การประมาณค่าความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการสัมผัสแสงสว่างในสภาพแวดล้อมการทำงานของพนักงาน มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล และสถานประกอบการ กรณีศึกษาที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

HEALTH RISK ESTIMATION ON LIGHT EXPOSURE IN AN EMPLOYEE'S WORK ENVIRONMENT OF UNIVERSITIES, HOSPITALS AND INDUSTRIAL PLANTS CASE STUDY AT LAO PEOPLE'S DEMOCRATIC REPUBLIC

ผู้แต่ง

  • คำทวีสุข เดชจันทะจักร นักศึกษาสาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • วิชัย พฤกษ์ธาราธิกูล ภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุนิสา ชายเกลี้ยง ภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ความเข้มแสงสว่าง, ความรู้สึกไม่สบายตา, เมตริกความเสี่ยงต่อสุขภาพ

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้เป็นการประเมินการรับรู้ความรู้สึกไม่สบายตาในขณะที่สัมผัสแสงในการทำงานและเพื่อประมาณค่าความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการสัมผัสแสงสว่างของพนักงาน มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล และ ในสถานประกอบการ กรณีศึกษา ที่ สปป ลาว โดยการใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 231 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์อาสาสมัคร ตรวจวัดความเข้มแสงสว่างในการทำงานเฉพาะจุด และเมตริกความเสี่ยง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา จากการสัมภาษณ์ของกลุ่มตัวอย่างพบว่า ความชุกของอาการรู้สึกไม่สบายตา ในขณะที่สัมผัสแสงในการทำงานของพนักงานจากมากไปหาน้อย ได้แก่ มีอาการการรับรู้ที่ไม่สบายตา ร้อยละ 74.90 มีความสบายทางสายตา ร้อยละ 25.10 ผลการประมาณค่าความเสี่ยงจากการรับสัมผัสแสงสว่างของพนักงานจากกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ลักษณะงานใช้คอมพิวเตอร์พนักงานได้รับความเสี่ยงจากการสัมผัสแสงสว่างส่วนมากเป็นระดับสูง ร้อยละ 30.74 และมีความเสี่ยงในระดับสูงมาก ร้อยละ 4.33 ลักษณะงานทันตกรรม มีความเสี่ยงระดับความเสี่ยงสูง ร้อยละ 2.16 เตียงผ่าตัด มีความเสี่ยงระดับความเสี่ยงสูง ร้อยละ 3.46 ส่วนพื้นที่ที่มีลักษณะงานเป็นบริเวณพื้นที่ใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน พนักงานได้รับความเสี่ยงจากการสัมผัสแสงสว่างส่วนมากเป็นระดับความเสี่ยงสูง ร้อยละ 6.49 และมีความเสี่ยงในระดับความเสี่ยงสูงมาก ร้อยละ 1.30 และพื้นที่ที่มีลักษณะงานเป็นบริเวณพื้นที่ใช้ประโยชน์ในกระบวนการผลิต พนักงานได้รับความเสี่ยงจากการสัมผัสแสงสว่างส่วนมากเป็นระดับความเสี่ยงปานกลาง และความเสี่ยงสูง ร้อยละ 6.49 ของกลุ่มตัวอย่าง ผลการศึกษาพบเห็นปัญหาพนักงานเกิดความไม่สบายทางสายตาซึ่งส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพพนักงานที่ทำงานในสถานที่ที่ต้องใช้แสงสว่างในการทำงานดังกล่าว

References

Lao National Statistics Center. (2019). Statistics for the year 2019. Retrieved on 15 August 2020, from https://seadelt.net/Asset/Source/Document_ID-489_No-01.pdf (in Lao)

Ministry of Labor and Social Welfare, Lao PDR. (2019). Decree on Labor Safety and Health 2019. Retrieved 17 August 2020, from https://www.mpwt.gov.la/attachments/article/1962/22.05.02.2019 .o.pdf (in Lao)

Division of Occupational and Environmental Diseases, Department of Disease Control, Ministry of Public Health. (2018). Evaluation of work lighting. Retrieved on 3 August 2020, from http://envocc.ddc.moph.go.th/uploads/Menu/rayong/light.pdf (in Thai)

Chanya, C. (2020). Disease of sleeping at the wrong time. Retrieved on 11 October 2020, from https://www.bangkokhospital.com/index.php/th/diseases-treatment/circadian-rhythms-sleep-disorders (in Thai)

Azmoon, H., Dehghan, H., Akbari, J., & Souri, S. (2013). The relationship between thermal comfort and light intensity with sleep quality and eye tiredness in shift work nurses. Journal of Environmental and Public Health, e639184.

Horr, Y.A., Arif, M., Kaushik, A., Mazroei, A., Katafygiotou, M., & Elsarrag, E. (2016). Occupant productivity and office indoor environment quality: A review of the literature. Building and Environment, 105, 369-389.

Kowalska, M., Zejda, J.E., Bugajska, J., Braczkowska, B., Brozek, G., & Malinska, M. (2011). Eye symptoms in office employees working at computer stations. Medycyna Pracy, 62(1), 1-8.

Leger, D., Bayon, V., Elbaz, M., Philip, P., & Choudat, D. (2011). Underexposure to light at work and its association to insomnia and sleepiness: A cross-sectional study of 13,296 workers of one transportation company. Journal of Psychosomatic Research, 70(1), 29–36.

Sanga, T., & Nittaya, P. (2019). Prevalence and Severity of Computer Vision Syndrome of Supporting Staff in Ubon Ratchathani University. Srinakarin Medical News, 34(2), 173-7. (in Thai)

Hedge, A., Morimoto, S., & McCrobie, D. (1999). Effects of keyboard tray geometry on upper body posture and comfort, Ergonomics, 42, 1333-49.

Chaiklieng, S. (2019). Health risk assessment on musculoskeletal disorders among potato-chip processing workers. PLoS ONE 2019, 14 (12): e0224980.

Chaiklieng S. (2019). Health surveillance in the workplace. Khon Kaen: Khon Kaen University printing house. 309. (in Thai)

Ministry of Industry. (2003). Announcement of the Ministry of Industry on Safety protection measures for factory operations regarding working environments, 2003. Retrieved on 3 August 2020, from https://www.diw.go.th/hawk/law/safety/สภาวะแวดล้อม2546.pdf (in Thai)

Chaiklieng S., & Preuktharatikul W. (2021). Occupational health and safety risk assessment. Khon Kaen: Khon Kaen University printing house. 316. (in Thai)

Department of Labor Protection and Welfare. (2018). Announcement of the Department of Labor Protection and Welfare regarding lighting intensity standards 2018. Retrieved 3 August 2020, from http://library.rsu.ac.th/greenoffice/law/law4_2.pdf (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-12