การประเมินพฤติกรรมการทำงานและสภาพแวดล้อมการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน ในอู่เคาะพ่นสีรถยนต์ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการทำงาน, สภาพแวดล้อมการทำงาน, อู่เคาะพ่นสีรถยนต์บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ในการวิจัยนี้ ศึกษาพฤติกรรมการทำงาน สภาพแวดล้อมการทำงานของและ ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในอู่เคาะพ่นสีรถยนต์อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ แบบภาคตัดขวาง โดยศึกษาจากกลุ่มผู้ปฏิบัติงานในอู่เคาะพ่นสีรถยนต์ จำนวน 69 คน ทำการรวบรวมข้อมูลช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ โดยใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความสัมพันธ์ทางสถิติด้วยฟิชเชอร์ (Fisher’s exact test) ผลการวิจัยพบว่า ผู้ปฏิบัติงานในอู่เคาะพ่นสีรถยนต์ทั้งหมดเป็นเพศชาย ร้อยละ 100.00 ส่วนใหญ่มีอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 45 ปี ร้อยละ 72.46 มีการศึกษาต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 81.20 มีประสบการณ์ในการทำงานมากกว่า 11 ปี ร้อยละ 55.07 และพบว่า พฤติกรรมการทำงานในด้านการใช้เครื่องจักร เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ที่ปลอดภัยอยู่ในระดับที่ปลอดภัยมาก (x= 3.73, S.D. = 0.99) สภาพแวดล้อมการทำงานในอู่เคาะพ่นสีรถยนต์มีความสะอาดถูกสุขลักษณะและมีอากาศถ่ายเทได้ดีอยู่ในระดับที่ปลอดภัย (x= 0.75, S.D.= 0.43) และพบว่าข้อมูลส่วนบุคคลและสภาพแวดล้อมการทำงานไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการทำงานที่ p-value > .05
References
จุมพล เกียรติไกรรัตน์และคณะ. คู่มือการควบคุมและป้องกันมลพิษอากาศสำหรับอุตสาหกรรมอู่ซ่อมพ่นสีรถยนต์. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.; 2550.
สำนักงานกองทุนเงินทดแทน. สถิติการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานจำแนกตามความรุนแรงและประเภทกิจการภาพรวมทั่วประเทศประเภทกิจการ 1004 การผลิต การประกอบซ่อมรถยนต์ [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 14 ส.ค. 2559]. เข้าถึงได้จาก:http://www.sso.go.th/wpr/category.jsp?lang=th&-cat=81
ฐานิศ หริกจันทร์. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงด้านความปลอดภัยในการทำงานศึกษาเฉพาะกรณีของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมประกอบรถยนต์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร์ มหาบัณฑิต]. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2551.
ณัฏฐนันท์ ยอดวงศ์. สิ่งแวดล้อมในการทำงาน สภาพการทำงาน และพฤติกรรมการทำงานที่ปลอดภัยของคนงานในสถานประกอบการเคาะพ่นสีรถยนต์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2555.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น; 2545.
วิภารัตน์ โพธิ์ขี, สุภาพร บัวเลิง และ สุนิสา ชายเกลี้ยง ผลการสำรวจด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการร้านซ่อมรถยนต์ในเขตเทศบาลขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ [อินเทอร์เน็ต]. 2555 [เข้าถึงเมื่อ 15 ก.ค. 2559];5(3):[77-86] เข้าถึงได้จาก: http://thailand.digitaljournals.org/index.php/KKPHR/article/download/14288/13798
ราตรี ทิตตเมธา, ชีวิต กีกอง และ บุญรดา จันทรตัน. พฤติกรรมและภาวะสุขภาพของพนักงานอู่ซ่อมรถยนต์ที่เสี่ยงต่อโรคพิษตะกั่วในเขต 8 กลุ่มโรคจากการการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม สำนักงานควบคุมโรคที่ 8. นครสรรค์: กรมควบคุมโรค; 2549.
สุณัฏฐา โน้ตสุภา และอุไรวรรณ อินทร์ม่วง. สภาพปัญหาด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมของอู่ซ่อม และอู่เคาะพ่นสีรถยนต์และแนวทางการแก้ไขปัญหา ในเขตเทศบาลเมืองสกลนคร. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์[อินเทอร์เน็ต]. 2555 [เข้าถึงเมื่อ 15 ก.ค. 2559];5(3):[65-76]. เข้าถึงได้จาก: http://thailand.digitaljournals.org/index.php/KKPHR/article/viewFile/14287/13797
กรวิกา หาระสาร และ จิตรพรรณ ภูษาภักดีภพ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนรถยนต์แห่งหนึ่งของจังหวัดชลบุรี. วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุบลราชธานี [อินเทอร์เน็ต]. ม.ป.ป. [เข้าถึงเมื่อ 23 ธ.ค. 2559];5(1): [84-102]. เข้าถึงได้จาก: https://cdn.fbsbx.com
บรรหาร จันทอง (สัมภาษณ์). ช่างเคาะพ่นสีรถยนต์. อู่เปี๊ยกการช่าง. [19 ธ.ค. 2559]
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.