ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถภาพปอดของนักดับเพลิง ในพื้นที่อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี
คำสำคัญ:
สมรรถภาพปอด, นักดับเพลิง, พฤติกรรมสุขภาพ, สภาพการทำงานบทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคล พฤติกรรมด้านสุขภาพ และปัจจัยด้านสภาพการทำงานกับสมรรถภาพปอดของนักดับเพลิง ในอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี โดยรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 52 คน ด้วยแบบสอบถาม และเครื่องทดสอบสมรรถภาพ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ ด้วยไคสแควร์ และสหสัมพันธ์เพียร์สัน
ผลการศึกษา พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถภาพปอดมีดังนี้ การออกกำลังกาย (p<0.01) จำนวนมวนบุหรี่ที่สูบต่อสัปดาห์ (p<0.001) ความถี่ในการเข้าผจญเพลิง (p<0.01) ระยะเวลาการผจญเพลิง (p<0.05) และประสบการณ์การทำงาน (p<0.05) จากการศึกษานี้ควรมีการเฝ้าระวังทางสุขภาพของนักดับเพลิง ส่งเสริมให้มีออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น คาร์ดิโอ แอโรบิก หรือการเล่นกีฬา รวมถึงสนับสนุนให้งดสูบบุหรี่ และควรจัดหาอุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจให้เหมาะสมและเพียงพอกับการปฏิบัติงาน
References
กันต์ธสิทธิ์ พิมพ์สอาด, กีรติ ศรีประไหม. (2562). วิชาชีพดับเพลิงและกู้ภัย. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง, 2563 (ฉบับเพิ่มเติม), 172-176
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. (2567). สถิติร้อยละการเกิดสาธรณภัยรายปี. https://dpmreporter.disaster.go.th/portal/disaster-statistics.
สกุลพร สงทะเล, แอนน์ จิระพงษ์สุวรรณ, สุคนธา ศิริ, สุรินธร กลัมพากร. (2561). สมรรถภาพปอดและปัญหาระบบทางเดินหายใจของพนักงานดับเพลิง กรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 32(1), 45-58.
ศิริพร ด่านคชาธาร, จันจิรา มหาบุญ, มุจลินท์ อินทรเหมือน, มัตติการ ยงประเดิม, จักรพงษ์ อินพรม, จินตนา พืชผล และ ชุนณีย์ สือแต. (2561). ภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงานของพนักงานดับเพลิง จังหวัดนครศรีธรรมราช. พยาบาลสาร, 45(4). 111-120.
Rakkamon, T., Na-songkhla, T., Chuchuag, V.& Issara, O. (2015). Factors associated with pulmonary function among workers exposing ammonia from fresh natural latex purchasing process at Rubber Holder Cooperative in Southern, Thailand. Disease Control Journal, 41(4), 285-296.
ศิริอร สินธุ, อุมาภรณ์ กำลังดี และรวมพร คงกำเนิด. (2554). ผลของการสัมผัสควันต่อสมรรถภาพปอดของประชาชนวัยผู้ใหญ่ที่อาศัยในชุมชน. วารสารสภาการพยาบาล, (26)3, 93-106.
พลอยไพลิน คล้ายคลึง, สุนิสา ชายเกลี้ยง และยุพรัตน์ หลิมมงคล. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลตรวจสมรรถภาพปอดของพนักงานอุตสาหกรรมผลิตเยื่อกระดาษ. วารสารพิษวิทยาไทย, 36(2), 24-25.
นัยรัตน์ ครองชนม์, กาญจนา พิบูลย์ และ ธรรมวัฒน์ อุปวงศาพัฒน์. (2560). ประสิทธิผลของโปรแกรมการออกกำลังกายไทเก็กต่อการรับรู้ความสามารถ พฤติกรรมการออกกำลังกายและสมรรถภาพปอดของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารกรมการแพทย์, 42(4). 89-98.
มนัส รงทอง และ ไอยเรศ บุญเกิด. (2564). ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถภาพปอดของผู้ประกอบอาชีพขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้าง ในอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. ประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 (มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครปฐม). ระหว่างวันที่ 8-9 กรกฎาคม 2564. 2747-2755.
สุปราณี คุณร้าน, นันทพร ภัทรพุธ, ทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถภาพปอดของพนักงานโรงสีข้าว. วารสารความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม, 4(2), 92-99.
ดวงเดือน ฤทธิเดช, สุนิสา ขวัญกล้า, ทัศนีย์ แมลงทับทอง, ขนิษฐา พรหมเทวา. (2565). พฤติกรรมการสูบบุหรี่ และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถภาพปอดในกลุ่มพนักงานที่สูบบุหรี่ในสถานประกอบการเอกชน จังหวัดระยอง. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 10(4). 49-63.
จินต์จุฑา ภานุมาสวิวัฒน์. (2563). ผลของการสัมผัสมลพิษอากาศต่อระบบทางเดินหายใจ และสมรรถภาพปอดในพนักงานขับรถโดยสารรับจ้างสาธารณะในจังหวัดเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์]. Chula Digital Collections.https://digital.car.chula.ac.th/cgi/viewcontent.cgi?article=5176&context=chulaetd
Witt M, Goniewicz, Pawlowski W, Goniewicz K,Biczysko W. (2014). Analysis of the impact of harmful factors in the workplace on functioning of the respiratory system of firefighters. Annals of Agricultural and Environmental Medicine. 24(3), 406-10.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.