ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเสี่ยงสูงต่อสุขภาพจากการรับสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกรพืชสวนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประเทศไทย
คำสำคัญ:
เกษตรกรพืชสวน, เมตริกความเสี่ยงทางอาชีวอนามัย, ปัจจัยการสัมผัส, สารเคมีกำจัดศัตรูพืชบทคัดย่อ
การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการรับสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรปลูกพืชสวน กลุ่มตัวอย่างเป็นเกษตรกรพืชสวน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จำนวน 383 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง ประเมินความเสี่ยงโดยอาศัยเมตริกความเสี่ยงทางอาชีวอนามัย และวิเคราะห์หาปัจจัยเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยใช้สถิติพหุถดถอยลอจีสติก ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 87.80 อายุเฉลี่ย 54 ปี ทำการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเอง ร้อยละ 73.17 มีความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ระดับปานกลางขึ้นไป ร้อยละ 8.35 และพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความเสี่ยงสูงต่อการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช คือ เกษตรกรผู้ที่ใช้สารปริมาณการสูงกว่า 500 ลูกบาศมิลลิเมตรต่อปี (ORadj=3.35; 95%CI: 1.27-8.79) และมีปัจจัยด้านพฤติกรรมในการป้องกันตนเองที่ระดับต่ำหรือปานกลาง (ORadj=10.20; 95%CI: 4.62-16.26) ได้แก่ การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชฉีดพ่นโดยมีเสื้อผ้าเปียกชุ่มปนเปื้อนสาร ดังนั้นผลการศึกษานี้สามารถนำไปใช้ในการเฝ้าระวังวางแผนป้องกันการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรด้วยการส่งเสริมการลดปริมาณการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและการใช้ชุดอุปกรณ์ป้องกันตนเองสารเคมีขณะฉีดพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรผู้ที่ฉีดพ่นสารเคมีต่อไป
References
กรมวิชาการเกษตรสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. ปริมาณและมูลค่าการนำเข้าวัตถุอันตรายทาง 2561. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2564, จาก http://oldweb.oae.go.th/economicdata.
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. แบ่งประเภทพืชที่ปลูกในประเทศไทย 2564. สืบค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2565, จาก https://data.moac.go.th.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร.ข้อมูลเศรษฐกิจเกษตร 2562. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2565, จาก https://www.oae.go.th.
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม.โรคจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ปี 2560. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2564. จาก http://envocc.ddc.moph .go.th.
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม.โรคจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ปี 2559. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2564. จาก http://envocc.ddc.moph .go.th.
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. โรคจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ปี 2561. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2564. จาก http://envocc.ddc.moph.go.th.
สุนิสา ชายเกลี้ยง, สัญญา พึงสร้างแป้น, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ, กรรณิการ์ ตฤณวุฒิพงษ์. การรายงานข้อมูลโรคพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร: กรณีศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสำนักงานป้องกัน และควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2563; 27(3): 52-64.
กชกร อึ่งชื่น และสุนิสา ชายเกลี้ยง. การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการผิดปกติในเกษตรกรฉีดพ่นไกลโฟเสต จังหวัดขอนแก่น. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ 2563; 13(1). 61-70.
สุนิสา ชายเกลี้ยง. พิษวิทยาสาธารณสุข. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2557
สุนิสา ชายเกลี้ยง. การเฝ้าระวังสุขภาพในสถานที่ทำงาน. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2562
กนกกาญจน์ เขาเขจร จุฑามาศ ฉากครบุรี และสุนิสา ชายเกลี้ยง. การประเมินความเสี่ยงต่อการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประเทศไทย. วารสารความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม 2565;5(1):15-29
กนกกาญจน์ เขาเขจร และสุนิสา ชายเกลี้ยง. การประเมินความเสี่ยงทางอาชีวอนามัยต่อการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประเทศไทย. วารสารสำนักงานควบคุมป้องกันโรคที่ 7. 2566;30(1):152-164.
Hosmer DW Jr, Lemeshow S. Goodness-of-fit tests for the multiple logistic regression model. Communications in Statistics-Theory and Methods 1980; 9: 1043–1069.
กองโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์โรค NCDs 2562. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2565, จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1035820201005073556.pdf.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.