การศึกษาประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อแบคทีเรียของสารทําความสะอาด: กรณีศึกษาภายใน สถานที่พักอาศัยแห่งหนึ่ง

A STUDY OF BACTERICIDAL EFFICACY FOR CLEANING AGENTS: A CASE STUDY IN ONE RESIDENTIAL SETTING

ผู้แต่ง

  • พรพรรณ วัชรวิทูร สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • ชลธิชา แสงชนะ สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • ทรรศพร ภูกิ่งงาม สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • ดวงสุดา พงษ์จังหรีด สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • จารุวรรณ ขันนาค สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • สร้อยสุดา รอดกำเหนิด สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

คำสำคัญ:

สถานที่พักอาศัย, สารทำความสะอาด, ประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบกึ่งทดลองนี้ เพื่อศึกษาการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อแบคทีเรียของสารทำความสะอาดภายในสถานที่พักอาศัยแห่งหนึ่ง ทำการเก็บตัวอย่าง 3 วัน/สัปดาห์ เป็นเวลา 2 สัปดาห์ โดยเก็บตัวอย่างในช่วงเช้าและช่วงบ่ายตาม NIOSH Method 0800 ตรวจนับจำนวนโคโลนี วิเคราะห์ลักษณะของเชื้อ ทดสอบประสิทธิภาพของสารทำความสะอาดในการฆ่าแบคทีเรียต่างสายพันธุ์กันด้วยวิธี Disc Diffusion และนำสารทำความสะอาดมาทดสอบภายในสถานที่จริง โดยสารทำความสะอาดที่นำมาใช้ทดสอบมีดังนี้ สารที่ 1, สารชนิดที่ 2, สารชนิดที่ 3, สารชนิดที่ 4, และน้ำกลั่นเป็นตัวควบคุม  ผลการศึกษาพบว่า สภาพแวดล้อมในการเก็บตัวอย่างช่วงเช้าจะมีอุณหภูมิต่ำกว่าช่วงบ่าย แต่จะมีความชื้นสัมพัทธ์สูงกว่าช่วงบ่าย ทำให้ปริมาณแบคทีเรียรวมในช่วงเช้าเท่ากับ 265.54 CFU/m3 และช่วงบ่ายมีปริมาณเท่ากับ 250.03 CFU/m3 แบคทีเรียที่พบทั้งหมดมี 7 ชนิด โดยเชื้อแบคทีเรียที่พบมากที่สุดทั้งช่วงเช้าและช่วงบ่าย คือ Staphylococcus spp. มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 202.98 CFU/m3  และแบคทีเรียที่พบน้อยที่สุดคือ Bacillus cereus มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.90 CFU/m3  และสารทำความสะอาดที่มีประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อทั้ง 7 สายพันธุ์มากที่สุด คือ สารชนิดที่ 3 และ สารชนิดที่ 4 โดยสารชนิดที่ 3 มีสารออกฤทธิ์เป็น alkyl dimethyl benzoyl ammonium chloride เข้มข้น 2.4%  ซึ่งเป็นสารฆ่าเชื้อ ที่สามารถใช้กำจัดเชื้อจุลินทรีย์ได้หลากหลาย แต่มีความรุนแรง จึงเหมาะสำหรับใช้กับพื้นผิวของสิ่งของต่างๆ และสารชนิดที่ 4  มีองค์ประกอบของสารฆ่าเชื้อ Chloroxylenol เข้มข้น 4.8% ซึ่งสามารถฆ่าเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรีย เชื้อราและไวรัส โดยผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 ชนิดมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียไม่แตกต่างกัน

References

Siriuma Jawjit*, Phiman Thirarattanasunthon, Khajeephan Bunyanuwong and Sobariyah Cheloh. Environmental Health Assessment and Personal Factor of Prevalence on Animal and Insect Carriersin Dormitories, Thai Science and Technology Journal (TSTJ)[Internet]. 2019[cited 2023 Nov 12]; Vol. 27 No. 6 Nov -Dec, 1118-1131. Available from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tstj/article/view/205339/142924

Supitra Selavattanakul and Sunisa Sumreddee. A study on the management of dormitory cleaning for preventing the spread of the infection in Boromarajonani College of Nursing, Surin. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Surin [Internet]. 2015 [cited 2023 Nov 22]; Vol. 5 (1): January – June, 1-15. Available from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/ bcnsurin/article/view/213139/148132

Nanthawan Jinakul, Duangjai Chanton and Kanpitcha Namchan . The comparison of disinfectant efficiency among cleansing agents for Cell Culture Laboratory. BJM[Internet]. 2017 [cited 2023 Nov 8]; Vol.4 NO. 2 JULY – DECEMBER,35-43. Available from https://he01.tcithaijo.org/index.php/BJmed/article/download/114785/88864/

Rotruedee Chotigawin. Microbial indoor air quality in early childhood education facilities. Thaksin University journal [Internet]. 2016 [cited 2023 Nov 8], 19(1), 84-95. Available from http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/article_detail.php?ArticleID=197715

Suntaree Suantubtim* and Pornpen Gamnarai. Exploration of Environmental and Airborne Microorganisms in Medical Science Laboratory. Thai Science and Technology Journal (TSTJ) [Internet]. 2020[cited 2023 Nov 12]; Vol. 28 No. 8August, 1462-1472.

Khongnapa Uthungsung and Ganjana Nathapindhu. Types and quantities of microorganisms in ambient air of outpatient departments, Sunpasitthiprasong hospital in Ubon Rattchathani. Journal of office of ODPC 7 Khon Kaen [Internet]. 2018 [cited 2023 Nov 17]; Vol. 25 No. 2 May-Aug, 014-021.

Phonlawat Janpiw. Comparison of Bactericidal Efficacy between Ethanol and Clorox®-containing Disinfectants in Laboratories. Srinagarind Medical Journal [Internet]. 2019 [cited 2023 Nov 17]; Vol.33 No. 5 Sep-Oct, 444-450.

Krit Thirapanmethee. Disinfectant and Corona virus disease (COVID-19). Faculty of Pharmacy, Mahidol University [Internet]. 2020 [cited 2023 Nov 19]. Availability from: https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/service-knowledge-article-info.php?id=483

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-12