ผลของโปรแกรม PEOPLE BASED SAFETY (PBS) ที่มีต่อการรับรู้ และทัศนคติด้านความ ปลอดภัย ของพนักงานฝ่ายซ่อมบำรุง ในโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมีแห่งหนึ่ง จังหวัดระยอง

ธนกฤต พิทักษ์เพ็ง

ผู้แต่ง

  • ohswa -

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง 1 กลุ่ม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรม People Based Safety (PBS) ที่มีต่อการรับรู้ และทัศนคติด้านความปลอดภัย ของพนักงานฝ่ายซ่อมบำรุง โรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมีแห่งหนึ่ง จังหวัดระยอง โปรแกรม PBS ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้มีทั้งหมด 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) ชี้บ่งพฤติกรรมเป้าหมาย 2.) การสำรวจการรับรู้ และทัศนคติด้านความปลอดภัย 3) ดำเนินการส่งเสริมและปรับปรุงการรับรู้ และทัศนคติ 4) ทดสอบเพื่อวัดผล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป, แบบสอบถามการรับรู้ด้านความปลอดภัย และแบบสอบถามทัศนคติด้านความปลอดภัย ผลการศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวน 16 คน เป็นพนักงานชายทั้งหมด มีอายุ 30-39 ปี ร้อยละ 50.0 การศึกษาระดับ ปวส. ร้อยละ 50.0 เป็นตำแหน่งช่างเทคนิค ร้อยละ 50.0 ไม่เคยเกิดอุบัติเหตุในช่วง 3 ปี ที่ผ่านมา ร้อยละ 81.2 มีประสบการณ์ทำงาน 3-5 ปี ร้อยละ 43.7 ผลการศึกษาการรับรู้ และทัศนคติด้านความปลอดภัย พบว่าคะแนนเฉลี่ย 35.1 ระดับการรับรู้ปานกลาง หลังทดลอง คะแนนเฉลี่ย 44.4 ระดับการรับรู้ดี ในส่วนทัศนคติด้านความปลอดภัย คะแนนเฉลี่ย 74.4 ระดับทัศนคติปานกลาง หลังทดลอง คะแนนเฉลี่ย 95.1 ระดับทัศนคติดีซึ่งค่าเฉลี่ยระดับการรับรู้ และทัศนคติด้านความปลอดภัยของพนักงาน พบว่า ก่อนและหลังดำเนินโปรแกรม PBS มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การศึกษาครั้งนี้สามารถนำโปรแกรม PBS ไปเป็นแนวทางประยุกต์ใช้เพื่อสร้างการรับรู้ และทัศนคติด้านความปลอดภัย อันจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยส่งผลให้องค์กรเกิดวัฒนธรรมความปลอดภัยได้ต่อไป

คำสำคัญ : โปรแกรม People Based Safety (PBS), การรับรู้ด้านความปลอดภัย, ทัศนคติด้านความปลอดภัย, โรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมี

เผยแพร่แล้ว

2022-06-10