การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพต่อความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ ของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

ผู้แต่ง

  • สุนิสา ชายเกลี้ยง
  • กษมา คงประเสริฐ

คำสำคัญ:

การยศาสตร์, ความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ, เมตริกความเสี่ยง, อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytic study) เพื่อประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพต่อความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 294 คน โดยใช้แบบสอบถามแบบมีโครงสร้างที่พนักงานสามารถตอบได้ด้วยตนเอง ประกอบด้วยแบบประเมินความรู้สึกไม่สบายจากการทำงานด้านความผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ แบบประเมินความเสี่ยงของท่าทางการทำงานของท่านั่งหรือท่ายืนทำงานซึ่งประยุกต์มาจากแบบประเมิน RULA และ REBA พิจารณาร่วมกันในรูปแบบเมตริกความเสี่ยงที่พิจารณาโอกาส (ความเสี่ยงทางการยศาสตร์) และความรุนแรง (การรับรู้ความรู้สึกไม่สบาย) ผลการศึกษาพบว่าพนักงานมีระดับความรู้สึกไม่สบายของร่างกายสูงสุด คือ บริเวณไหล่ (ร้อยละ 36.05) รองลงมาเป็นหลังส่วนล่าง (ร้อยละ 30.95) และหลังส่วนบน (ร้อยละ 30.27) ตามลำดับ ความเสี่ยงจากท่าทางการทำงานด้วยท่ายืน ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 44.40) รองลงมาคือ ระดับเสี่ยงสูง (ร้อยละ 41.40) และระดับเสี่ยงสูงมาก (ร้อยละ 10.50) ตามลำดับ ในขณะที่การทำงานด้วยท่านั่ง  ส่วนใหญ่อยู่ในระดับเสี่ยงสูง (ร้อยละ 52.40) รองลงมา คือ ระดับปานกลาง (ร้อยละ 24.50) และระดับสูงมาก (ร้อยละ 5.30)    ผลการวิเคราะห์เมตริกความเสี่ยงความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ พบว่า พนักงานมีความเสี่ยงในระดับสูง ( ร้อยละ 47.63) ระดับปานกลาง (ร้อยละ 43.19) และระดับสูงมาก (ร้อยละ 7.48) เนื่องจากพนักงานส่วนใหญ่มีความเสี่ยงระดับสูง จึงควรมีการปรับเปลี่ยนท่าทางการทำงาน โดยการให้ความรู้เรื่องท่าทางการทำงานตามหลักการยศาสตร์ และมีการปรับปรุงสถานีงานให้มีความเหมาะสม ซึ่งผลการศึกษาในครั้งนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาโปรแกรมประเมินความเสี่ยงต่อความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ ของพนักงานอิเล็กทรอนิกส์ได้ในอนาคต

References

Social Security Office. 2019; cited 2021 Available from: http://bit.ly/2QWeO7y

Chaiklieng S. Health risk assessment on musculoskeletal disorders among potato-chip processing workers. PloS ONE 2019; 14(12): e0224980. doi: 10.1371/jounal. pone. 0224980.

Donjuntai J, Chaiklieng S. Health risk assessment on shoulder pain among potato-chips Processing Workers.

JOURNAL OF MEDICAL TECHNOLOGY AND PHYSICAL THERAPY 2019; 31: 138-150. Thai

Chaiklieng S, Pannak A, Duangprom N. The Assessment of ergonomics risk on upper limb disorders among electronic workers. Srinagarind Med J 2016; 31: 202-209. Thai

Chaiklieng S, Suggaravetsir P, Poochada. Risk factors associated with shoulder pain among assembly

electronic workers. JOURNAL OF MEDICAL TECHNOLOGY AND PHYSICAL THERAPY 2018; 30: 146-158. Thai

Kaewjunda J, Chaiklieng S. Health Risk Assessment of Musculoskeletal Disorders in Pulp and Paper Production Industry. KKU Journal for Public Health Research 2019; 12: 72-85. Thai

Chorobchoei C, Chaiklieng S. Risk Assessment and related factors with risk levels of neck shoulder and back disorders in dental personnel in government hospitals Phetchaburi province. Journal of the Office of DPC 7 Khon Kaen 2022; 1: 101-117. Thai

Chaiklieng S, Suggaravetsiri P. Ergonomics risk assessment of electronic assembly workers in the industry.

JOURNAL OF MEDICAL TECHNOLOGY AND PHYSICAL THERAPY 2019; 31: 202-9. Thai

Boonla S, Chaiklieng S.Risk Assessment on Work-Related Musculoskeletal Disorders for Ergonomics Management Program among Industrial Workers in Textile Export and Small Enterprise.Journal of Safety and Health: 2022 ;15. Thai

Chaiklieng S. Pannak A. Health Risk Assessment of Shoulder Pain among Electronic Workers. Journal of Public Health:2017; 47: 212-221. Thai

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-22 — Updated on 2022-08-26