การประเมินความเสี่ยงต่อความผิดปกติทางระบบโครงร่างและจากการทำงาน ของบุคลากรโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง

ผู้แต่ง

  • ชนัญญา พานิคม
  • สุนิสา ชายเกลี้ยง

คำสำคัญ:

การยศาสตร์, ความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ, เมตริกความเสี่ยง, สุขภาพส่วนบุคคล, โรงพยาบาล

บทคัดย่อ

               การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อความผิดปกติทางระบบโครงร่างและจากการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง จำนวน 30 คนกระจายตามตำแหน่งงาน โดยใช้แบบสอบถามที่บุคลากรสามารถตอบได้ด้วยตนเอง คือแบบประเมินด้านรุนแรงและความถี่ของอาการทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ (MSDs) Severity and Frequency Questionnaire (MSFQ) แบบประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์จากท่าทางการทำงานของบุคลากรท่านั่งและท่ายืนทำงาน ซึ่งประยุกต์มาจากแบบประเมิน RULA และ REBA ตามลำดับ และพิจารณาร่วมกันในรูปแบบเมตริกเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อจากการทำงาน ที่พิจารณาโอกาส (ระดับความเสี่ยงทางการยศาสตร์) และความรุนแรง (ระดับการรับรู้ความรู้สึกไม่สบาย) ผลการศึกษา พบว่าบุคลากรในการศึกษานี้มีตำแหน่งคือ พยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล เวรเปล พนักงานต้อนรับ และเจ้าหน้าที่ทำความสะอาดอุปกรณ์ทางการแพทย์ มีระดับความรู้สึกไม่สบายของร่างกายสูงสุด คือ บริเวณหลังส่วนล่าง (ร้อยละ 60.00) รองลงมาเป็นไหล่ (ร้อยละ 56.67) และหลังส่วนบน (ร้อยละ 50.00) ตามลำดับ ความเสี่ยงทางการยศาสตร์จากท่าทางการทำงานด้วยท่ายืน ส่วนใหญ่อยู่ในระดับเสี่ยงสูง (ร้อยละ 50.00) รองลงมาคือ ระดับเสี่ยงสูงมาก (ร้อยละ 23.33) และระดับเสี่ยงปานกลาง (ร้อยละ 20.00) ตามลำดับ การทำงานด้วยท่านั่งส่วนใหญ่อยู่ในระดับเสี่ยงปานกลาง (ร้อยละ 30.00) รองลงมา คือ ระดับเสี่ยงต่ำและสูงเท่ากัน (ร้อยละ 26.67) และระดับเสี่ยงสูงมาก (ร้อยละ 16.66) จากเมตริกความเสี่ยงต่อ MSDs พบว่า บุคลากรมีความเสี่ยงสูงสุดในระดับสูง ร้อยละ 76.67 ระดับปานกลาง ร้อยละ 63.33 และระดับต่ำ (ร้อยละ 33.33) เนื่องจากบุคลากรส่วนใหญ่มีควมเสี่ยงสูงต่อ MSDs จึงควรมีการปรับเปลี่ยนท่าทางการทำงาน การให้ความรู้เรื่องท่าทางการทำงานตามหลักการยศาสตร์ โดยบุคลากรที่ต้องยืนทำงานนานๆ ให้มีการจัดการที่พักนั่ง เพื่อเป็นการป้องกันผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับโรคทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อที่เกิดจากการทำงานต่อไป

References

Social Security Fund. “Number of occupational injuries or diseases” STATISTICS OF WORKMEN'S COMPENSATION FUND 2017-2021, 2017

Darnkachatarn S, Intaramuen M, Nulong N, Mahaboon J, Yongpraderm M. Occupational Health and Safety Risk Assessment of Laundry Department in Hospital, Nakhon Si Thammarat Provinces. Thai Science and Technology J 2020; 28: 140-154.

Department of Disease Control. Annual Report 2018. Bangkok: Graphic and Design Publishing; 2018: 26-31

Division of Innovation and Research.“Occupational disease” prevention research plan. Control of diseases and health threats 2017-2021; 2019

McAtamney L, Corlett EN. RULA: a survey method for the investigation of world-related upper limb disorders. Applied Ergonomics (1993); 24: 91-99

Hignett S, McAtamney L. Rapid Entire Body Assessment. Applied Ergonomics 2000; 31; 201-205.

Chaiklieng S. Health risk assessment on musculoskeletal disorders among potato-chip processing workers. PloS ONE 2019; 14(12): e0224980. doi: 10.1371/jounal. pone. 0224980.

Luemongkol R, Chaiklieng S. Risk factors of work-related low back pain among emergency nurse at regional hospitals in the northeast of Thailand. J Med Tech Phy Ther 2015; 29: 516-523. (In Thai).

Pichetweerachai M, Suwan K, Chatprateungkul T. The ergonomics risk assessment of personnel in health promotion hospital regional health promotion center 2; cited 2022, available from: https://hpc2service.anamai.moph.go.th/researchhpc2/view.php?id=199.

Somtua C, Chaiklieng S. Prevalence of back pain among maternal child health nurses. J Nursing Health Care 2015; 33: 62-69. (InThai).

Chaiklieng S, Krusun M. Health risk assessment and incidence of shoulder pain a office workers. Precedia Manufacturing 2015;3:4941-494

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-21