ความเสี่ยงทางสุขภาพต่อการปวดไหล่และความล้าของกล้ามเนื้อไหล่จากการตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อในพนักงานผลิตและประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
HEALTH RISK ON SHOULDER PAIN AND SHOULDER MUSCLE FATIGUE BY ELECTROMYOGRAPHY (EMG) IN ELECTRONIC INDUSTRIAL WORK
คำสำคัญ:
เมตริกความเสี่ยงต่อสุขภาพ, คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ, ความล้า, การปวดไหล่, พนักงานอิเล็กทรอนิกส์บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive study) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพต่อการปวดไหล่และเพื่อประเมินความล้าของกล้ามเนื้อไหล่โดยใช้การตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (EMG) ในพนักงานผลิตและประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบประเมินความรุนแรงและความถี่ของความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ (Musculoskeletal Severity and Frequency Questionnaire; MSFQ) แบบประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสมโดยเน้นรยางค์ส่วนบน เมตริกการประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพต่อการปวดไหล่ และเครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (Electromyography: EMG) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า พนักงานส่วนใหญ่มีความรู้สึกไม่สบายเล็กน้อย ร้อยละ 34.5 ระดับความเสี่ยงทางการยศาสตร์ของรยางค์ส่วนบน พบว่า ส่วนใหญ่พนักงานอยู่ในระดับความเสี่ยงปานกลาง ร้อยละ 39.9 ผลการศึกษาระดับความเสี่ยงด้านสุขภาพต่อการปวดไหล่ พบว่า ส่วนใหญ่พนักงานอยู่ในระดับที่มีความเสี่ยงปานกลางขึ้นไป ร้อยละ 54.9 และการตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อบริเวณไหล่ (Upper trapezius) พบว่าตลอด 8 ชั่วโมงการทำงาน พนักงานมีความล้าของกล้ามเนื้อทั้งไหล่ซ้ายและไหล่ขวา (MF/Time slope = -1.250 และ –0.998 ตามลำดับ) เมื่อพิจารณาค่าความล้าของกล้ามเนื้อไหล่จากการตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อตามระดับความเสี่ยงด้านสุขภาพต่อการปวดไหล่ 4 ระดับ พบว่าค่าความล้าของกล้ามเนื้อสูงในไหล่ซ้ายในกลุ่มความเสี่ยงสูง (MF/time slope = -1.961) และความเสี่ยงสูงมากต่อการปวดไหล่ (MF/time slope = -1.449) โดยพบสูงกว่ากล้ามเนื้อไหล่ขวากลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงและสูงมาก (MF/time slope = -1.025 และ MF/time slope = -1.092 ตามลำดับ) จากการศึกษาความล้าของกล้ามเนื้อจากท่าทางการทำงานที่คงท่านั่งหรือยืนท่าเดิมนานๆ ของพนักงานอิเลกทรอนิกส์นี้ พบว่าพนักงานมีความล้าที่ไหล่ซ้ายสูงกว่าไหล่ขวาและในท่านั่งที่สูงกว่าท่ายืน อาจเนื่องจากพนักงานมีการเคลื่อนไหวไหล่ขวาและรยางค์ด้านขวาเป็นส่วนใหญ่ขณะนั่งและความล้าเกิดขึ้นบริเวณที่มีภาวะสถิตคือไหล่ซ้ายมากกว่า ผลการศึกษาในครั้งนี้สามารถนำข้อมูลไปเป็นแนวทางในการเฝ้าระวังและคัดกรองการปวดไหล่โดยอาศัยเมตริกความเสี่ยงต่อสุขภาพและการส่งเสริมให้ออกกำลังกายคลายกล้ามเนื้อในกลุ่มพนักงานอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการทำงานท่าเดิมนานๆ ต่อไป
References
Thailand Institute of Occupational Safety and Health (Public Organization). Study of ergonomic risk factors and musculoskeletal discomfort. A case study of a group of Benjarong makers at Ban Don Kai Dee, Samut Sakhon Province; 2019.
Social Security Office. 2022; cited 2023 Available from: https://www.sso.go.th/
Keawnual A, Lohapoontagoon B, and Pochana K. Prevalence of Work-related Musculoskeletal Disorders in various occupations. The Public Health Journal of Burapha University 2017; 12(2): 53-64.
Duangprom N, Chaiklieng S. Recognition of Musculoskeletal Disorders among workers of the electronic industry in Udon Thani Province. KKU Res. J. 2013; 18(5): 880-891.
Chadrasakaran A, Chee H, Rampa K, Tan G. The prevalence of musculoskeletal problems and risk factors among women assembly workers in the semiconductor industry. Med J Malaysia. 2003; 58(5): 657-66.
Chaiklieng S, Suggaravetsir P, Poochada. Risk factors associated with shoulder pain among assemblyelectronic workers. Journal of medical technology and physical therapy. 2018; 30: 146-158.
Kongprasert K, Chaiklieng S. Health Risk Assessment of Musculoskeletal Disorders in Electronic Industrial Workers. Safety & environment review E–journal 2022; 5(1): 61-67.
Kaewyot P, Chaiklieng S. Muscle fatigue and health risk assessment on occupational back pain of workers involved lifting and handling products in the industry. J Medical Technology and Physical Therapy 2019; 31(3): 439-54
Ratanathongkam S. Neuromuscular examination by electromyography, Available at https://ams.kku.ac.th/aalearn/resource/edoc/es54/ emgdoc54.pdf, accessed on 8 August 2022
S Norouzi, SS Tavafan, R Cousins and H Mokarami. Understanding risk factors for musculoskeletal disorders in Iranian housewives: Development of a comprehensive health promotion behavior model. BMC Public Health. 2023. https://doi.org/10.1186/s12889-023-15518-w
Kaewjunda J, Chaiklieng S. Health Risk Assessment of Musculoskeletal Disorders in Pulp and Paper Production Industry. KKU Journal for Public Health Research. 2019: 12(1): 72-85
Chaiklieng S, Pannak A. Health Risk Assessment of Shoulder Pain among Electronic Workers. Journal of Public Health. 2017;47(2):212-221.
Chaiklieng S. Health risk assessment on musculoskeletal disorders among potato-chip processing workers. PLoS ONE 2019; 14(12): e0224980. doi: 10.1371/journal.
Chirawatkul A. Statistics for healthscienc. Khon Kaen: IKlangnanaWittaya Printing Press, 2008
Chaiklieng S. Occupational Ergonomics. Khon Kaen: Khon Kaen University printing house, 2023.
Vathna M, Abdullah NS, Dawal SZM, Aoyama H, Sothea K. Investigation on musculoskeletal
symptoms and ergonomic risk factors at metal stamping industry. Advanced Engineering Forum 2013; 10: 293-9.
Anita A, Yazdani A, Hayati K, Adon M. Association between awkward posture and musculoskeletal disorders (MSD) among assembly line workers in an automotive industry. Mjms, 2014; 10(1):23-28.
Chaiklieng S, Suggaravetsiri P. Ergonomics risk assessment of electronic assembly workers in the industry. J Med Tech Phy Ther 2019; 31(2): 150-161.
Donjuntai J, Chaiklieng S. Health risk assessment on shoulder pain among potato-chips Processing Workers. Arch AHS 2017; 29(2): 138-150.
Sungkhapong A, Pochana K, Auesujaridwong W. Workstation improvement for risk reduction of muscular fatigue among production workers in tuna manufacturing process: A case study of a seafood processing factory. The Journal of KMUTNB 2013; 23(3):654-63.
Siangsung S, Krukimsom K, Tuaycharoen P, Yuphaet P. A comparison of two types of Office chair on Muscle strain by Electromyography (EMG). RSU Research Conference 2013; 4 April 2013.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.