ความเสี่ยงจากท่าทางการทำงานของคนงานขนสินค้า ณ ตลาดแห่งหนึ่ง ในอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • จีราพร ทิพย์พิลา

คำสำคัญ:

ความเสี่ยงจากท่าทางการทำงาน, การยศาสตร์, คนงานขนสินค้า

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงจากท่าทางการทำงานของคนงานขนสินค้า ณ ตลาดแห่งหนึ่ง ในอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ประกอบด้วยการประเมินท่าทางการทำงานทั้งร่างกาย การประเมินการยกเคลื่อนย้ายสินค้า และการศึกษาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์และแบบประเมินทางด้านการยศาสตร์ ประเมินท่าทางร่างกายทั้งลำตัว (Rapid Entire Body Assessment (REBA) และประเมินการยกตามแบบ NIOSH Lifting Analysis Worksheet กลุ่มตัวอย่างคือคนงานรับจ้างขนส่งสินค้าในตลาดแห่งหนึ่ง จำนวน 91 คน วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ค่าความความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุด

           ผลการศึกษาความเสี่ยงจากท่าทางการทำงานของคนงานขนสินค้าพบว่า ผลการประเมินความเสี่ยงร่างกายทั้งลำตัว (Rapid Entire Body Assessment (REBA) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเสี่ยงในการทำงานอยู่ในระดับความเสี่ยงสูง รองลงมาคือระดับความเสี่ยงปานกลาง และระดับความเสี่ยงน้อย ร้อยละ 49.5 48.3 และ 2.2 ตามลำดับ และผลการประเมินการยกตามแบบ NIOSH Lifting Analysis Worksheet พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีผลการประเมินทั้งค่า Origin Lift Index และค่า Destination Lift Index อยู่ในระดับ ควรปรับเปลี่ยนการจัดการ ร้อยละ 74.7 ในด้านอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีการรู้สึกเจ็บปวดกล้ามเนื้อระหว่างการทำงานหรือหลังเลิกงาน โดยบริเวณร่างกายที่รู้สึกมีอาการปวดเมื่อยจำนวนมากที่สุด 3 อันดับแรกได้แก่ ไหล่ขวา ไหล่ซ้าย และหลังส่วนล่างขวา คิดเป็นร้อยละ 53.8 52.8 และ 50.6 ตามลำดับ จากผลการศึกษามีข้อเสนอแนะต่อกลุ่มคนงานรับจ้างขนส่งสินค้าควรปรับเปลี่ยนหมุนเวียนหน้าที่การทำงาน รวมถึงควรจัดให้มีการส่งเสริมให้มีกิจกรรมผ่อนคลายกล้ามเนื้อในการทำงาน การอบรมให้ความรู้เรื่องท่าทางการทำงานที่ถูกต้อง

References

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สรุปผลการสำรวจ ภาวะการทำงานของประชากร. 2557. [เข้าถึงเมื่อ 14 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก http://www.nso.go.th

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.ภาวะสังคมไทยไตรมาสหนึ่ง ปี 2565. [เข้าถึงเมื่อ 10 กรกฎาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=5492

ยุพยง หมั่นกิจ, กติกา สระมณีอินทร์. การศึกษาอาการปวดเมื่อยโครงร่างและกล้ามเนื้อของพ่อค้าส่งผลไม้ ตลาดเจริญศรี อำเภอวาริน

ชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2561; 20(3): 180-88.

อรรถพล แก้วนวล, บรรพต โลหะพูนตระกูล, และกลางเดือน โพชนา. ความชุกของความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานในอาชีพต่างๆ. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา. 2560; 12(2); 53-64.

กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์โรคและภัยสุขภาพจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ปี2561. 2561. [เข้าถึงเมื่อ 10 กรกฎาคม 2565]. เข้าถึงได้จากhttp://envocc.ddc.moph.go.th/uploads/situation2/2561/2561_01_envocc_situation.pdf

จันจิราภรณ์ วิชัยและ สุนิสา ชายเกลี้ยง. การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ ในพนักงานที่มีการยกเคลื่อนย้ายวัสดุ. ขอนแก่น, 2557 KKU Res. J.; 19(5): 708-19.

สุนิสา ชายเกลี้ยง. การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์การทำงานโดยมาตรฐาน RULA ในกลุ่มแรงงานทำไม้กวาดร่มสุข ขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2554; 26(1): 35-40.

นงลักษณ์ ทศทิศ รุ้งทิพย์ พันธุเมธากุล. วิชัย อึงพินิจพงศ์, พรรณี ปึงสุวรรณ. ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับอาการปวดคอ ปวดไหล่ ในกลุ่มอาชีพตัดเย็บ อำเภอบ้านไผ่ ขอนแก่น. วารสารกายภาพบำบัด. 2553; 32(3): 162-172.

น้ำเงิน จันทรมณี, สสิธร เทพตระการพร, ผกามาศ พิริยะประสาธน์. ปัญหาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อจากการทำงานของกลุ่มอาชีพการทอผ้าด้วยมือในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ. 2557. 7(24); 29-40

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-22