อุบัติการณ์ของการปวดไหล่และหลังและความเครียดจาการทำงานในพนักงานผลิตและประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

INCIDENCE OF SHOULDER AND BACK PAIN AND WORK STRESS IN ELECTRONICS ASSEMBLY INDUSTRIAL WORKERS

ผู้แต่ง

  • สิริพัชร ช่วงกรุด หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พรไพลิน ทิศอุ่น หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุนิสา ชายเกลี้ยง ภาควิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

อุบัติการณ์, การปวดไหล่, การปวดหลัง, ความเครียดจากการทำงาน, พนักงานอิเล็กทรอนิกส์

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบโคฮอร์ต (Prospective cohort study) หรือติดตามไปข้างหน้าโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราอุบัติการณ์ของการปวดไหล่และหลังและความเครียดจากการทำงานในพนักงานผลิตและประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการปวดไหล่และหลังในรอบ 3 เดือน กับความเครียดจากการทำงาน จำนวนทั้งหมด 109 คน  โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบประเมินความเครียดจากการทำงาน และแบบสัมภาษณ์เพื่อประเมินอุบัติการณ์การปวดไหล่และหลังจากการทำงาน ผลการศึกษา พบว่า พนักงานผลิตและประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่พนักงานมีความเครียดจากการทำงานระดับปานกลาง ร้อยละ 50.5 รองลงมาคือมีความเครียดระดับเล็กน้อย ร้อยละ 23.9 และมีความเครียดระดับสูง ร้อยละ 16.5 ตามลำดับ อัตราอุบัติการณ์การปวดไหล่ของการศึกษานี้ พบว่าอุบัติการณ์การปวดไหล่หลังจากติดตามในรอบ 1 เดือนของพนักงานผลิตและประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ คือร้อยละ 28.4 อุบัติการณ์ในรอบ 2 เดือน ร้อยละ 52.3 และอุบัติการณ์ในรอบ 3 เดือน ร้อยละ 85.3 และอัตราอุบัติการณ์การปวดหลังของพนักงานพบว่าอุบัติการณ์การของการปวดหลังจากการติดตามในรอบ 1 เดือน คือ ร้อยละ 22.0 ในรอบ 3 เดือน พบร้อยละ 62.4 และการปวดหลังเกิดขึ้นทุกราย ร้อยละ 100.0 หลังจากติดตามในรอบ 6 เดือน ซึ่งข้อมูลที่ได้นั้นสามารถเป็นแนวทางในการวางแผนการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคเรื้อรังของการปวดไหล่และโรคปวดหลังในพนักงานอุตสาหกรรมผลิตและประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์รวมถึงปัจจัยด้านความเครียดจากการทำงานของพนักงานอาจเป็นผลกระทบต่อสุขภาพร่วมหรือปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการเกิดโรคเรื้อรังทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อได้ในพนักงาน

References

Keawnual A, Lohapoontagoon B, and Pochana K. Prevalence of Work-related Musculoskeletal Disorders in various occupations. Public Health J Burapha University 2017; 12(2): 53-64.

McBeth J., & Jones K.. Epidemiology of chronic musculoskeletal pain. Best Practice & Research Clinical Rheumatology. 2007; 21(3), 403–25.

Chaiklieng S. Work physiology and Ergonomics. Khon Kaen: Khon Kaen University printing house, 2019.

Duangprom N, Chaiklieng S. Recognition of Musculoskeletal Disorders among workers of the electronic industry in Udon Thani Province. KKU Research Journal. 2013; 18(5): 880-891.

Sirisuriyasunthorn, S, Chaiklieng S. Ergonomic risk with neck, shoulder and back pain among computer users at tambon health promoting hospitals in Maha Sarakham Province. KKU Journal for Public Health Research 2015; 8(3): 54-63

Yahya, N M. & Zahid, M. N. O. Work-related musculoskeletal disorders (WMDs) risk assessment at core assembly production of electronic components manufacturing company. IOP Conf. Series: Materials Science and Engineering 2018, doi:10.1088/1757- 899X/319/1/012036

Kongprasert K, Chaiklieng S. Health Risk Assessment of Musculoskeletal Disorders in Electronic Industrial Workers. Safety & Environment Review E–journal 2022; 5(1): 61-67.

Chaiklieng S, Suggaravetsiri P, Poochada W. Risk factor related to shoulder pain among assembly electronic assembly workers. Arch AHS 2018; 30: 146‑58.

Chaiklieng S, Suggaravetsiri P. Low Back Pain (LBP) Incidence, Ergonomics Risk and Workers’ Characteristics in Relations to LBP in Electronics Assembly Manufacturing. Indian Journal of Occupational and Environmental Medicine 2020; 24(3): 183-187

Chaiklieng, S. Health risk assessment on musculoskeletal disorders among potato-chip processing workers. PLoS ONE 2019; 14(12): e0224980. https://doi.org/10.1371/journal.pone.0224980

Hush J, Michaleff Z, Maher C, Refshauge K. Individual, physical and psychological risk factors for neck pain in Australian office workers: a 1-year longitudinal study. European Spine Journal 2009;18:1532-40.

Luemongkol R, Chaiklieng S. Risk factors of work-related low back pain among emergency nurse at regional hospitals in the northeast of Thailand. J Med Tech Phy Ther 2015; 27(3): 273-286

Chaiklieng S, Nithithamthada R. Factors Associated with Neck, Shoulder, and Back Pain among Dental Personnel of Government Hospitals in Khon Kaen Province. Journal of Public Health 2016; 46(1): 42-56

Mongkolkaensai J. Madadam U. Factor Related to Musculoskeletal Disorders among Office Workers, Walailak University. Journal of Health Science 2019;28(1): 37-44

Pimarn R, Wongmatikul V. Prevalence and risk factors of low back pain among nurses at

King Chulalongkorn Memorial Hospital, Thai Red Cross Society. Chula Med J 2017

Jan – Feb; 61(1): 87 - 102

Pirom T, Worachetwarawat P. A study of tiredness from sitting in working of sewing workers in garment industry. Industrial Engineering Network Academic Conference ;17-19 October 2012; Cha-am. Phetchaburi: Sripatum university; 2012. 608-614

Chaiklieng S, Suggaravetsiri P, Stewart J. Incidence and risk factors associated with lower back pain among university office workers. J Occup Saf Ergon 2021;27(4):1215-1221 doi: 10.1080/10803548.2019.1706827.

Tidaoon P, Chuangkrud S, Chaiklieng S. Ergonomic risk assessment and work environmental illumination in electronic manufacturing. Safety & Environment Review E–journal 2022; 5(1): 28-34

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-12