การประเมินความเสี่ยงจากการทำงาน: กรณีศึกษาการประกอบปืนจุดไฟ อ.แม่สาย จ.เชียงราย

ผู้แต่ง

  • นปภา ฟองเขียว
  • คามินทร์ ตาแสงสา
  • กุสุมา ปฏิเวทย์
  • สุรเสกข์ เมืองนก
  • ณิชานันท์ เตรียมวัฒนา
  • ภาณุพงศ์ เรืองวิจิตร
  • รัฐนันต์ เนตรสัก
  • ศิริวรรณ กันติสินธุ์

คำสำคัญ:

การประเมินความเสี่ยง, JSA, RULA

บทคัดย่อ

          การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงจากการทำงานในพนักงานโรงงานผลิตปืนจุดไฟ และประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ ในกระบวนการผลิตปืนจุดไฟ จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม แบบประเมินความเสี่ยง การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย (Job Safety Analysis: JSA) และแบบประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์เทคนิค Rapid Upper Limbs Assessment (RULA) โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ผลการประเมินความเสี่ยงด้วยเทคนิค JSA พบว่าระดับคะแนนความ เสี่ยงสูงสุด (ระดับ 4) ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้ ต้องหยุดดำเนินการและปรับปรุงแก้ไขเพื่อลดความเสี่ยง ลงทันที ได้แก่ อันตรายด้านความปลอดภัย คือ อันตรายจากก๊าซบิวเทนที่ใช้เติมปืนจุดไฟทําให้เกิดเพลิงไหม้ หากมีสะเก็ดไฟ นอกจากนี้ผลการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ด้วย RULA พบว่า พนักงานประกอบปืน จุดไฟส่วนใหญ่มีระดับความเสี่ยงทางการยศาสตร์ในความเสี่ยงระดับที่ 3  ความเสี่ยงสูงที่ควรตรวจสอบและอาจ ต้องแก้ไขโดยเร็ว คิดเป็นร้อยละ 64 ซึ่งเกิดจากการมีท่าทางการทางานที่มีการเอื้อมแขนหรือมือสลับข้างการบิด เอี้ยวลำตัวและก้มโค้งลำตัวไปข้างหน้า รองลงมาคือ ความเสี่ยงระดับ 4 ร้อยละ 20 และความเสี่ยงระดับ 2 ร้อยละ 16 จากข้อมูลดังกล่าวสามารถใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงกระบวณการทำงานและออกแบบสถานีการทำงานที่ ปลอดภัยเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพที่เกิดขึ้นในระยะยาว

References

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สรุปผลการสำรวจ ภาวการณ์ทำงานของประชากร 2567. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 22 มีนาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก http://www.nso.go.th.

ตะวัน วรรณรัตน์. การศึกษาแรงงานนอกระบบในประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร. 2557;34(3): 119-50.

สำนักงานประกันสังคม. สถานการณ์สถิติการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ปี 2561-2565 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 5 เมษายน 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.sso.go.th/wpr/assets/upload/files_storage/sso_th/102220b2a37b7d0ea4eab82e6fab4741.pdf

สำนักงานประกันสังคม. สถานการณ์สถิติการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ปี 2560-2564 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 5 เมษายน 2567].เข้าถึงได้จาก:https://www.sso.go.th/wpr/assets/ upload/files_storage/sso_th/84b88f068b29c808bf3efe3302802234.pdf

คณะทำงานจัดทำแนวทางปฏิบัติการบงชี้อันตรายด้วยวิธี Job Safety Analysis (JSA). แนวทางปฏิบัติการบงชี้อันตรายด้วยวิธี Job Safety Analysis (JSA). สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 5 เมษายน 2567].เข้าถึงได้จาก: https://www.tosh.or.th/index.php/media-relations/e-book/item/download/683_21ca7a87e648b6573d3deae800d1ecb7

Bernard, BP. Musculoskeletal disorders and workplace factors: Critical review of epidemiology evidence for work-related musculoskeletal disorders of the neck, upper extremity and low back factors [serial online] 1997 July [Cited 2024 April 9]. Available from: URL: https://stacks.cdc.gov/view/cdc/21745.

กิตติ อินทรานนท์. การยศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2548.

McAtamney L, Corlett, EN. RULA: a survey method for the investigation of world-related upper limb disorders. Applied Ergonomics 1993; 24: 91-9.

ทศพล บุตรมี. เครื่องมือประเมินปัจจัยเสี่ยงด้านการยศาสตร์จากการทำงาน. วารสารควบคุมโรค. 2559;42(1):11-4.

สุนิสา ชายเกลี้ยง, อารยา ปานนาค. การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพต่อการปวดไหล่ในพนักงานผลิตและประกอบชั้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. 2560; 47(2): 212-221.

จันทิมา ดรจันทร์ใต้, สุนิสา ชายเกลี้ยง. การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ของพนักงานใน กระบวนการผลิตมันฝรั่งทอดกรอบ. วารสารความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม. 2560;2(1):8-14.

รัชนี จูมจี, คมสันต์ ธงชัย, วิลาวัณย์ ชาดา, เพ็ญมาศ สุคนธจิตต์, จุฬาพร คารัตน์, คุณากร บุตรชัย. การประเมินความเสี่ยงจากการทำงานในแรงงานนอกระบบกลุ่มเย็บผ้า กรณีศึกษา ตำบลไผ่ใหญ่ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี.วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 2566;12(2):15-25.

อนิรุจน์ มะโนธรรม. ศักยภาพด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานของแรงงานเซรามิก โครงการพระราชดำริบ้านทุ่งจี้ จังหวัดลำปาง. วารสาร เทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 2560;7(2):176-193.

Chaiklieng S. Health risk assessment on musculoskeletal disorders among potato-chip processing workers. PLoS One. 2019 Dec 3;14(12):e0224980.

สำนักงานเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2558). คู่มือการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ความเสี่ ยง จากอันตรายที่อาจเกิดจากการประกอบกิจการโรงงาน, สืบค้น 1 ตุลาคม 2556. เข้าถึงได้จาก http://reg3.diw.go.th/safety/wp.content/uploads/2015/01/43_1_2.pdf

ขนิษฐา มีวาสนา, พัณณิตา กมลกลาง, กุลภัทร กำแพงใหญ่, วริศรา งิ้วเรือง, ชลนิดา ดุงสูงเนิน, ศิริรัตน์ มีใบลา, อรวรรณ ล้ำเลิศ, ณัฐพิชญ์ รัตนโชติเรืองสุข, และ เฉลิมสิริ เทพพิทักษ์. การประเมินความเสี่ยงทาง การยศาสตร์และปรับปรุงสถานีงานสำหรับกลุ่มแรงงาน ทำไม้กวาดดอกหญ้า ตำบลบิง อำเภอโนนสูง จังหวัด นครราชสีมา. วารสารการยศาสตร์ไทย. 2563;3(2):23-31.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-27