ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่ออาการเจ็บป่วยจากความร้อน ของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมหลอมโลหะแห่งหนึ่งในเขตจังหวัดระยอง

วีรพงศ์ มิตรสันเที๊ยะ

ผู้แต่ง

  • ohswa -

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านสรีรวิทยา การสูญเสียอิเล็กโทรไลต์ทางปัสสาวะ ปัจจัยด้านลักษณะงาน และระดับความร้อนในสภาพแวดล้อมการทำงาน ที่ส่งผลกระทบต่ออาการเจ็บป่วยจากความร้อนของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมหลอมโลหะแห่งหนึ่งในเขตจังหวัดระยองกลุ่มตัวอย่าง 128 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 86.70 อายุเฉลี่ยเท่ากับ 36.06 ± 9.76 ปี มีระยะเวลาการทำงานเฉลี่ยต่อวัน 9.93 ± 1.50 ชั่วโมง พบว่าแผนกแผนกหลอมโลหะมีค่าระดับ WBGTเฉลี่ย เท่ากับ 35.20 ±0.78 องศาเซลเซยี สอตั ราการเตน้ ของหัวใจมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมมากที่สุดร้อยละ 93.00 และมีค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าในปัสสาวะเพิ่มขึ้นหลังจากทำงาน ร้อยละ 85.90
          จากการศึกษาวิจัยพบว่าปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออาการผื่นคันจากความร้อนของพนักงานได้แก่ ปัจจัยด้านเพศหญิง มีค่า OR (95%CI) เท่ากับ 8.36 (1.30, 53.69) การดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ค่า OR (95%CI) เท่ากับ 2.91 (0.96, 8.80) และระยะเวลาการทำงานต่อวัน (ชม.) มีค่า OR (95%CI) เท่ากับ 5.73 ( 1.19, 27.56) ปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออาการตะคริวจากความร้อน ได้แก่ ปริมาณการดื่มน้ำเปล่า 4 – 10 แก้วต่อวัน มีค่า OR (95%CI) เท่ากับ 0.10 (0.01, 0.67) การดื่มน้ำเปล่า 11 – 17 แก้วต่อวัน มีค่า OR (95%CI) เท่ากับ 0.09 (0.01, 0.83) การสวมใส่เสื้อกล้ามหรือเสื้อซับ มีค่า OR (95%CI) เท่ากับ 0.22 (0.06, 0.81) การสวมใส่กางเกงขาสั้นหรือกางเกงชั้นในขาสั้นมีค่า OR (95%CI) เท่ากับ 5.71 (1.70, 19.12) และระยะเวลาในการทำงานน้อยกว่า 1 ปีมีค่า OR (95%CI) เท่ากับ 0.06 (0.01, 1.08) ตามลำดับ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อโรคลมร้อน ได้แก่ ปัจจัยด้านการสวมใส่กางเกงขาสั้นหรือกางเกงชั้นในขาสั้นค่า OR (95%CI) เท่ากับ 6.13 (1.12, 33.32) และการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิร่างกายที่เพิ่มขึ้นมีค่า OR (95%CI) เท่ากับ 0.07 ( 0.01, 0.72) ตามลำดับ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออาการอ่อนเพลียจากความร้อน ได้แก่ ปัจจัยด้านการดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีค่า OR (95%CI) เท่ากับ 3.53 (0.96, 12.99)
          จากผลการศึกษานี้มีข้อเสนอแนะว่าพนักงานควรหลีกเลี่ยงการดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในการทำงานที่ต้องสัมผัสกับความร้อนควรสวมใส่เครื่องแต่งกายที่สามารถระบายความร้อนได้ดี ดื่มน้ำเปล่าอย่างน้อย 10 แก้วต่อวัน และมีเวลาในการทำงานที่เหมาะสมไม่ควรเกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อลดโอกาสเสี่ยงการเจ็บป่วยจากความร้อนต่อไป

คำสำคัญ : โรงงานหลอมโลหะ ,พนักงานที่รับสัมผัสความร้อน, ผลกระทบต่อสุขภาพ

เผยแพร่แล้ว

2022-06-10