การสัมผัสสารฟอร์มัลดีไฮด์ของบุคลากรในห้องปฏิบัติการ ทางการแพทย์

อุมากร ธงสันเทียะ

ผู้แต่ง

  • ohswa -

บทคัดย่อ

          การศึกษาเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสัมผัสสารสารฟอร์มัลดีไฮด์ในบรรยากาศการทำงานของบุคลากรห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ โดยทำการศึกษาที่ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ จำนวน 4 ห้องปฏิบัติการ (5 พื้นที่) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และตรวจวิเคราะห์ความเข้มข้นของสารฟอร์มัลดีไฮด์ด้วยเครื่อง Gasmet DX-4030 ใช้เทคนิควิธีวิเคราะห์อินฟาเรดสเปคโทรสโคปี ผลการศึกษาพบว่าจากบุคลากร 33 คน ในห้องปฏิบัติการเป็น พนักงานรักษาศพ เจ้าหน้าที่ตรวจสอบศพ นักวิทยาศาสตร์ แพทย์/นักศึกษาแพทย์เฉพาะทาง และอาจารย์ ปฏิบัติงานกับสารฟอร์มาลินสัปดาห์ละ 5 วัน ร้อยละ 54.55 สัมผัสสารฟอร์มัลดีไฮด์ระหว่าง 15 นาที ถึง 10 ชั่วโมงต่อวัน สวมหน้ากากอนามัยขณะปฏิบัติงานสูงที่สุด ร้อยละ 96.67 สวมหน้ากากกรองกลิ่นสารเคมีรองลงมาร้อยละ 80.95 และหน้ากากกรองไอระเหยสารเคมีน้อยที่สุด ร้อยละ 37.14 ค่าความเข้มข้นของสารฟอร์มัลดีไฮด์ในบรรยากาศการทำงานทุกพื้นที่มีค่าสูงกว่ามาตรฐานการทำงานเฉลี่ย 8 ชั่วโมง (TLV-TWA=0.016 ppm; NIOSH, 2007) คือห้องปฏิบัติการพยาธิ-วิทยา ปรสิตวิทยา กายวิภาคศาสตร์ และนิติเวชวิทยา ค่าความเข้มข้น เท่ากับ 0.485, 0.017, 0.028 และ 0.054 ppm ตามลำดับ โดยบุคลากรห้องปฏิบัติการพยาธิวิทยามีโอกาสสัมผัสสารสูงสุดตามพื้นที่การทำงาน จึงเสนอแนะให้บุคลากรใช้หน้ากากกรองไอระเหยสารเคมีในพื้นที่ทำงานตามความเหมาะสม ปรับปรุงระบบระบายอากาศและประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการสัมผัสสารฟอร์มัลดีไฮด์อย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันด้านผลกระทบในระยะยาว

คำสำคัญ : ฟอร์มัลดีไฮด์ / ความเข้มข้นในอากาศ / หน้ากากกรองไอระเหยสารเคมี / พยาธิวิทยา

เผยแพร่แล้ว

2022-06-14