ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุจากสนามเด็กเล่น ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

กานต์นลินญา บุญที

ผู้แต่ง

  • ohswa -

บทคัดย่อ

          การศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยง และความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุจากการเล่นในสนามเด็กเล่น กรณีศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอำเภอวารินชำราบ ในขอบเขตพื้นที่บริเวณรอบมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ไม่เกิน 15 กิโลเมตร ใช้แบบสอบถามครู ครูผู้ดูแลเด็กและครูผู้ช่วย ผู้ดูแลเด็กจำนวน 49 คน และแบบสำรวจสนามเด็กเล่นจำนวน 13 แห่ง ผลการศึกษาพบว่า ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา มีเด็กได้รับอุบัติเหตุจากการเล่นในสนามเด็กเล่นคิดเป็นร้อยละ 46.9 ปัจจัยด้านพฤติกรรมการเล่นมีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุ (p-value = 0.0001) และเพศมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเล่น (p-value = 0.047) พฤติกรรมเสี่ยงที่มากที่สุด คือ การไกวชิงช้าที่แรงหรือเร็ว มีค่าเฉลี่ยของความเสี่ยง 2.47 คะแนน, สภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย คือ พื้นทรายมีความหนาน้อยกว่า 20 เซนติเมตร และการออกแบบพื้นที่สนามที่ไม่คำนึงถึง การตก และการสัญจรมีคะแนนความไม่สอดคล้องกับข้อกำหนด 0.15 คะแนน ปัจจัยในด้านมาตรการความปลอดภัยอยู่ในระดับดีมาก มีค่าคะแนนความปลอดภัย 3.23 คะแนน มาตรฐานอุปกรณ์เครื่องเล่นชนิดลื่นสอดคล้องกับข้อกำหนดมาตรฐานในระดับปานกลางคือ 0.62 คะแนน ข้อเสนอแนะจากการศึกษาคือ ผู้ที่เกี่ยวข้องควรดูแลจัดสภาพแวดล้อมและเครื่องเล่นให้มีความปลอดภัย และครูที่ดูแลเด็กควรแนะนำวิธีการเล่นที่ปลอดภัยและดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด

คำสำคัญ : ปัจจัยเสี่ยง / สนามเด็กเล่น / อุบัติเหตุในสนามเด็กเล่น / สภาพแวดล้อมและความปลอดภัย

เผยแพร่แล้ว

2022-06-14