ความเข้มแสงสว่างและปัจจัยที่ส่งผลต่อความเมื่อยล้าของสายตา ในการทำงานกับคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาลสมุทรปราการ
ปิยภรณ์ จันทรศรี
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วัดความเมื่อยล้าของสายตาในพนักงานที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์ 2) ศึกษาปัจจัยที่ความสัมพันธ์กับความเมื่อยล้าของสายตา กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์ติดต่อกันมากกว่า 2 ชั่วโมงต่อวันใน 13 แผนก จำนวน 175 คนเครื่องมือที่ใช้ คือ 1) แบบสอบถามที่มีข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคลข้อมูลการใช้งานคอมพิวเตอร์ และลักษณะงาน 2) แบบประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์สำหรับการทำงานกับคอมพิวเตอร์ เพื่อประเมินสถานีงาน 3) วัดความเข้มแสงด้วยเครื่องวัดแสง (Lux meter) และ4) วัดความล้าของสายตาด้วยเครื่อง Eye Check Pupillometer ผลการวิจัย ความล้าทางสายตาหลังปรับปรุงลดลง ร้อยละ 22.9 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความล้าของสายตาก่อนปรับปรุง ได้แก่ อายุ เพศ ลักษณะงาน ระยะเวลาการใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันและความความเข้มของแสงสว่าง เมื่อปรับปรุงสถานีงานและปรับพฤติกรรมการใช้งานคอมพิวเตอร์ พบว่าลักษณะงาน ระยะเวลาการใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อกัน ระยะการพัก ความถี่ในการพักมีความสัมพันธ์กับความล้าของสายตา ดังนั้น ควรลดระยะเวลาการใช้งานคอมพิวเตอร์ติดต่อกัน และเพิ่มระยะเวลาการพักสายตา
คำสำคัญ : ความเมื่อยล้าของสายตา / ความเข้มแสงสว่าง / Eye check pupillometer / พนักงานที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.