การพัฒนาตู้ทดสอบอัตราการระเหยของสารอินทรีย์ระเหยง่าย จากวัสดุก่อสร้างและตกแต่งอาคาร

จันจิรา ใจมั่น

ผู้แต่ง

  • ohswa -

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตู้ทดสอบอัตราการระเหยของสารอินทรีย์ระเหยง่ายในวัสดุก่อสร้างและตกแต่งอาคาร ที่สอดคล้องกับข้อกำหนดของมาตรฐาน ASTM หมายเลข D5116 โดยตู้ทดสอบทำจากเหล็กกล้าไร้สนิมมีรูปร่างทรงกระบอกปลายทั้งสองด้านเป็นรูปกรวย ปริมาตรภายในตู้เท่ากับ 60 ลิตร อากาศไหลผ่านด้วยอัตรา 1 ลิตร/นาที มีจุดเก็บตัวอย่างอากาศที่ปลายทางอากาศออก ควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศที่ไหลเข้าตู้ทดสอบด้วยระบบน้ำหล่อเย็น (Dehumidifying condensation) กำหนดให้ความชื้นสัมพัทธ์มีค่าระหว่าง 50±10% และอุณหภูมิ 25.0±0.5°C ทั้งนี้ได้ติดตั้งพัดลมขนาดเล็กภายในตู้เพื่อให้ความเร็วลมหน้าชิ้นงานมีค่าระหว่าง 0.1 - 0.3 m/s โดยสามารถตรวจวดั อณุ หภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์และความเร็วลมภายในตู้ทดสอบพร้อมบันทึกค่าอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงเวลาของการทดสอบด้วยเครื่องมือ KIMO® KH200 KISTOCK (Temperature & Humidity Datalogger) เมื่อทดลองตู้ทดสอบโดยการตรวจวัดอัตราการระเหยของสารฟอร์มัลดีไฮด์ในผลิตภัณฑ์ฉนวนกันความร้อน ประเภทใยแก้ว พบว่า ในการทดสอบ 168 ชั่วโมง อุณหภูมิเฉลี่ยในตู้ทดสอบเท่ากับ 25.04±0.03°C และความชื้นสัมพัทธ์เท่ากับ 51.7±0.74% เมื่อทดสอบเปรียบเทียบกับตู้ทดสอบมาตรฐาน พบว่าระดับความเข้มข้นและอัตราการปลดปล่อยของสารฟอร์มัลดีไฮด์จากฉนวนไยแก้วให้ผลสอดคล้องกัน

คำสำคัญ : ตู้ทดสอบสารอินทรีย์ระเหยง่าย / ASTM D5116 / ระบบการลดความชื้นจากอากาศโดยน้ำเย็น / ความเร็วเหนือพื้นผิวชิ้นงาน / ความชื้นสัมพัทธ์

เผยแพร่แล้ว

2022-06-14