คุณภาพชีวิตของพนักงานรักษาความปลอดภัยในมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง

ผู้แต่ง

  • กัญญาณี สมุหเสนีโต
  • วรรณภา มาณะการณ์
  • โสมศิริ เดชารัตน์

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, พนักงานรักษาความปลอดภัย, มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของพนักงานรักษาความปลอดภัยในมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุงและเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของพนักงานรักษาความปลอดภัยในมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) รวมจำนวนทั้งหมด 58 คน เก็บตัวอย่างด้วยแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.87 เกณฑ์คุณภาพชีวิตมี 5 ระดับ และวิเคราะห์ปัจจัยส่วนบุคคลกับระดับคุณภาพชีวิตด้วยสถิติ Chi-square  ผลการศึกษาพบว่าพนักงานรักษาความปลอดภัยในมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง เป็นผู้ชายทั้งหมด 58 คน (ร้อยละ 100) ส่วนใหญ่มีช่วงอายุ 41 ปีขึ้นไป (ร้อยละ 48.3) รายได้จากการประกอบอาชีพ 10,000 – 13,000 บาท จำนวน (ร้อยละ 75.9) ระดับการศึกษามัธยมศึกษา (ร้อยละ 63.8) อายุงานที่ทำในปัจจุบันส่วนใหญ่ มากกว่า 4 ปี (ร้อยละ 34.5 ระยะเวลาการทำงานในหนึ่งวัน ส่วนใหญ่มากกว่า 8 ชั่วโมง (ร้อยละ 77.6) การจัดอบรม พบว่าส่วนใหญ่มีการอบรม (ร้อยละ 96.6) ส่วนใหญ่ไม่ประวัติการประสบอุบัติเหตุ (ร้อยละ 81.0) ผลการศึกษาคุณภาพชีวิติโดยภาพรวมอยู่ในระดับดี และเมื่อจำแนกเป็นรายด้านจากคะแนนเต็ม 5 พบว่า 1) ด้านสุขภาพกาย อยู่ในระดับดีมาก ( x̅ = 3.93; SD= 0.71) 2) ด้านจิตใจอยู่ในระดับดีมาก ( x̅ = 3.47; SD= 0.71) 3) ด้านสัมพันธภาพสังคม อยู่ในระดับ (x̅ = 3.60; SD=0.66) และ 4) ด้านสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับดีมาก (x̅ = 3.18; SD= 0.75) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ ระยะเวลาการทำงาน การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอร์ มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05)

References

Department of Mental Health. WHOQOL-BREF-THAI. Available at http://www.dmh.go.th/test/whoqol, accessed on 1 December 2022.

Aeumtrakhul N. Quality of working life of nurse in Lerdsin hospital. Bangkok: Lerdsin Hospital; 2007.

Promaeung P, Suvanpong N, Thippayamongkulkun M, Bunsuya C. Quality of working life of nurse in Nakonphatom hospital. Public Health Journal 2015; 24(4): 769-78.

Chattanooga Wongratnan. Shift Work; Health effects of working in shifts Available at https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/shift-work.

Security Business Act 2015. (2015). Gazette, Vol. 132/Part 104 a/p. 24/5 November 2015.

Laosansuk S. Improving the quality of life of security service contractors. Bank of Thailand. Minutes of international symposiums. The 4th International Conference on Magsaysay Awardees: Good Governance and Transformative Leadership in Asia 2016; 594-609.

Pawun V, Boonchuaythanasit K, Ponrachom C, Sukolpuk M. Perception of information, knowledge and protecting behavior of diseases and health hazard of Thai citizens in 2016. Journal of Health Science Research 2017; 11(1) 70-79.

Rattana Channam. Guideline for Reduction of Security Staffs 's stress in work : A case study of Walailak University, Nakhon Si Thammarat. Faculty of Engineering (Industrial Engineering), Prince of Songkla University 2020.

Chandani, A., Mehta, M., Mall, A., & Khokhar, V. (2016). Employee engagement: A review paper on factors affecting employee engagement. Indian Journal of Science and Technology, 9(15), 1– 7

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-19