การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ที่ส่งผลต่อการเกิดความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในพนักงานขับรถสถานีขนส่งสาธารณะ อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • จารุวรรณ นันทะวงษ์
  • สุนิสา ชายเกลี้ยง

คำสำคัญ:

พนักงานขับรถ, การยศาสตร์, ความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ, เมตริกความเสี่ยง

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) เก็บข้อมูลแบบภาคตัดขวาง (Cross sectional study) ทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 30 คน แบ่งเป็นพนักงานขับรถตู้ พนักงานขับรถบัส พนักงานขับรถโดยสารประจำทาง เพื่อประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ที่ส่งผลต่อการเกิดความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในพนักงานขับรถสถานีขนส่งสาธารณะ อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ด้วยวิธี SERFA  และแบบประเมินด้วยตนเองด้านความรุนแรงและความถี่ของอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ (MSFQ) และการประเมินความเสี่ยงต่อความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อโดยเมตริกความเสี่ยงทางอาชีวอนามัย จากการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์จากท่าทางการทำงานของพนักงานขับรถขนส่งสาธารณะ พบว่าพนักงานมีความเสี่ยงปานกลางร้อยละ 53.33 และรองลงมาอยู่ในความเสี่ยงสูงร้อยละ 46.67 และระดับความเสี่ยงจากเมตริกความเสี่ยงทางอาชีวอนามัย ผลพบว่าในพนักงานขับรถขนส่งสาธารณะโดยส่วนใหญ่ความเสี่ยงต่อสุขภาพอยู่ในระดับเสี่ยงสูงโดยคิดเป็น ร้อยละ 56.67 และรองลงมาเป็นระดับความเสี่ยงสูงมากร้อยละ 36.67 และสุดท้ายอยู่ในระดับเสี่ยงปานกลางโดยคิดเป็น ร้อยละ 6.67 แยกตามประเภทของรถ พบว่า พนักงานขับรถบัส มีความเสี่ยงทางการยศาสตร์สูงมากร้อยละ 60.00 พนักงานขับรถตู้ มีความเสี่ยงสูงมาก ร้อยละ 30.00  และพนักงานขับรถโดยสารประจำทาง มีความเสี่ยงสูงมาก ร้อยละ 20.00 ตามลำดับ และหากพิจารณาที่ตำแหน่งของร่างกายที่มีความเสี่ยงมากที่สุด พบว่าพนักงานขับรถขนส่งสาธารณะมีความเสี่ยงสูงสุดที่ ลำตัว ส่วนสะโพกไปจนถึงข้อเท้า และแขนจนถึงข้อมือ จากการประเมินข้างต้นชี้ให้เห็นว่าพนักงานขับรถขนส่งสาธารณะต้องมีมาตรการในการควบคุมป้องกันและแก้ไข ดังนั้นจึงควรมีการปรับเปลี่ยนท่าทางการทำงาน โดยการให้ความรู้เรื่องท่าทางการทำงานตามหลักการยศาสตร์ และมีการปรับปรุงสถานีงานให้มีความเหมาะสมต่อไป

References

Pochana K, Sangkhaphong T. Ergonomic factors affecting musculoskeletal disorders of bus van drivers in the lower southern region of Thailand, Prince of Songkla University (2014)

Saejen N, Pochana K, Sangkhaphong U. Prevalence and basic personal factors affecting abnormal symptoms of the skeletal and muscular system of bus van drivers: a case study of the district bus station. Hat Yai Songkhla Province. KKU Research Journal 2014; 19 (1): 107-18.

Bunton B, Bunkhao L. Prevalence of musculoskeletal pain. and factors related to the musculoskeletal pain syndrome of drivers of minibus minibuses in Ubon Ratchathanee Province. Journal of Science and Technology Mahasarakham University.37(6) (2018). 823-833.

Popanitchakorn P, Tantipanjaporn T. Ergonomic risk assessment and factors related to musculoskeletal disorders from the work of bus drivers. Songtaew Purple Line in Mueang District Phitsanulok Province.Safety and Environment Journal, 3(2),(2018)

Chaikliang S. Occupational Health Ergonomics. Khon Kaen: Khon Kaen University Press, 2566.274 pages.

Chaiklieng S. Work physiology and Ergonomics. Khon Kaen: Khon Kaen University printing house; 2019

Chaiklieng S, Sungkhabut W. Applying the BRIEFTM Survey for ergonomic risks assessment among home workers of hand-operated rebar bender. Arch AHS [Internet]. 2014 Apr. 9 [cited 2024 Apr. 16];26(1):56-6.

Chaiklieng S. (2019). Health risk assessment on musculoskeletal disorders among potato-chip processing workers, PLoS ONE 2019, 14 (12): e0224980. doi: 10.1371/journal.pone.0224980,

Compensation Fund Office Social Security Office Ministry of Labor. (2022). Situation of experiencing danger or illness due to work in 2017-2022.

Transport Statistics Report (2023), Transport Statistics Group, Planning Division, Department of Land Transport.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-27