ความเสี่ยงทางการยศาสตร์และอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานในพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคระบบไฟฟ้าแรงสูง ภาคตะวันออก ประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • อภิวัฒน์ ยังวิลัย
  • สุรีรัตน์ บุญกอบแก้ว
  • สุนิสา ชายเกลี้ยง

คำสำคัญ:

การยศาสตร์, อาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อจากการทำงาน, พนักงานการไฟฟ้าระบบไฟฟ้าแรงสูง

บทคัดย่อ

               พนักงานไฟฟ้าที่ปฏิบัติงานในระบบไฟฟ้าแรงสูงเป็นบุคลากรทำงานติดตั้งและแก้ไขระบบไฟฟ้าที่จ่ายไปยังสถานประกอบการและครัวเรือน ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อจากการทำงาน (WMSDs) เนื่องจากการออกแรงทำงานด้วยท่าทางที่มีความเสี่ยง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเสี่ยงทางด้านการยศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานในพนักงานของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ภาคตะวันออก จำนวน 50 คน โดยใช้แบบประเมินปัจจัยเสี่ยงด้านการยศาสตร์เบื้องต้นด้วยการสังเกตท่าทาง และแบบประเมินอาการผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อที่ระบุความถี่และความรุนแรงของอาการของอวัยวะ 10 ตำแหน่งของร่างกาย ผลการศึกษาพบว่าการปฏิบัติงานด้วยรถกระเช้าป้องกันไฟฟ้าแรงสูงและการปฏิบัติงานด้วยการปีนเสาไฟฟ้ามีความเสี่ยงปานกลาง (คะแนน 3) บริเวณแขน/ข้อศอก ความเสี่ยงสูง (คะแนน 4) ไหล่ มือ/ข้อมือ และพนักงานปีนเสาไฟฟ้ามีความเสี่ยงสูงบริเวณหลังร่วมด้วย การรับรู้อาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อระดับมากถึงมากที่สุด คือ บริเวณหลังส่วนล่าง เท้าและข้อเท้า เข่า และหลังส่วนบน ตามลำดับ ซึ่งผลการศึกษานี้สามารถนำไปสู่การทำการศึกษาสาเหตุปัจจัยเสี่ยงจากท่าทางการทำงานที่ใช้รถกระเช้าในพนักงานระบบไฟฟ้าแรงสูงต่อไป เพื่อนำมากำหนดเป็นมาตรฐานในการทำงานต่อไป

References

Energy Policy and Planning Office. 2018; cited 2019 Available from: http://www.eppo.go.th/epposite/index.php/th/energy-information/situation-oil-electric?orders[publishUp]=publishUp&issearch=1

Albert A, Hallowell MR. Safety risk management for electrical transmission and distribution line construction. Saf Sci. 2013 Jan; 51(1): 118–26.

Wichai J, Chaiklieng S. Ergonomics risk assessment among manual handling workers. KKU Res J 2014; 19(5): 708-19.

Social Security Office. 2018; cited 2019 Available from: https://www.sso.go.th/wpr/main/knowledge/

Antwi-Afari MF, Li H, Edwards DJ, Pärn EA, Seo J, Wong AYL. Biomechanical analysis of risk factors for work-related musculoskeletal disorders during repetitive lifting task in construction workers. Automation in Construction 2017; 83: 41–7.

Moriguchi CS, Carnaz L, Veiersted KB, Hanvold TN, Hæg LB, Hansson G åke, et al. Occupational posture exposure among construction electricians. Appl Ergon 2013; 44(1): 86–92.

Padmanathan V, Joseph L, Omar B, Nawawi R. Prevalence of musculoskeletal disorders and related occupational causative factors among electricity linemen: A narrative review. IJOMEH 2016; 29(5): 725-34.

Chaiklieng S, Sunkhabut W. Applying the BRIEF survey for ergonomics risk assessment among home workers of hand-operated rebar bender. J Med Technol Phys Ther. 2014; 26: 55–66.

Chaiklieng S. Health risk assessment on musculoskeletal disorders among potato-chip processing workers. PLoS ONE 2019, 14 (12): e0224980. doi: 10.1371/journal. pone.0224980

Yu M, Sun L, Du J, Wu F. Ergonomics hazards analysis of linemen’s power line fixing work in China. Int J Occup Saf Ergon. 2009; 15(3): 309–17.

Moriguchi CS, Miranda-Júnior LC, Coury HJCG, Alencar JF. Musculoskeletal symptoms among energy distribution network linemen. Rev Bras Fisioter. 2009; 13(2): 123–9.

Gemma SFB, Primo R, Brittes JLP, Misuta MS, Junior EPL. Ergonomic and Psychosocial Aspects of Electrical Energy Maintenance Activities on Transmission Lines. In: Advances in Intelligent Systems and Computing. Springer Verlag 2019; 1757–60.

Adhikari B, Ghimire A, Jha N, Karkee R, Shrestha A, Dhakal R, Niraula A, Majhi S, Antesh, Pandit K, Bhandari N. Factor associated with low back pain among construction workers in Nepal: A cross sectional study. PLoS ONE 2021, 16(6): e0252564. doi.org/10.1371/journal.pone.0252564

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-21