การประเมินความเสี่ยงต่อการปวดหลังส่วนล่างจากการทำงานของพนักงานยกเคลื่อนย้ายวัสดุ

ผู้แต่ง

  • รศ.ดร.สุนิสา ชายเกลี้ยง 1สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
  • จันทิมา ดรจันทร์ใต้ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • จันจิราภรณ์ วิชัย หน่วยสร้างเสริมสุขภาพ งานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การยศาสตร์, เมตริกความเสี่ยงต่อสุขภาพ, NIOSH lifting, REBA

บทคัดย่อ

การใช้ท่าทางในการทำงานที่ขัดต่อหลักการยศาสตร์และการออกแรงยกของเกินกำลัง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อโรคปวดหลังส่วนล่างในกลุ่มพนักงานที่ต้องออกแรงในการยกหรือเคลื่อนย้ายวัสดุได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการปวดหลังส่วนล่างในพนักงานที่ออกแรงกายเคลื่อนย้ายวัสดุ เก็บข้อมูลในพนักงานที่มีการออกแรงกายในงานยกของ (n=70) โดยใช้แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินท่าทางการทำงานด้วยเทคนิค Rapid Entire Body Assessment (REBA) และ NIOSH lifting index และประเมินความเสี่ยงต่อการปวดหลังส่วนล่างโดยใช้เมตริกความเสี่ยงต่อสุขภาพ ผลการศึกษาพบว่าพนักงานมีความเสี่ยงต่อการปวดหลังส่วนล่างจากการสัมผัสปัจจัยทางการยศาสตร์ประเมินโดย REBA อยู่ในระดับเสี่ยงปานกลางและระดับสูงเท่ากันคือร้อยละ 42.9 และระดับเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้พบร้อยละ 10.0 เมตริกความเสี่ยงต่อการปวดหลังส่วนล่างประเมินจาก NIOSH Lifting index แสดงว่าพนักงานมีความเสี่ยงต่อการปวดหลังส่วนล่างในระดับปานกลางถึงระดับยอมรับไม่ได้รวมร้อยละ 57.1 ของพนักงานทั้งหมด สรุปได้ว่าพนักงานที่ออกแรงยกเคลื่อนย้ายส่วนใหญ่นี้มีความเสี่ยงต่อการปวดหลังส่วนล่างในระดับที่ต้องติดตามตรวจสอบ ควบคุมและป้องกัน โดยความเสี่ยงนี้ไม่ได้เกิดจากการยกของหนักอย่างเดียว แต่มีปัจจัยร่วมด้านท่าทางการทำงานซ้ำๆ ที่ผิดหลักการยศาสตร์ จึงเสนอแนะให้สถานประกอบการมีการปรับปรุงระบบงาน จัดอุปกรณ์ช่วยยกเคลื่อนย้ายวัสดุ และอบรมด้านการยศาสตร์แก่พนักงานเพื่อปรับปรุงท่าทางการทำงานที่เสี่ยงและเมตริกความเสี่ยงต่อสุขภาพที่ได้นี้สามารถนำไปใช้ในการเฝ้าระวังโรคปวดหลังจากการทำงานของพนักงานในกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมที่มีลักษณะงานนี้ได้ต่อไป

Author Biography

รศ.ดร.สุนิสา ชายเกลี้ยง, 1สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

References

Social Security Office Thailand. Annual report 2554 compensation fund. Nonthaburi: n.p.; 2012.

Cassidy JD, Cote P, Carroll LJ, Kristman V. Incidence and course of low back pain episodes in the general population. Spine 2005; 30(24): 2817-23.

Waxman R, Tennant A, Heliwell P. A prospective follow-up study of low back pain in the community. Spine 2000; 25(16): 2085-90.

Dionne CE, Dunn KM, Croft PR. Does back pain prevalence really decrease with increasing age? A systematic review. Age Ageing 2006; 15(6): 3834-48.

Kopec JA, Sayre EC, Esdaile JM. Predictors of back pain in a general population cohort. Spine 2004; 29(1): 2464-72.

Hickey JV. Back pain and intervertebral disc injury. In: Hickey JV. (Ed). The clinical practice and neurological nursing. 5th ed. Lippincott Williams & Wilkins : Philadelphia, 2003: 451-70

Richard A, Deyo RA, Jamws N, Weinstein DO. Low back pain. New Engl J Med 2001; 344(5): 363-30.

สุนิสา ชายเกลี้ยง. การปวดหลังจาการทำงาน: ภัยเงียบใกล้ตัวที่ควรรู้. วารสารวิจัยคณะสาธารณสุขศาสตร์ 2552; 2(3): 46-57.

MacAtemney L, Corlett EN. RULA: A survey method for the investigation of work-related upper limp disorders. Appl Ergon 1993; 24: 91-9.

World Health Organization. Available at http://www.whodoc.moph.go.th/quantifying selected major risk to health/chapter4; 2002, accessed November 12, 2013

จันจิราภรณ์ วิชัย, สุนิสา ชายเกลี้ยง. การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ ในพนักงานที่มีการยกเคลื่อนย้ายวัสดุ. วารสารวิจัย มข. 2014; 19(5): 708-19

อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2551.

พีรพงษ์ จันทราเทพ. ปัจจัยด้านการยศาสตร์และความชุกของการปวดหลังส่วนล่าง ในพนักงานเก็บขนขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดหนองบัวลำภู [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2554

NIOSH. NIOSH fact work-related musculoskeletal disorders. Available at http://www.cdc.gov/niosh/fact sheet-musculoskeletal disorders.html, accessed November 12, 2013.

Hignett S, McAtamney L. Rapid Entire Body Assessment (REBA). Appl Ergon 2000; 31(2): 201-5.

Waters TR, Putz-Anderson V, Garg A. Applications manual for the revised NIOSH lifting equation. Cincinnati: DHHS (NIOSH), USA, 1994.

Chaiklieng S, Krusun M. Health risk assessment and incidence of shoulder pain among office workers. Procedia Manufacturing 2015; 3: 4941 – 7.

สุนิสา ชายเกลี้ยง, พีรพงษ์ จันทราเทพ, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ, รุ้งทิพย์ พันธุเมธากุล. ปัจจัยด้านการยศาสตร์และความชุกของการปวดหลังส่วนล่างในพนักงานเก็บขนขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดหนองบัวลำภู. เทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด 2555; 24(1) 98-109.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-10