การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์และความเสี่ยงต่อสุขภาพในเกษตรกรสวนยางพารา กรณีศึกษานำร่อง อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • สุรีรัตน์ บุญกอบแก้ว
  • สุนิสา ชายเกลี้ยง

คำสำคัญ:

RULA, REBA, ความเสี่ยงทางสุขภาพ, เกษตรกรสวนยางพารา, การยศาสตร์

บทคัดย่อ

               การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางในเกษตรกรสวนยางพารานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ในเกษตรกรสวนยางพารา กรณีศึกษานำร่องในเกษตรสวนยางพาราอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา จำนวน 30 คน ที่สุ่มตัวอย่างเพื่อเป็นตัวแทนของพื้นที่ทุกหมู่บ้านในตำบลคูหา แบ่งเป็นเกษตรกรขั้นตอนการกรีดยาง และเกษตรกรขั้นตอนการเก็บน้ำยาง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ด้วยวิธี RULA และ REBA และแบบประเมินด้วยตนเองด้านความรุนแรงและความถี่ของอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ (MSFQ) และการประเมินความเสี่ยงต่อความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อโดยเมตริกความเสี่ยงทางอาชีวอนามัย ผลการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ของเกษตรกรสวนยางพาราในขั้นตอนการกรีดยาง โดย RULA พบว่า ส่วนใหญ่มีความเสี่ยงสูง ร้อยละ 69.23 รองลงมาคือ ความเสี่ยงสูงมาก ร้อยละ 23.08 และโดยวิธี REBA พบว่า ส่วนใหญ่มีความเสี่ยงอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 84.62 ความเสี่ยงทางการยศาสตร์ในขั้นตอนการเก็บน้ำยางโดย RULA พบว่า ส่วนใหญ่มีความเสี่ยงระดับสูงมาก ร้อยละ 82.35 รองลงมาคือ ความเสี่ยงระดับสูง ร้อยละ 17.65 และโดยวิธี REBA พบว่า ส่วนใหญ่มีความเสี่ยงอยู่ในระดับสูงมาก ร้อยละ 76.47 รองลงมาคือ ความเสี่ยงระดับสูง ร้อยละ 23.53 และระดับความเสี่ยงจากเมตริกความเสี่ยงทางอาชีวอนามัยในขั้นตอนการกรีดยาง พบว่าอยู่ในระดับความเสี่ยงสูงสุดคือความเสี่ยงสูงมาก ร้อยละ 53.85 และในขั้นตอนการเก็บน้ำยาง ระดับความเสี่ยงสูงสุดคือสูงมาก ร้อยละ 47.06 ซึ่งหมายถึงงานนั้นๆ ต้องรีบควบคุมและดำเนินการแก้ไข จากผลการศึกษานี้บ่งชี้ให้เห็นว่าเกษตรกรสวนยางพารามีความเสี่ยงสูงมากกับการสัมผัสปัจจัยทางการยศาสตร์เป็นเวลานานๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อโรคทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อจากการทำงานได้ ดังนั้น จึงควรมีการประเมินความเสี่ยงโดยเมตริกทางอาชีวอนามัยในเกษตรกรสวนยางพาราจังหวัดสงขลาต่อไปโดยใช้ด้วยเครื่องมือที่เหมาะสมต่อการประเมินความเสี่ยงต่อ MSDs เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาเชิงลึกด้านปัจจัยท่าทางการทำงานและเพื่อป้องกันการเกิดโรคทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อต่อไป

References

Office of agricultural economics. 2021; cited 2023 Available from: https://mis-app.oae.go.th/product

Social Security Office. 2022; cited 2023 Available from: https://www.sso.go.th/wpr/main/privilege

Plykaew R, Chanprasit C, Kaewthummanukul T. Working posture and musculoskeletal disorders among rubber plantation workers. Nursing journal 2013; 40(1): 1-10.

Udom C, Janwantanakul P, Kanlayanaphotporn R. The prevalence of low back pain and its associated factors in Thai rubber farmers. Journal of Occupational Health 2016; 58: 534-542.

Meksawi S, Tangtrakulwanich B, Chongsuvivatwong V. Musculoskeletal problems and ergonomic risk assessment in rubber tappers: A community-based study in southern Thailand. International Journal of Industrial Ergonomics 2012; 42: 129-135.

Chaiklieng S, Khanaphan K, Suggaravetsiri P. Prevalence of work-related back pain and work environmental ergonomics among rubber plant farmers in Nam Yuen district, Ubon Ratchatani Province. UBRU Journal for public health research 2021; 10(1): 101-111.

Chaiklieng S. Occupational health risk assessment of musculoskeletal disorders on exposure to working ergonomic factors in para rubber plant farmers. KKU Journal for public health research 2021; 14(2): 32-44.

Chaiklieng S. Work physiology and Ergonomics. Khon Kaen: Khon Kaen University printing house; 2019

Khanaphan K, Suggaravetsiri P, Chaiklieng S. Ergonomics risk and muscle fitness among rubber planters in Ubon ratchatani province. UBRU Journal for public health research 2019; 8(2): 21-31.

Chaiklieng S. Health risk assessment on musculoskeletal disorders among potato-chip processing workers, PLoS ONE 2019, 14 (12): e0224980. doi: 10.1371/journal. pone.0224980

Chaiklieng S, Khanaphan K, Suggaravetsiri P. Factors correlated with risk levels of musculoskeletal disorders among rubber planters. Journal of medical technology and physical therapy 2020; 32(1): 82-94.

Joomjee R, Bureelerd O, Songserm N, Theppitak C. The study of ergonomic management for reduce musculoskeletal symptoms among the para-rubber farmer. Journal of industrial technology Ubon Ratchathani Rajabhat University 2017; 7(1): 92-105.

Joomjee R, Songserm N, Bureelerd O. Health risk assessment of para rubber farmers in Ubon ratchathani, Thailand. Journal of safety and health 2016; 9(33): 37-43.

Khrueakaew C, Chaiklieng S. Farmers ergonomics risk assessment tool on working posture in comparison with Rapid Entire Body Assessment (REBA). Journal of Safety and Health 2023; 16(1): 26-39.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-21