โปรแกรมอบรมเพื่อลดความเครียดสำหรับนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษา ในโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ความเครียด, นักเรียนเพื่อนที่ปรึกษา, โปรแกรมอบรมเพื่อลดความเครียด, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาบทคัดย่อ
นักเรียนเพื่อนที่ปรึกษาเป็นกลไกสำคัญของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยเฉพาะทางสุขภาพจิต นักเรียนกลุ่มนี้มีความจำเป็นในการได้รับการอบรมเพื่อมีแนวทางในการดูแลสุขภาพจิตใจของตนเองก่อนที่จะสามารถให้คำปรึกษาแก่เพื่อนนักเรียน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียดของนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษาก่อนและหลังการเข้าโปรแกรมอบรมเพื่อลดความเครียด การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองให้โปรแกรมอบรมเพื่อลดความเครียดแก่นักเรียนเพื่อนที่ปรึกษาจำนวน 57 คนจากโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 4 ส่วน คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษา แบบประเมินระดับความเครียดก่อนและหลังเข้าโปรแกรม โปรแกรมอบรมเพื่อลดความเครียดที่ผสมผสานเทคนิคการเจริญสติและการตระหนักรู้ในตนเองดำเนินการโดยจิตแพทย์เป็นระยะเวลา 6 ชั่วโมง และแบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับจากแบบประเมินและแบบสอบถามถูกวิเคราะห์โดยใช้สถิติเพื่อหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใช้ทดสอบ t-test เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความเครียดก่อนและหลังเข้าโปรแกรม ผลการศึกษาพบว่านักเรียนเพื่อนที่ปรึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็น ร้อยละ 64.91 มีอายุเฉลี่ย 15.23±1.50 ปี นักเรียนเพื่อนที่ปรึกษาร้อยละ 43.86 มีระดับความเครียดสูงก่อนเข้าร่วมโปรแกรม หลังการเข้าร่วมโปรแกรมนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษามีระดับความเครียดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.0001) นักเรียนเพื่อนที่ปรึกษามีระดับความพึงพอใจสูงต่อโปรแกรมอบรมเพื่อลดความเครียด นักเรียนเพื่อนที่ปรึกษามีการรายงานว่ามีผลบวกต่อการตระหนักรู้ในตนเอง ทักษะในการจัดการกับความเครียด และความสามารถในการให้คำปรึกษาแก่เพื่อน ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าโปรแกรมอบรมเพื่อลดความเครียดสามารถลดระดับความเครียดของนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษา ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรดำเนินการจัดทำโปรแกรมอบรมเพื่อลดความเครียดของนักเรียนเพื่อให้นักเรียนสามารถจัดการกับความเครียดของตนเองได้
References
Chitrathorn C. Stress [Internet]. 2023 [cited 2023 Feb 7]. Available from:
https://www.rama.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/general/05142014-1901
Department of Mental Health. Suicide Rates by Age Group in the Year 2019 (2562 B.E.) [Internet]. 2019 [cited 2023 Feb 9]. Available from:https://www.dmh.go.th/report/suicide/ viewg1.asp?id=28
The most common issue of stress among Thai adolescents seeking guidance from the mental health helpline 1323 [Internet]. 2019 [cited 2023 Feb 9]. Available from:https://www.thaipost.net/main/detail/56782
Phuprasom N. The Situation of Student Health in Thailand in the Year 2021[Internet]. 2022 [cited 2023 August 30]. Available from: https://hp.anamai.moph.go.th/th/research-person/download?id=104012&mid=35022&mkey=m_document&lang=th&did=24069 (In Thai)
Kaewkaewpan W. The study of stress of teenage students studying in the mathayom-suksa 6 of school under secondary educational service area office 10 in samutsongkhram province. Journal of Education Burapha University 2021;32(2):13-28. (In Thai)
The Ministry of Public Health collaborates with the CHU Network to establish 78 counseling centers nationwide, fostering student peer counselors (Youth Counselors, YCs) to create happiness within schools [Internet]. 2023 [cited 2023 Feb 7]. Available from:https://www.obec.go.th/archives/832181
Office of the Basic Education Commission, Ministry of Education. (2010). Student Training Program Youth Counselors. Bangkok: Cooperative Agricultural Federation of Thailand Limited.
Arphorn S. Report of the Project on Promotion of Mental Health Program for School Students in Bangkok 2022 (In Thai)
Hatami F, Ghahremani L, Kaveh MH, Keshavarzi S. The effect of self-awareness training with painting on self-efficacy among orphaned adolescents. Pract Clin Psychol 2016;4: 89-96.
Ahmed HAA, Elmasri YM. Effect of self awareness education on self efficacy and sociotropy autonomy characteristics of nurses in psychiatry clinic. Life Science J 2011;8: 853-63.
Morin, A. Self-awareness part 1: Definition, measures, effects, functions, and antecedents. Social and personality psychology compass, 2011;5(10), 807-23.
Creswell, J. D.Mindfulness interventions. Annual review of psychology 2017;68, 491-516.
Witkiewitz K, Bowen S, Douglas H, Hsu SH. Mindfulness-based relapse prevention for substance craving. Addict Behav 2013;38: 1563-71
Sophoworakij N, Sughondhabirom A. Effect of self-awareness training program on 5 factors of mindfulness and stress to patients with amphetamine use disorder. Chula Med Bull 2019;1(6):625 – 633 (In Thai)
Srinuan P. The effects of stress management program on stress of the nursing students, Journal of Health Research and Innovation 2019;1(6):186 – 195 (In Thai)
Leelawai P., Wacharasindhu A. Stress coping program in senior high school students of Pramandanijjanukhroah School. Chula Med Bull 2018;1(6): 615 – 623 (In Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.