การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์และความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ ของเกษตรกรผู้ใช้รถแทรกเตอร์ในกิจกรรมทางการเกษตร: กรณีศึกษาตำบลแวง อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • อนุสิทธิ์ ศรีพันธ์
  • สุนิสา ชายเกลี้ยง

คำสำคัญ:

การยศาสตร์, ความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ, เมตริกความเสี่ยง MSDs, เกษตรกรใช้รถแทรกเตอร์

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์และความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของเกษตรกรผู้ใช้รถแทรกเตอร์ในกิจกรรมทางการเกษตร ในกลุ่มตัวอย่างเป็นกรณีศึกษาตำบลแวง อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 30 คน โดยใช้แบบประเมินความรุนแรงและความถี่ของอาการทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ Musculoskeletal Disorders Severity and Frequency Questionnaire (MSFQ) แบบประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ด้วยวิธีการประเมินปัจจัยการยศาสตร์เบื้องต้น (SERFA) และเมตริกประเมินความเสี่ยงต่อความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อจากการทำงาน ที่พิจารณาโอกาส (ระดับความเสี่ยงทางการยศาสตร์) และความรุนแรง (ระดับการรับรู้ความรู้สึกไม่สบาย) ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรผู้ใช้รถแทรกเตอร์มีระดับความรู้สึกไม่สบาย ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาของร่างกายสูงสุด คือ คอ ไหล่ หลังส่วนล่าง เข่า น่อง เท้าและข้อเท้า ความเสี่ยงทางการยศาสตร์ด้วยวิธีการยศาสตร์ SERFA พบว่า ส่วนใหญ่มีระดับความเสี่ยงในระดับปานกลางมากที่สุดอยู่บริเวณ รยางค์ส่วนบน และ รยางค์ส่วนล่าง เก้าอี้คนขับ โดยภาพรวมนั้นไม่เหมาะสมกับสัดส่วนของร่างกายของเกษตรกรผู้ขับรถแทรกเตอร์ การประเมินโดยเมตริกความเสี่ยงต่อความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ พบว่า ระดับความรู้สึกไม่สบาย Neck (คอ) อยู่ในระดับ 1 ร้อยละ 68.75 ระดับความรู้สึกไม่สบาย หลังอยู่ในระดับ 2 ร้อยละ 50.00 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) กับการเกิด MSDs ประกอบด้วย อายุการใช้งานของผู้ครอบครองรถแทรกเตอร์ และจำนวนไร่ของการใช้รถทางการเกษตรต่อปี และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการยศาสตร์ต่อความเสี่ยงการเกิด MSDs อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือบริเวณลำตัว (หลัง) และรยางค์ส่วนล่าง ดังนั้นจึงมีประโยชน์ต่อไปในการนำปัจจัยเหล่านี้ไปศึกษาเชิงลึกเพื่อป้องกันความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของเกษตรกรต่อไป

References

Division of Land Use Policy and Planning, Department of Land Development. Thailand agricultural land. Bangkok: Ministry of Agriculture and Cooperatives; 2022.

Division of Occupational and Environmental Diseases Occupation in the agricultural sector. Nonthaburi: Ministry of Public Health; 2014.

Setthetham D., Nathapindhu G., Ishida W. and Patte T. Risk behavior and factors affecting to health in rice farmers. KKU Journal for Public Health Research 2016; 6(2): 4-12.

Phanwong W, Pintakham K. Occupational Health Hazards of Thai Rice Farmers: The case Study of Rice Farmers in Ban Du Sub-district, Muang District, Chiang Rai Province. Kasalongkham Research Journal 2017; 11(3): 125-33.

Thiamthan C, Rakprasit J. Health status and factors associated with health status Among sugarcane farmers, kranuan district, khonkaen province. The official Journal of Occupational Health and Safety at Work Association (OHSWA) 2019; 4(2): 83-91.

Ban Nong Saeng Thung Health Promoting Hospital. Survey of tractor users in Waeng Subdistrict, Phon Thong District, Roi Et Province. Ban Nong Saeng Thung Health Promoting Hospital; 2023.

Chaiklieng S. Health risk assessment on musculoskeletal disorders among potato-chip processing workers. PLoS ONE 2019; 14 (12): e0224980. doi: 10.1371/journal.

Chaiklieng S. Occupational Ergonomics. Khon Kean: Khon Kean University printing house, 2023.

Thonhongsa P, Treerattrakoon A, Ratana-arporn L. Whole body vibration assessment of warehouse forklift driver. Kasetsart Engineering Journal. 2015; 29(95): 63-70.

Bordignon M et al. (2018). Evaluation of agricultural tractor seat comfort with a new protocol based on pressure distribution assessment. Journal of Agricultural Safety and Health. 24(1): 13-26. (doi: 10.13031/jash.12209)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-27