ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพของแรงงานตัดเย็บผ้า อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

FACTORS RELATED TO HEALTH PROBLEMS OF SEWING WORKERS, KHOK PHO DISTRICT, PATTANI PROVINCE

ผู้แต่ง

  • ไชยวัฒน์ เหตุหมัน สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • ฮัสนา เจะอิ สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • โสมศิริ เดชารัตน์ สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

แรงงาน, ตัดเย็บผ้า, ผลกระทบต่อสุขภาพ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบตัดขวาง (Cross-sectional study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพของแรงงานตัดเย็บผ้า อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี จำนวน 28 คน และตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงาน ได้แก่ ความเข้มของแสงสว่างและความดังเสียง ในพื้นที่การปฏิบัติงานของแรงงานตัดเย็บผ้า เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และเครื่องมือตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงาน ช่วงเวลาการทำวิจัย เก็บข้อมูลในช่วงเดือนกันยายน - ตุลาคม พ.ศ. 2566

          ผลการศึกษาครั้งนี้พบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ 96.4 มีอายุอยู่ในช่วง 20-25 ปี ร้อยละ 46.4 มีประสบการณ์ทำงาน 1-2 ปี ร้อยละ 46.4 ปัญหาสุขภาพของแรงงานตัดเย็บผ้าในพื้นที่จังหวัดปัตตานี 5 อันดับ คือ มีอาการปวดหลัง/ปวดเอว ร้อยละ 75.0 รองลงมาคือ ปวดชาตามอวัยวะต่างๆของร่างกาย ร้อยละ 71.4 ปวดไหล่ ร้อยละ 64.3 ปวดต้นคอ ร้อยละ 64.3 และกล้ามเนื้อตาล้า ร้อยละ 64.3  ตามลำดับ การรับรู้สภาพแวดล้อมในการทำงานด้านเคมี พบว่า แรงงานตัดเย็บผ้าสัมผัสฝุ่นผ้าจากกระบวนการตัดเย็บ ร้อยละ 89.3 สภาพแวดล้อมทางด้านกายภาพ พบว่า แรงงานตัดเย็บผ้าทำงานโดยสัมผัสเสียงดังจากเครื่องจักร ร้อยละ 64.3 ทำงานกับเครื่องจักรที่มีความสั่นสะเทือน ร้อยละ 57.1 และผลการตรวจวัดความดังเสียงและความเข้มแสงสว่าง ในพื้นที่การทำงาน พบว่า ความดังเสียงในการทำงานผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่ความเข้มแสงสว่างไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน สภาพแวดล้อมทางด้านการยศาสตร์ พบว่า แรงงานตัดเย็บผ้านั่งหรือยืนทำงานติดต่อกันเป็นะยะเวลานานเกิน 2 ชั่วโมง ร้อยละ 85.7 ทำงานในท่าทางเดิมซ้ำๆ เป็นเวลานาน ร้อยละ 82.1 ก้มโค้งตัวไปด้านหน้าขณะทำงาน ร้อยละ 78.6 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลกระทบต่อสุขภาพของแรงงานตัดเย็บผ้า จังหวัดปัตตานี ได้แก่ อายุ ตำแหน่งงาน และสภาพแวดล้อมในการทำงานของแรงงานตัดเย็บผ้า ได้แก่ แสงสว่างและความดังเสียง ดังนั้น การอบรมให้คำแนะนำเกี่ยวกับท่าทางการตัดเย็บผ้าที่เหมาะสม การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ และการทำงานที่ปลอดภัย เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับแรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า

References

ประกายนํ้า มากศรี ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์ และ ธานี แก้วธรรมานุกูล. (2561). ปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงานและภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงของแรงงานนอกระบบตัดเย็บผ้า.พยาบาลสาร, 45(4), 71-83

สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดเชียงใหม่. ความหมายแรงงานนอกระบบ. (ออนไลน์). 2561. เข้าถึงได้จาก https://chiangmai.labour.go.th/index.php/2018-10-31-08-11-28/408-2018-10-31-06-38-13 (วันที่สืบค้น 27 กรกฎาคม 2566)

Thailand Development Research Institute. แรงงานนอกระบบ สวัสดิการยามชราและการออม. (ออนไลน์). 2565. เข้าถึงได้จาก https://tdri.or.th/2022/03/informal-sector-workers-welfare/ (วันที่สืบค้น 27 กรกฎาคม 2566)

นิชนันท์ ชินรัตน์ และอุไรวรรณ อินทร์ม่วง. (2562). การประเมินความเสี่ยงสุขภาพของแรงงานนอกระบบกลุ่มเย็บผ้าสำเร็จรูป อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น, 26(1), 97-108

จันจิรา ทิพวัง และ กาญจนา นาถะพินธุ. (2559). ความชุกและปัจจัยที่มความสัมพันธ์กับอาการปวดกล้ามเนื้อของกลุ่มอาชีพเย็บผ้าโหล ตำบลน้ำโมง อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย.วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 23(1), 46-61

Likert, Rensis. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. Attitude Theory and Measurement. Fishbeic, Martin, Ed. New York: Wiley & Son.

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการตรวจวัด และวิเคราะห์สภาวะการ ทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2565 (ออนไลน์). 2565. เข้าถึงได้จาก https://tdri.or.th/2022/03/informal-sector-workers-welfare/ (วันที่สืบค้น 27 กรกฎาคม 2566)

สุนิสา ชายเกลี้ยง ธวัชชัย คำป้อง และวรวรรณ ภูชาดา. (2560). การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพด้านการสัมผัสปัจจัยการยศาสตร์ของแรงงานนอกระบบกลุ่มเย็บผ้าสำเร็จรูป. วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา, 12(1), 99-111

ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์ และคณะ. (2562). การสร้างเสริมสุขภาพและลดภาวะเสี่ยงจากการทำงานกลุ่มแรงงานนอกระบบตัดเย็บผ้า: การวิจัยแบบมีส่วนร่วม. พยาบาลสาร, (46)4, 25-36

ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์ และคณะ. (2561). สถานการณ์ด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมของกลุ่มแรงงานตัดเย็บผ้า: การวิเคราะห์ในวิสาหกิจชุมชน. วารสารสภาการพยาบาล, 33(1), 61-73

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-12