ผลของการปรับปรุงก้านพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เพื่อลดโอกาสการรับสัมผัสสารเคมี:กรณีศึกษากลุ่มเกษตรกรแห่งหนึ่ง ในจังหวัดนครปฐม
คำสำคัญ:
ก้านพ่น, โอกาสการรับสัมผัสสารเคมี, สารเคมีกำจัดศัตรูพืชบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงก้านพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เปรียบเทียบการลดโอกาสการรับสัมผัสสารเคมี ได้แก่ ระยะเวลาในการฉีดพ่น ปริมาณสารเคมีที่ใช้ และปริมาณการรับสัมผัสสารเคมีขณะพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชระหว่างก่อนการปรับปรุงก้านพ่นสารเคมีและหลังการปรับปรุงก้านพ่นสารเคมี และศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้งานก้านพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชหลังจากได้รับการปรับปรุง โดยทำการศึกษาแบบกึ่งทดลองกลุ่มเดียวเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ เกษตรกรปลูกตะไคร้ จำนวน 15 คน โดยใช้แบบสอบถามและแบบบันทึกเวลาและปริมาณของเหลวที่ใช้ในการพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชทั้งก้านพ่นแบบเดิม (1 หัวฉีด) และแบบใหม่ (4 หัวฉีด) ผลการวิจัยพบว่า การเปรียบเทียบระยะเวลาเฉลี่ยและปริมาณการรับสัมผัสระหว่างการฉีดพ่นของการใช้ก้านพ่นสารเคมีแบบเดิม (1 หัวฉีด) กับก้านพ่นสารเคมีแบบใหม่ (4 หัวฉีด) มีค่าลดลงอย่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) และปริมาณสารเคมีที่ใช้เฉลี่ยระหว่างก้านพ่นสารเคมีแบบเดิม (1 หัวฉีด) ก้านพ่นสารเคมีแบบใหม่ (4 หัวฉีด) มีการใช้ปริมาณสารเคมีที่ลดลง แต่ไม่พบนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) โดยมีความพึงพอใจหลังการใช้ก้านฉีดแบบใหม่ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก ดังนั้นก้านฉีดแบบใหม่ควรได้รับการแนะนำให้ใช้ในกลุ่มเกษตรกรเพื่อลดโอกาสการรับสารเคมีต่อไป
References
Office of Agricultural Economics. (2023). Agriculturist. Availablefrom:https://data.moac.go.th/?p=farmer. In Thai
Land Development Department. (2022). Thailand's agricultural areas. Available from: https://webapp.ldd.go.th/lpd/node_modules/img/Download/zonmap/zonmap2/agri_zone_th.pdf
Department of disease control. (2018). The Office of Risk Communication and Health Behavior Development's "Health and Disease Prevention Guide for the Public". Available from: https://www.thaihealth.or.th/โรคพิษจากสารกำจัดศัตรู-2/
Huovinen, M., Loikkanen, J., Naarala, J., & Vähäkangas, K. (2015). Toxicity of diuron in human cancer cells. BIBRA, 29 (7), 1577–1586. https://doi.org/10.1016/j.tiv.2015.06.013
Gary J. Dorr, Andrew J. Hewitt, Steve W. Adkins, Jim Hanan, Huichun Zhang, Barry Nolle. (2013). A comparison of initial spray characteristics produced by agricultural nozzles. Crop Protection. 53 , 109-117.
Christos A. Damalas and Ilias G. Eleftherohorinos. (2011). Pesticide Exposure, Safety Issues, and Risk Assessment Indicators. Int. J. Environ. Res. Public Health. 8 (5), 1402-1419.
Phattharaphon Mangmee, Ajchara Jangkaeo. (2011). The Dual-System Sprayer: Design and Construction. [Naresuan University Thesis]. Available from:https://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/bitstream/123456789/1501/1/Phattharaphon%20Mangmee.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.