ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการปวดหลังส่วนล่างในพนักงานเก็บขนขยะมูลฝอย อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • จุฑารัตน์ รักประสิทธิ์

คำสำคัญ:

ความชุก, อาการปวดหลังส่วนล่าง, พนักงานเก็บขนขยะมูลฝอย

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของอาการปวดหลังส่วนล่างและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านการทำงาน ปัจจัยด้านจิตสังคม กับอาการปวดหลังส่วนล่างในพนักงานเก็บขนขยะมูลฝอย อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามในพนักงานเก็บขนขยะมูลฝอย จำนวน 97 คน แบบสอบถามแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ประกอบด้วย 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) ข้อมูลด้านการทำงาน 3) ข้อมูลด้านจิตสังคม และ 4) ข้อมูลอาการปวดหลังส่วนล่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด สถิติไคสแควร์ใช้ในการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ กับอาการปวดหลังส่วนล่าง       
          ผลการศึกษา พบว่า พนักงานเก็บขนขยะมูลฝอย ร้อยละ 99.0 เป็นเพศชาย ร้อยละ 34.1 มีอายุ 30 - 39 ปี ร้อยละ 36.1 จบการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ความชุกของอาการปวดหลังส่วนล่างในช่วง 7 วัน และ 12 เดือนที่ผ่านมา เท่ากับร้อยละ 80.4 และร้อยละ 84.5 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการปวดหลังส่วนล่างในช่วง 7 วันที่ผ่านมาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ลักษณะของถังขยะ และแรงสนับสนุนทางสังคม (p-value<0.05) และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการปวดหลังส่วนล่างในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ แรงสนับสนุนทางสังคม (p-value<0.05)             
          ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์การบริหารส่วนตําบล ควรส่งเสริมพนักงานเก็บขนขยะมูลฝอยให้มีแนวทางในการปฏิบัติงานเพื่อลดหรือป้องกันการเกิดอาการปวดหลังส่วนล่าง               

References

นริศรา เลิศพรสวรรค์, ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์, ธานี แก้วธรรมานุกูล. ปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงานและภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงของพนักงานเก็บขยะ. พยาบาลสาร 2560;44:138-50.

ศราวุฒิ แสงคำ, จำลอง อรุณเลิศอารีย์. สิ่งคุกคามสุขภาพในพนักงานเก็บขนมูลฝอยและแนวทางการป้องกัน. ศรีนครินทร์เวชสาร 2562;34:649-57.

สลิลรัตน์ นิตรมร, นวรัตน์ สุวรรณผ่อง, มธุรส ทิพยมงคลกุล, ธนาศรี สีหะบุตร. ภาวะสุขภาพของพนักงานเก็บและคัดแยกขยะ สังกัดเทศบาลจังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2564;30:232-41.

Daneshmandi H, Choobineh AR, Ghaem H, Alhamd M, Fakherpour A. The effect of musculoskeletal problems on fatigue and productivity of office personnel: a cross-sectional study. J Prev Med Hyg 2017;58:E252-8.

พีรพงษ์ จันทราเทพ, สุนิสา ชายเกลี้ยง. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงต่ออาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในพนักงานเก็บขนขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2554;4:49-58.

สุนิสา ชายเกลี้ยง, พีรพงษ์ จันทราเทพ, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ, รุ้งทิพย์ พันธุเมธากุล. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงทางการยศาสตร์ของการปวดหลังส่วนล่างในพนักงานเก็บขนขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด 2555;24:97-109.

สุทรรศน์ สิทธิศักดิ์, สุนทร ศุภพงษ์, สมรัตน์ เลิศมหาฤทธิ์. ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในพนักงานเก็บขยะเทศบาลนครพิษณุโลก. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ 2558;9:137-46.

Nguyen BV, Tran TTT, Hoang NT, Nguyen BN, Nguyen QT. Musculoskeletal pain and work-related risk factors among waste collectors in Hanoi, Vietnam: a cross-sectional study. Open Access Maced J Med Sci 2020;8(E):498-508.

Reddy EM, Yasobant S. Musculoskeletal disorders among municipal solid waste workers in India: a cross-sectional risk assessment. J Family Med Prim Care 2015;4:519-24.

สุกัญญา อังศิริกุล, น้ำอ้อย ภักดีวงศ์, วารินทร์ บินโฮเซ็น. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2559;24:39-50.

จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ. พฤติกรรมสุขภาพ แนวคิด ทฤษฎี และการประยุกต์ใช้. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2561.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี; 2543.

Kuorinka I, Jonsson B, Kilbom A, Vinterberg H, Biering-Sørensen F, Andersson G, Jørgensen K. Standardised Nordic questionnaires for the analysis of musculoskeletal symptoms. Appl Ergon 1987;18:233-7.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-22