การประเมินการรับสัมผัสสารไซลีนและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเสพติด ของพนักงานในโรงงานผลิตสีอุตสาหกรรมในจังหวัดชลบุรี
ศรายุทธ พิริยะเบญจวัฒน์
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางเพื่อประเมินปริมาณการรับสัมผัสสารไซลีนและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเสพติดของพนักงาน จำนวน 100 คนในโรงงานผลิตสีอุตสาหกรรมในจังหวัดชลบุรีโดยการหาปริมาณระดับความเข้มข้นของกรดเมทิลฮิปปูริกในปัสสาวะ (หลังสิ้นสุดการทำงาน) และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเสพติดสารไซลีนโดยใช้แบบสอบถามและหาความสัมพันธ์ด้วยสถิติ Chi-square (χ2) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มีภาวะเสพติดสารไซลีนอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 46 และ ระดับสูง ร้อยละ 12 ตามลำดับ ปริมาณระดับความเข้มข้นของกรดเมทิลฮิปปูริกในปัสสาวะ มีค่าเท่ากับ 0.0141 g/g creatinine. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ ภาวะเสพติดสารไซลีน ได้แก่ เพศ, อายุ, ระดับการศึกษา, การสูบบุหรี่, การดื่มแอลกอฮอล์, ทางในการรับสัมผัสสารไซลีน, ลักษณะงานที่ทำ, จำนวนชั่วโมงที่ทำงานกับสารทำละลาย, การทำงานล่วงเวลา, การใช้หน้ากากป้องกันสารเคมี และ ปริมาณระดับความเข้มข้นของกรดเมทิลฮิปปูริกในปัสสาวะผลศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ปริมาณการรับสัมผัสสารไซลีนมีผลต่อภาวะเสพติดสารไซลีน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามมาตรการควบคุมและตรวจกำกับด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอย่างเข้มงวดตามกฎหมาย 2 ครั้ง/ปี เพื่อป้องกันภาวะเสพติดสารไซลีนในอนาคต
คำสำคัญ : สารไซลีน, ภาวะเสพติด, โรงงานผลิตสี
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.