การลดการสัมผัสเสียงดังของพนักงานแบบมีส่วนร่วม ในสถานประกอบกิจการดิสโก้เทค และบริเวณโดยรอบ ในพื้นที่ถนนข้าวสาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

อนวัช ชื่นม่วง

ผู้แต่ง

  • ohswa -

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) เพื่อศึกษาสถานการณ์และการรับสัมผัสเสียงดังของพนักงานในสถานบันเทิงเขตพระนคร และจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการจัดการด้านความปลอดภัยของเสียงในสถานบันเทิง โดยเลือกสถานบันเทิงในพื้นที่ถนนข้าวสารจำนวนทั้งหมด 3 แห่ง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาจำนวนทั้งหมด 47 คน ได้แก่ ผู้จัดการหรือผู้ดูแลร้าน 6 คน บาร์เทนเดอร์ 21 คน และเสิร์ฟ 20 คน ร่วมหามาตรการในการลดการสัมผัสเสียงดัง ผลการวิจัย พบว่า ระดับเสียงก่อนกิจกรรมปรับปรุงแก้ไข มีค่าระดับเสียงเฉลี่ย 8 ชั่วโมง (LAeq) อยู่ระหว่าง 90.7 – 98.7 dB(A) และค่าระดับความดังเสียงสูงสุด (Lmax) อยู่ระหว่าง 108.2 – 137.9 dB(A) ปริมาณเสียงสะสมที่พนักงานได้รับสัมผัสตลอดระยะเวลาการทำงาน 8 ชั่วโมง ตำแหน่ง บาร์เทนเดอร์และเสิร์ฟจำนวนทั้งหมด 18 คน พบว่ามีค่าเฉลี่ย (TWA) อยู่ระหว่าง 89.4 – 107.2 dB(A) เทียบ % Dose มีค่าอยู่ระหว่าง ร้อยละ 92.9 – 767.2 สถานบันเทิงได้เลือกใช้รูปแบบการควบคุมที่แหล่งกำเนิดเสียงโดย ลดระดับเสียงจากเครื่องขยายเสียง หยุดการเปิดเพลงในช่วงที่ยังไม่มีลูกค้า จัดระบบการหมุนเวียนให้พนักงานมีช่วงพักการสัมผัสเสียงในห้องเงียบ และพนักงานใส่ที่อุดหูขณะปฏิบัติงาน สถานการณ์ระดับเสียงหลังการจัดกิจกรรมปรับปรุงแก้ไข พบว่ามีค่าระดับเสียงเฉลี่ย 8 ชั่วโมง (LAeq) อยู่ระหว่าง 87.2 – 94.3 dB(A) และค่าระดับความดังเสียงสูงสุด (Lmax) อยู่ระหว่าง 104.1 – 121.4 dB(A) ปริมาณเสียงสะสมที่พนักงานได้รับสัมผัสตลอดระยะเวลาการทำงาน 8 ชั่วโมง มีค่าเฉลี่ย (TWA) อยู่ระหว่าง 85.0 – 96.8 dB(A) เทียบ % Dose มีค่าอยู่ระหว่างร้อยละ 50.1 – 181.5 พนักงานได้รับสัมผัสเสียงเกินค่ามาตรฐาน จำนวน 12 คน และค่าระดับเสียงสูงสุดที่วัดได้ (Lpeak) อยู่ระหว่าง 119.0–139.8 dB(A) ผลการศึกษาที่ได้ครั้งนี้จะนำไปสู่การจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาต่อไป

คำสำคัญ : การลดการสัมผัสเสียงดัง / การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม / ดิสโก้เทค / บาร์เทนเดอร์ / พนักงานเสิร์ฟการลดการสัมผัสเสียงดังของพนักงานแบบมีส่วนร่วม

เผยแพร่แล้ว

2022-06-14