ความเสี่ยงทางการยศาสตร์และสภาพแวดล้อมการทำงานด้านแสงสว่างในโรงงานอุตสาหกรรมผลิต และประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

ผู้แต่ง

  • พรไพลิน ทิศอุ่น
  • สุนิสา ชายเกลี้ยง

คำสำคัญ:

การยศาสตร์, ความล้า, RULA, REBA, ROSA, แสงสว่าง

บทคัดย่อ

          โรงงานอุตสาหกรรมผลิตและประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์มีกระบวนการทำงานประกอบด้วยขั้นตอนการทำงานที่พนักงานต้องมีการนั่ง หรือยืนทำงานซ้ำๆ เป็นเวลานาน รวมทั้งสภาพแวดล้อมด้านแสงสว่างที่ไม่เหมาะสมในการทำงานซึ่งใช้สายตาในงานตรวจสอบ เป็นปัจจัยคุกคามด้านการยศาสตร์ต่อโรคทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตและประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์แห่งหนึ่งในภาคเหนือนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ของพนักงานและแสงสว่างในการทำงานทั้งองค์กรจำนวนทั้งหมด 26 กลุ่มงาน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ด้วยเทคนิค Rapid Upper Limbs Assessment (RULA), Rapid Entire Body Assessment (REBA) และ Rapid Office Strain Assessment (ROSA) ที่เหมาะสมตามลักษณะงาน วัดความเข้มของแสงสว่างในการทำงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์โดย RULA พบว่า ส่วนใหญ่พนักงานมีระดับความเสี่ยงทางการยศาสตร์ในความเสี่ยงระดับที่ 2 ความเสี่ยงปานกลางที่ควรตรวจสอบและอาจต้องแก้ไข ร้อยละ 53.66 ซึ่งเกิดจากการมีท่าทางการทำงานที่มีการเอื้อมแขนหรือมือสลับข้าง การบิดเอี้ยวลำตัว และก้มโค้งลำตัวไปข้างหน้าขณะทำงาน ผลความเสี่ยงทางการยศาสตร์โดย REBA พบว่า ส่วนใหญ่พนักงานมีระดับความเสี่ยงทางการยศาสตร์ในความเสี่ยงระดับที่ 4 ความเสี่ยงสูง ควรวิเคราะห์เพิ่มเติมและควรรีบปรับปรุง ร้อยละ 66.67 ซึ่งมีท่าทางการทำงานที่ต้องยืนตลอดเวลาการทำงาน และท่าทางที่ต้องยกแขน มีการหมุนข้อมือ และออกแรงในการดึงเส้นลวด ผลความเสี่ยงทางการยศาสตร์โดย ROSA ในงานสำนักงานพบว่าทั้งหมดมีความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และผลการวัดตรวจความเข้มของแสงสว่างแบบพื้นที่ พบว่าไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานคิดเป็นร้อยละ 90.00 และผลการวัดแสงสว่างแบบเฉพาะจุดไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานคิดเป็นร้อยละ 27.22 พบในกระบวนการพันลวดไม่ใช้เครื่อง ร้อยละ 57.69 ซึ่งพนักงานในกระบวนการนี้มีความล้าของร่างกายส่วนใหญ่ที่ตำแหน่งมือและข้อมือ ร้อยละ 71.43  หลังส่วนบน ร้อยละ 57.14  และหลังส่วนล่าง ร้อยละ 57.14 ตามลำดับ และภาระงานทางจิตใจ (SWI) พบสูงสุดในพนักงานพันลวดโดยไม่ใช้เครื่อง มีระดับความรู้สึกไม่สบายมาก มีความเจ็บปวด ควรมีการแก้ไขทันที ร้อยละ 100 จากผลความเสี่ยงสูงทางการยศาสตร์ แสงที่ไม่ผ่านมาตรฐานนี้นำสู่การศึกษาความสัมพันธ์เชิงลึกและการปรับปรุงทาง
การยศาสตร์การทำงานเพื่อป้องกันผลกระทบด้านโรคทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ ความล้าสายตาจากการทำงานของพนักงานต่อไป

References

Keawnual A, Lohapoontagoon B, Pochana K. Prevalence of Work-related Musculoskeletal Disorders in various occupations. Public Health of Burapha Univ 2017; 12(2): 53-64.

Chaiklieng S. Work Physiology and Ergonomics. Khon Kean: Khon Kean University printing house; 2019

Duangprom N, Chaiklieng S. Recognition of Musculoskeletal Disorders among workers of the electronic industry in Udon Thani Province. KKU Research J; 18(5): 88-91.

Chaiklieng S, Pannak A. Health risk assessment of shoulder pain among electronic workers. J Public Health 2017; 47(2): 212-20.

McAtemney L, Corlett EN. RULA: survey method for the investigation of work-related upper limb disorder. Appl Ergon 1993;24(2): 91-9.

Hignett S, McAtemney L. Rapid Entire Body Assessment (REBA). Appl Ergon 2000; 31(2): 201-05.

Krusan M, Chaiklieng S. Ergonomic risk assessment in University office workers. KKU Res J 2014; 43: 697-707.

Chaiklieng S. Health risk assessment on musculoskeletal disorders among potato-chip processing workers. PLoS ONE 2019; 14 (12): e0224980. doi: 10.1371/journal.

Labour Legislation. Ministerial regulation on the prescribing of standard for administration and management of occupational safety, health and environment in relation to heat, light and noise B.E. 2016. Government Gazette 2016; 133(91): 7.

Nilvarangkul K, Wongprom J, Tumnong C, Supornpun A, Surit P, Srithongchai N. Strengthening the self-care of women working in the informal sector: the fabric weaving women of Khon Kean (Phase 2). The Faculty of Nursing: Khon Kean University; 2004.

Chutiwatpongstron S, Chaiklieng S. Ergonomics risk assessment and ergonomic factors among computer users in Tambon health promoting hospital, Nongkhai province. KKU J Public Health Res 2015; 8(3):72-64.

Chaiklieng S, Suggaravetsiri P, Poochada W. Risk factors associated with shoulder pain among assembly electronic workers. J Med Tech Phy Ther 2019; 31(3): 150-61.

Taptagaporn S. Health effects from ergonomics problem: ergonomics subject book. 2nd ed. Bangkok: Sukhothaithammathirat University press; 2009.

Chidnaee S, Chidnaee J, Kuariyakul A. Risk factors for computer visual syndrome and prevalence of vision problems in nursing students at Borommarajonani College of nursing Uttaradit. J Nursing Public Health Education 2015; 16(2): 13-22.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-22 — Updated on 2022-08-26

Versions