การศึกษาทางด้านการยศาสตร์เพื่อประเมินความเสี่ยง และความชุกของความผิดปกติทางระบบโครงร่าง และกล้ามเนื้อของพนักงานผูกเหล็กในโครงการก่อสร้างแห่งหนึ่ง ของจังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • ศรัณยู คำกลาง
  • สิทธิชัย สิงห์สุ

คำสำคัญ:

พนักงานผูกเหล็ก, การประเมินความเสี่ยง, ความชุกอวัยวะบาดเจ็บ

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินท่าทางการทำงานของคนงานก่อสร้าง ประเมินระดับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการทำงาน และศึกษาความชุกของอวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บจากงานก่อสร้าง ของพนักงานผูกเหล็ก ในโครงการก่อสร้างแห่งหนึ่งของ จังหวัดชลบุรี วิจัยแบบตัดขวาง (Cross-sectional Descriptive Study) เป็นการศึกษา ณ จุดเวลาหรือช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ทำการเก็บข้อมูลเพียงครั้งเดียว โดยมีจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ผ่านเกณฑ์คัดเข้าทั้งหมด 44 คน ผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่า จากการวิเคราะห์การทำงานเพื่อตรวจสอบและประเมินทางการยศาสตร์ ด้วยวิธีการ Rapid Entire Body Assessment (REBA)  โดยพนักงานผูกเหล็กในโครงการก่อสร้างมีท่าทางของการยศาสตร์ ผลลัพธ์มีคะแนนเท่ากับ 12 ซึ่งหมายถึงต้องได้รับการความเสี่ยงสูงมาก ควรปรับปรุงทันที  และจากใช้แบบสอบถาม Nordic musculoskeletal questionnaire (NMQ) พบว่า มีอวัยวะของการเคลื่อนไหวของพนักงานผูกเหล็ก มีอาการบาดเจ็บในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา และอวัยวะที่บาดเจ็บมากสุดคือหลังส่วนล่าง จำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ (47.73) และมีอาการบาดเจ็บในช่วง 7 วันที่ผ่านมา และอวัยวะที่บาดเจ็บมากสุดคือ คอ จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ (11.36) ดังนั้น ผลการศึกษาในครั้งนี้สามารถใช้้เป็นพื้นฐานในการต่อยอดด้านการปรับปรุงสภาพงาน เพื่อลดความเสี่ยงทางด้านการยศาสตร์ และเป็นแนวทางในการออกแบบทางวิศวกรรมหรือการปรับปรุงวิธีการทำงานซึ่งช่วยแก้ปัญหาเรื่องสุขภาวะอนามัยในการทำงานของพนักงานผูกเหล็กในโครงการก่อสร้างต่อไป

References

Office of the Economic Development Council and national society in 2022; Available from: https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/Construction-Construction-. (In Thai).

Compensation Fund Office, Social Security Office. Workmen's compensation fund statistics in 2018 – 2022 ; Available from:https://www.sso.go.th/wpr/assets/upload/files_storage/sso_th/84b88f068b29c808bf3efe33028022. (In Thai).

Hignett, S., & McAtamney, L. Rapid entire body assessment (REBA). Applied ergonomics, 2020;31(2), 201-205.

Krejcie RV & Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 1970;30(3):607-10.

Jongkoli P. The workload assessment in building construction activities. Srinagarind Med J. 2013;26(4):317-324. Available from: http://sutir.sut.ac.th:8080/jspui/bitstream/123456789/5356/2/Fulltext.pdf (in Thai)

Phonkot P, Taudom T, Wansri W. The assessment of ergonomics and fatigue risks from the work of construction workers at The One Project. Chalermkanchana Academic Journal, 2020;7(2), 16-16. (in Thai)

Chatmuangpak A. The assessment of workload in building construction activities. Department of Industrial Engineering, Suranaree University of Technology, Nakhon Ratchasima. 2012. Available from: http://sutir.sut.ac.th:8080/sutir/bitstream/123456789/4134/2/Fulltext.pdf (in Thai)

Sankhabut W, Chaiklieng S. Prevalence of Musculoskeletal Disorders Among Informal Sector Workers of Hand-Operated Rebar Bender in Non-Sung District of Nakhon Ratchasima Province. KKU Research Journal (Graduate Studies), 2013, 9. Dagur, A. S. Evaluation Of Risk Related To Musculoskeletal Disorders On Building Construction Sites, 2016. PhD Thesis. MNIT Jaipur.

Cheraghi, M., Shahrabi-Farahani, M., & Moussavi-Najarkola, S. A.Ergonomic risk factors evaluation of work-related musculoskeletal disorders by PATH and MMH in a construction industry. Iranian Journal of Health, Safety and Environment, 2019;6(1), 1175-1189.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-27