ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความเครียดของตำรวจ: กรณีศึกษาสถานีตำรวจ แห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • ทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ธีรานันท์ นาคใหญ่
  • กัมปนาท สิงห์ทอง
  • จารุวิทย์ บุตรศรี
  • ปริณาห์ แว่นแก้ว
  • นันทพร ภัทรพุทธ

คำสำคัญ:

ความเครียด, ภาระงาน, ตำรวจ

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านการทำงาน กับระดับความเครียดของตำรวจ สถานีตำรวจภูธรแสนสุข จังหวัดชลบุรี จำนวน 93 คน การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 21-35 ปี ระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี รายได้ 20,001-30,000 บาท/เดือน ไม่มีโรคประจำตัว ด้านภาระงานและบทบาทหน้าที่ในองค์กรส่วนใหญ่ (มากกว่าร้อยละ 60) อยู่ในระดับปานกลาง สัมพันธภาพระหว่างบุคคลส่วนมาก (ร้อยละ 47) อยู่ในระดับน้อย ความสำเร็จก้าวหน้าในอาชีพและระดับภาวะความเครียดส่วนมาก (มากกว่าร้อยละ 45) อยู่ในระดับปานกลาง ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการทำงานโดยรวม กับระดับภาวะความเครียดของตำรวจ พบว่าปัจจัยด้านการทำงานโดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กับระดับภาวะความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.796, p <0.001) ดังนั้น ควรมีการปรับสภาพการทำงานหรือภาระงานให้มีความเหมาะสมในแต่ละบทบาทหน้าที่ กำหนดปริมาณงานให้มีความเหมาะสม เพื่อลดภาวะความเครียดของตำรวจ ควรมีกิจกรรมสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคลากร และสร้างแรงจูงใจในการทำงานเพื่อสนับสนุนให้มีความก้าวหน้าในอาชีพ

References

Chuaybumrung, K. Work stress of the police officer in the southern border provincer: a case study of mueang narathiwat police station [Thesis]. Songkla: Prince Songkla University; 2018. (In Thai)

Jitratorn J (2024). Stress. Faculty of Medicine. Ramathibodi Hospital, Mahidol University. [Cited 2024 Aug 14]; Available from: https://www.rama.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/general/ 05142014-1901 (In Thai)

Chintanapamote K, & Sittisarunkul P. Physiology of stress in the aspect of job and coping in medical professional. Journal of Medical Health Science 2019; 26(2): (In Thai)

Chayabutr C. Basic learning textbook: civic duties, culture and life in society. Bangkok: Wattanapanich; 2003. (In Thai)

Khamun N. The rate of suicide and risk factors for police officer suicide. RPCA Journal of Criminology and Social Sciences 2022; 4(1): 50-70. (In Thai)

Krejcie R V, & Morgan D W. Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement 1970; 30(1): 607-610.

Anantanatorn A. Stress and tension management of police officers in the provincial region 2. Journal of politics, administration and law 2017; 9(3): 137-171. (In Thai)

Best W. Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall, Inc; 1977.

Department of Mental Health. Stress test questionnaire (SPST-20). [Cited 2024 Apr 8]; Available from: http://www.kkhos.com/kkhos/data_office/SPST20.pdf

Ratchapakdee P, Duangkulsa J, Lanthomhleung T, Laokaew T, Srisuk K, Pisut J, et al. Stress, factors influencing stress, and stress management of the border patrol police 24. Udonthani Hospital Medical Journal 2021; 29(1): 38-50. (In Thai)

Palahong A, Santawan T. Job stress of employee Bang Mun Nak municipality, Bang Mun Nak district, Phichit province. Journal of graduate studies in Northern Rajabhat Universities 2015; 5(9): 119-134. (In Thai)

Jitsupaphan K. Work stress factory that affect the work efficiency of it company staff in bangkok metropolitan [Thesis]. Bangkok: Srinakharinwirot University; 2020. (In Thai)

Frank J, Lambert E, Qureshi H. Examining police officer work stress using the job demands–resources model. Journal of contemporary criminal justice 2017; 33(2): 2-20.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-26