ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากฝุ่นคอนกรีตของผู้ปฏิบัติงานผลิตเสาคอนกรีต ตำบลเมืองศรีไค และตำบลโพธิ์ใหญ่ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • นิภาพร คำหลอม

คำสำคัญ:

ความรู้, ทัศนคติ, พฤติกรรมการป้องกันตนเอง, ฝุ่นคอนกรีต

บทคัดย่อ

                การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ (Survey study) แบบภาคตัดขวาง (Cross-Sectional Study) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากฝุ่นคอนกรีต และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลส่วนบุคคล ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากฝุ่นคอนกรีตของผู้ปฏิบัติงานผลิตเสาคอนกรีต ตำบลเมืองศรีไค และตำบลโพธิ์ใหญ่ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ประชากร คือ ผู้ปฏิบัติงานผลิตเสาคอนกรีต จำนวน 30 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ซึ่งได้มาจากการทบทวนวรรณกรรม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา โดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด และสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้สถิติเพียร์สัน ไคว์-สแควร์ (Pearson Chi-Square Test) และ Fisher’s Exact Test ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% (p-value <0.05)       
                ผลการศึกษา พบว่า ผู้ปฏิบัติงานผลิตเสาคอนกรีตส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 73.00 อายุเฉลี่ย 38.17±10.14 ปี สูบบุหรี่ คิดเป็นร้อยละ 53.00 มีประสบการณ์ทำงาน 1–5 ปี คิดเป็นร้อยละ 53.00 ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้ระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 47.00 มีทัศนคติระดับดี คิดเป็นร้อยละ 77.00 ระดับพฤติกรรมการป้องกันตนเองอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 53.00 ระดับความรู้การป้องกันตนเองจากฝุ่นคอนกรีตมีความสัมพันธ์กับระดับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากฝุ่นคอนกรีตของผู้ปฏิบัติงานผลิตเสาคอนกรีตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p - value < 0.05) เนื่องจากผู้ปฏิบัติงานทุกคนเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสสัมผัสฝุ่นคอนกรีตขณะปฏิบัติงาน     
                ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยครั้งนี้ คือ ควรมีการเสนอแนะให้เจ้าของสถานประกอบการ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจัดให้มีการเฝ้าระวังทางสุขภาพให้กับผู้ปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง            

References

คอนกรีตวัสดุสำหรับโครงสร้าง บทที่ 8. (ม.ป.ป.). [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 20 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://www.cpacacademy.com

กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2562). เกร็ดความรู้เรื่องฝุ่นละออง. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 20 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก http://pcd.go.th

เลขา ดีแท้. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมการป้องกันฝุ่นกับภาวะสุขภาพของพนักงานของพนักงานโรงโม่หิน. วารสารพยาบาลศาสตร์, 3(2), 57-66. [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 20 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จากhttp://www.nurse.nu.ac.th/Journal/data/Vol.3%20No.2/006.pdf

จิราภรณ์ หลาบคำ และคณะ. (2560). พฤติกรรมการป้องกันฝุ่นหินของพนักงานโรงโม่หินในอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 19(1), 71-83. [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 20 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sci_ubu/article/view/86432/68565

Sadeel A. Shanshal, Harith Kh. Al-Qazaz (2020). Knowledge and Practice of Cement Factory Workers in Relation to Respiratory Symptoms: A Cross-Sectional Study . Systematic Reviews in Pharmacy, 11(6), 864-870. Retrieved from https://www.reseachgate.net/publication/342992923

บุปผา โพธิกุล และคณะ. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคซิลิโคซิสของคนงานโรงโม่หินในอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล. [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 20 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://dric.nrct.go.th/index.php?/Search/SearchDetail/195843

กมลวรรณ สมณะ และ อารุญ เกตุสาคร. (2560). ความรู้ทัศนคติและการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัยของพนักงาน. [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 20 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jph/article/view/179334/147868

จตุพล พิสิฏฐ์ศักดิ์ (2561). ปัจจัยเสริมสร้างความปลอดภัยกับพฤติกรรม ความปลอดภัยในการทํางานของแรงงานก่อสร้าง [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 20 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/lej/article/view/240163/163710

Sah, J. P., et al. (2015). Knowledge and practice related to Occupational Hazards among Maruti Cement Factory workers in Mirchaiya, Siraha, Nepal. Retrieved from https://shorturl.asia/9KUkb pain in Norwegian nurses’ aides. Int Arch Occup Environ Health 2003: 76(8): 625–30.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-22