เมตริกการประเมินความเสี่ยงต่อความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของบุคลากร และความเข้มแสงสว่างในการทำงานกลุ่มงานผ่าตัดในโรงพยาบาลชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • ศิริรัตน์ วัดโคกสูง
  • สุนิสา ชายเกลี้ยง

คำสำคัญ:

การยศาสตร์, ความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ, เมตริกความเสี่ยง, ความเข้มแสงสว่าง, บุคลากรห้องผ่าตัด

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) เพื่อประเมินความเสี่ยงโดยใช้เมตริกการประเมินความเสี่ยงต่อความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อและความเข้มแสงสว่างในสภาพแวดล้อมการทำงานของบุคลากรกลุ่มงานผ่าตัดในโรงพยาบาล จำนวน 68 คน เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามที่สามารถตอบได้ด้วยตนเอง ประกอบด้วยแบบประเมินด้วยตนเองด้านความรุนแรงและความถี่ของอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ (MSFQ) แบบประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์จากท่าทางการทำงานของบุคลากรท่ายืนและท่านั่งทำงานด้วยวิธี REBA และ RULA ตามลำดับ พิจารณาร่วมกันในรูปแบบเมตริกเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ ที่พิจารณาโอกาส (ระดับความเสี่ยงทางการยศาสตร์) และความรุนแรง (ระดับการรับรู้ความรู้สึกไม่สบาย) และตรวจวัดแสงสว่างการทำงาน ผลการศึกษาพบว่า บุคลากรซึ่งเป็นพยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล พนักงานช่วยเหลือคนไข้ พนักงานผ่าตัด และพนักงานทั่วไป มีระดับความรู้สึกไม่สบายของร่างกายสูงสุด คือ ไหล่และหลังส่วนล่างเท่ากัน ร้อยละ 14.7 รองลงมาคือ เข่า ร้อยละ 13.23 และแขนท่อนล่าง เท้าและข้อเท้าเท่ากัน ร้อยละ 8.82  ตามลำดับ ความเสี่ยงทางการยศาสตร์จากท่าทางการทำงานด้วยท่ายืน ส่วนใหญ่อยู่ในระดับ 3 เสี่ยงปานกลาง (ร้อยละ 42.65) และการทำงานด้วยท่านั่ง ส่วนใหญ่อยู่ในความเสี่ยงระดับ 2 เสี่ยงปานกลาง (ร้อยละ 48.53) จากการใช้เครื่องมือประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ REBA และ RULA พบว่ามีความสัมพันธ์เชิงเส้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิเคราะห์ความเสี่ยงโดยเมตริกประเมินความเสี่ยงต่อความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ (MSDs) พบว่า บุคลากรมีความเสี่ยงในระดับสูงมาก (ร้อยละ 51.47) และตำแหน่งของร่างกายที่มีผลความเสี่ยง MSDs ตั้งแต่ระดับเสี่ยงสูงขึ้นไป  คือ หลังส่วนบน หลังส่วนล่าง คอ ไหล่ เข่า และน่อง ตามลำดับ และผลการตรวจวัดความเข้มแสงสว่างในห้องผ่าตัด (OR) จำนวน 11 ห้อง แบบจุดทำงานใช้สายตาเป็นหลัก พบว่า การผลการตรวจวัดแบบจุดในพื้นที่ที่ 1 ค่าความเข้มแสงสว่างผ่านมาตรฐาน ร้อยละ 72.73 ในขณะที่การตรวจวัดในพื้นที่ที่ 2 และ 3 พบว่าผ่านมาตรฐาน เนื่องจากบุคลากรส่วนใหญ่มีความเสี่ยงสูงต่อ MSDs จึงควรมีการให้ความรู้เรื่องท่าทางการทำงานตามหลักการยศาสตร์ โดยบุคลากรที่ต้องยืนทำงานนานๆ ให้มีการจัดเวลาในการพักหรือจัดเก้าอี้กึ่งนั่งกึ่งยืนในงานผ่าตัดต่อเนื่อง เพื่อเป็นการป้องกันผลกระทบด้านโรคทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อที่เกิดจากการทำงาน และการจัดการด้านแสงสว่างในจุดที่ใช้สายตาเพ่งในการทำงานให้เป็นไปตามมาตรฐานเพื่อความปลอดภัยในการทำงานต่อไป

References

Social Security Fund, Situation of experiencing danger or illness due to work Year 2018 - 2022. Available at https://www.sso.go.th/wpr/main/privilege, accessed on 20 February 2024.

Bureau of Occupational and Environmental Diseases the Office of Disease Prevention and Control. Report on the situation of diseases and health hazards from occupations and the environment in 2017. Available at https://ddc.moph.go.th/uploads, accessed on 22 February 2024

Kongprasert K, Chaiklieng S. Health risk assessment of musculoskeletal disorders in electronic industrial workers. Safety & Environment Review 2022; 5(1): 61-67.

Kulwattanapun P, Suwannapong N, Howteerakul N, Tipayamonkholgul M. Job-related Stress among Perioperative Nurses in a Super-tertiary Hospital in Bangkok. Journal of phrapokklao nursing 2018; 29(2): 1-12 (In Thai).

Chaiklieng S. Occupational Ergonomics. Khon Kaen: Khon Kaen University printing house; 2023 (in Thai)

Panikhom C, Chaiklieng S. risk assessment of work-related musculoskeletal disorders among health personal in one private hospital. Safety & Environment Review 2023; 32(1): 22-29 (In Thai).

Hemphälä H, Osterhaus W, Larsson PA, Borell J and Nylén P. Towards better lighting recommendations for open surgery. Lighting Research & Technology 2020; 52(4): 856-882

Chaiklieng S. Health risk assessment on musculoskeletal disorders among potato-chipprocessing workers, PLoS ONE 2019, 14 (12): e0224980. doi: 10.1371/journal.pone.0224980

Pathomkumnird C, Pangpit W, Rukmanee N, Prasertsri J, Ekkasonth N, Tiacharoen P, Kaewrunkam T, Maneewatchararangsri S. Ergonomic risk assessment among staff of Faculty of Tropical Medicine, Mahidol University using Abnormal Index (AI). Thai J Public Health 2020; 50(1): 89-98

Özkan Ayvaz, Bedia Ayhan Özyıldırım, Halim İşsever, Gözde Öztan, Muhammed Atak, and Sevda Özel. Ergonomic risk assessment of working postures of nurses working in a medical faculty hospital with REBA and RULA methods. Science progress 2023; 104(4): 1-21

Yasobant S, Rajkumar P. Health of the healthcare professionals: A risk assessment study on work-related musculoskeletal disorders in a tertiary hospital Chennai India 2015; 5(2):189-195

Donjuntai J, Chaiklieng S. Ergonomics risk assessment among potato-chips processing workers. Safety & Environment Review 2017; 2(1): 8-14

Farahnaz Abdollahzade, Fariba Mohammadi, Iman Dianat, Elnaz Asghari, Mohammad Asghari Jafarabadi, Zahra Sokhanvar. (2016). Working posture and its predictors in operating room nurses. Health Promotion Perspectives. 6(1):17-22. DOI: 10.15171/hpp.2016.03

Pazouki A, Sadati L, Zarei F, Golchini E, Fruzesh R, Bakhtiary J. Ergonomic challenges encountered by laparoscopic surgeons, surgical first assistants, and operating room nurses Involved in minimally invasive surgeries by using RULA method. J Minim Invasive Surg Sci 2017; 6(4) doi: 10.5812/minsurgery.60053.

Department of Labor Protection and Welfare. Announcement of the Department of Labor Protection and Welfare regarding lighting intensity standards 2017. Retrieved 5 May 2024, from http://library.rsu.ac.th/greenoffice/law/law4_2.pdf (in Thai)

Sirisuriyasunthorn S, Chaiklieng S. (2015). Ergonomic risk with neck, shoulder and back pain among computer users at Tambon Health Promoting Hospitals in Maha Sarakham Province. KKU J Public Health Res; 8(3): 54-63.

Detchanthachack K, Pruktharathikul V, Chaiklieng S. Health risk estimation on light exposure in an employee’s work environment of universities, hospital and industrial plants case study at Lao people’s democratic republic. Safety & Environment Review: 2023; 6(2): 92-99.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-27