet].2013[cited 2016 Mar 10]. Available from: http://www.logistics-and-transport.eu/index.php/main/article/view/261
CUergo. Cornell Musculoskeletal Discomfort Questionnaires (CMDQ) [Internet]. 2016 [cited 2016 Mar 10]. Available from: http://ergo.human.cornell.edu/ahmsquest. html
Louhevaara V, Suurnakki T. Owas: a method for the evaluation of postural load during work. Helsinki: Institue of Occupational Health Centre for Occupational Safety; 1992.
Grzybowska k. An owas-based analysis of storekeeper workloads [Internet]. 2010[cited 2016 Mar 10]. Available from: http://www.logistics-and transport.eu/index.php/main/article/view/137
Bhatt H, Sharma P. Postural discomfort during loading and unloading work. Asian science 2012;7:168-72
Knox TN. Manual handling workload and musculoskeletal discomfort among warehouse personnel.
Walden University; 2010.
Murtezani A, Ibraim Z, Sllamniku S, Osmani T, Sherifi S. Prevalence and risk factor for low back pain in industrial. Folia medica 2011;53(3):68-74
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.