ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการปวดหลังของเกษตรกรไร่มันสำปะหลัง

FACTORS ASSOCIATED WITH BACK PAIN SYMPTOM OF CASSAVA FARMERS

ผู้แต่ง

  • ศักดิ์สิทธิ์ กุลวงษ์ สาขาวิชาสุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • จินตนา มาภักดี หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาสุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • กิตติยากร อำพรัตน์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาสุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • พรทิพย์ ทิมสุวรรณ์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาสุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • มนัสนันท์ สินธิพงษ์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาสุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สุรีรัตน์ ชาญอุประการ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาสุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ไอลดา แซ่ลาย หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาสุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • นันทพร ภัทรพุทธ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาสุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

บทคัดย่อ

          เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพต่างๆ ตลอดขั้นตอนการผลิตมันสำปะหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยเสี่ยงทางการยศาสตร์ กลุ่มเกษตรกรดังกล่าวมักจะทำงานด้วยท่าทางที่ผิดธรรมชาติและท่าทางที่ซ้ำซากซึ่งนำไปสู่ความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านงาน ลักษณะท่าทางในการทำงาน และอาการปวดหลังของเกษตรกรไร่มันสำปะหลัง ตำบลคลองหินปูน อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว ดำเนินการกับกลุ่มตัวอย่าง 103 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านงาน ลักษณะท่าทางในการทำงาน และแบบประเมินอาการปวดหลังของเกษตรกรไร่มันสำปะหลังที่ปรับปรุงมาจากแบบสอบถามมาตรฐานนอร์ดิก ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 57.3 อายุ ³ 51 ปี ร้อยละ 31.1 มีระดับการศึกษาในระดับประถมศึกษาร้อยละ 56.3 มีชั่วโมงในการทำงาน £ 8 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 95.1 และเกษตรกรส่วนใหญ่มีลักษณะท่าทางในการทำงาน ได้แก่ นั่งงอหลังตัดท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง นั่งตัดท่อนพันธุ์มันสำปะหลังเป็นเวลานานมากกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 90.3 เท่ากัน ก้มกำจัดวัชพืช ร้อยละ 87.4 สะพายหรือหิ้วถังใส่ปุ๋ย ร้อยละ 82.5 อาการปวดหลังของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาเกษตรกรไร่มันสำปะหลังส่วนใหญ่มีอาการปวดหรือรู้สึกไม่สบาย สูงสุดสามอันดับแรก คือบริเวณหลังส่วนล่าง ร้อยละ 95.1 หลังส่วนบน ร้อยละ 91.3 และไหล่ทั้งด้านซ้ายและขวา ร้อยละ 80.6 นอกจากนี้ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาเกษตรกรโดยส่วนใหญ่มีอาการปวดหลังหรือรู้สึกไม่สบาย สูงสุดสามอันดับแรก ได้แก่ ตำแหน่งหลังส่วนล่าง ร้อยละ 88.3 หลังส่วนบน ร้อยละ 87.4 และไหล่ทั้งด้านซ้ายและขวา ร้อยละ 66.0 และผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ระดับการศึกษา และจำนวนชั่วโมงการทำงานต่อวัน มีความสัมพันธ์กับอาการปวดหลังของเกษตรกรไร่มันสำปะหลังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (p<0.01) นอกจากนี้ ลักษณะท่าทางการทำงาน ได้แก่ นั่งงอหลังตัดท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง และนั่งตัดท่อนพันธุ์มันสำปะหลังเป็นเวลานานกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน มีความสัมพันธ์กับอาการปวดหลังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (p<0.05) ส่วนท่าทางการก้มกำจัดวัชพืช และสะพายหรือหิ้วถังใส่ปุ๋ย มีความสัมพันธ์กับอาการปวดหลังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (p<0.01)

References

Agricultural research development agency (Public organization). Economic crops, income-generating products in households and countries. 2021; Available from: https://www.arda.or.th/knowledge_detail.php?id=40. (in Thai)

Office of Agricultural Economics. Agricultural statistics of Thailand in 2020. 2021; Available from: https://www.oae.go.th/assets/portals/1/files/jounal/2564/yearbook2564.pdf. (in Thai)

Ministry of Agriculture and Cooperatives and the National Economic and Social Development Council. Number of Thai farmers in 2020. 2021; Available from: https://marketeeronline.co/archives/161682. (in Thai)

Bank of Ayudhya. Business/Industry Trends 2022-2024: Cassava. 2021; Available from: https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/agriculture/cassava/io/io-cassava-21 (in Thai)

Economic Regulatory and Development Group, Sa Kaeo Provincial Commercial Office. Major economic crops of Sa Kaeo Province. 2021; Available from: https://www.dit.go.th/region/SA%20KAEO/Content?id=1712(in Thai)

Sa Kaeo Provincial Agricultural Office. Cassava production information Sa Kaeo Province. 2021; Available from: http://www.sakaeo.doae.go.th/site/?page_id=2039. (in Thai)

Division of Occupational and Environmental Diseases. Report on the situation of diseases and health hazards from occupations and the environment in 2018. Bureau of Occupational and Environmental Diseases. Department of Disease Control. 2019; Available from: http://envocc.ddc.moph.go.th/uploads/situation2/2561/2561_01_envocc_situation.pdf (in Thai)

Plykaew R, Chanprasit C, Kaewthummanukul T. Working Posture and Musculoskeletal Disorders among Rubber Plantation Workers. Nursing Journal. 2013;40(1):1-10. (in Thai)

Pati S. Risk behaviors affecting back pain in longan farmers who received physical therapy services at Ban Hong Hospital, Lamphun province. Master’s thesis. Graduated studies, Chiang Mai Rajabhat University, Chiang Mai. 2017. (in Thai)

Krejcie RV, and Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 1970;30(3): 607–610.

Thongpae K, Nakaratvichit N, Chumyen A. Analysis of the factor affecting low back pain and estimating cost of low back pain among Thai farmers: The case of Tharpoa and Watprik Subdistric, Muang, Pitsanulok Province. Master’s thesis. Naresuan University, Phitsanulok. 2018. (in Thai)

Tassanawong P, Chanthorn W, Rakprasit J. Prevalence and factors associated with musculoskeletal disorders among tea farmers, Thoet Thai Subdistrict, Mae Fa Luang District, Chiang Rai province. Srinagarind Med J 2018;33(5): 457-464. (in Thai)

Pati S. Risk behaviors affecting back pain in longan farmers who received physical therapy services at Ban Hong Hospital, Lamphun province. Master of Public Health. Graduate School Chiang Mai Rajabhat University. 2017. (in Thai)

Tonchoy P, Suta P. Ergonomic Risk Factors of Musculoskeletal Disorders among Ethnical Maize Farmer Groups, Chiang Rai Province. Journal of Office of Disease Prevention and Control 7 Kon Kean. 2020;27(1):27-39. (in Thai)

Yildirim Y, Gunay S, Karadibak D. Identifying factors associated with low back pain among employees working at a package producing industry. J Back Musculoskelet Rehabil. 2014;27(1):25-32.

Kang MY, Lee MJ, Chung H, Shin DH, Youn KW, Im SH, Chae HS, Lee KS. Musculoskeletal Disorders and Agricultural Risk Factors Among Korean Farmers. J Agromedicine. 2016;21(4):353-63.

Dianat I, Kord M, Yahyazade P, Karimi MA, Stedmon AW. Association of individual and work-related risk factors with musculoskeletal symptoms among Iranian sewing machine operators. Appl Ergon. 2015;51:180-8.

Keawduangdee P, Puntumetakul R, Siritaratiwat W, Boonprakob Y, Wanpen S, Rithmark P, Thavornpitak Y. The Prevalence and Associated Factors of working Posture of Low Back Pain in the Textile Occupation (fishing net) in Khon Kaen Province. Srinagarind Med J. 2011;26(4):317-324. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-12