สถานการณ์ของโรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อในกลุ่มเกษตรกรเพาะปลูก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • วรวรรณ ภูชาดา
  • สุนิสา ชายเกลี้ยง

คำสำคัญ:

เกษตรกรกลุ่มเพาะปลูก, การเฝ้าระวัง, โรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความผิดปกติทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อในกลุ่มเกษตรกรเพาะปลูกภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ใช้ข้อมูลทุติยภูมิในปีงบประมาณ พ.ศ.2563 จาก 2 แหล่งข้อมูลในจังหวัดขอนแก่น ร้อยเอ็ด อุดรธานี และหนองบัวลำภู ได้แก่ ข้อมูลสุขภาพ 43 แฟ้ม (รหัส ICD-10) และข้อมูลจำนวนการขึ้นทะเบียนเกษตรกร ซึ่งคำนวณอัตราการเกิดโรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ (กลุ่มรหัส M00-M99) หรืออาการผิดปกติ (กลุ่มรหัส U และ S) โดยใช้จำนวนคนที่ถูกกรองด้วยรหัสอาชีพเป็นเกษตรกรเพาะปลูกที่เข้ารับบริการทางการแพทย์และถูกระบุด้วยรหัส ICD-10 ว่าเป็นโรคหรืออาการทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ หารด้วยจำนวนเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจในพื้นที่และคูณด้วยเกษตรกรหนึ่งแสนราย ผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรที่เข้ารับบริการทางการแพทย์ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ปลูกพืชไร่และพืชผัก ทำไร่ ชาวนาปลูกข้าว ตามรหัสอาชีพ 6111 จำนวน 211,964 ราย (ร้อยละ 53.74) และส่วนใหญ่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรเป็นผู้ปลูกข้าวนาปี จำนวน 716,203 ราย (ร้อยละ 81.5) พบว่า อัตราการเกิดอาการผิดปกติทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อสูงกว่ากลุ่มโรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อเป็น 2.13 เท่า โดยอัตราการเกิดอาการผิดปกติทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ พบสูงสุดที่จังหวัดร้อยเอ็ด (15,660.16 ต่อเกษตรกรหนึ่งแสนราย) ดังนั้น จึงควรให้ความสำคัญกับการเฝ้าระวังกลุ่มอาการทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรหัส ICD-10 ของระบบแพทย์แผนไทย (รหัส U) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรงของอาการและนำไปสู่โรคเรื้อรังทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อจากการทำงานต่อไป

References

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. การสำรวจแรงงานนอกระบบ พ.ศ.2564. https://kuza.me/FCIMu

Chaiklieng S, Poochada W, Suggaravetsiri P. Work-related diseases among agriculturists in Thailand: A systematic review. Songklanakarin J Sci Technol 2021; 43 (3): 638-47.

Chaiklieng S, Chagkornburee C, Suggaravetsiri P. Situations of work-related diseases and injuries among agriculturists in the upper northeast regions of Thailand [version 1; peer review 2 approved with reservation]. F1000Research 2022; 11:145 (https://doi.org/10.12688/f1000research.73221.1)

Health Data Center (HDC). จำนวนผู้ป่วยโรคกระดูกและกล้ามเนื้อจากการทำงานจำแนกรายอาชีพ. https://kuza.me/9SYFu

พิบูล อิสสระพันธุ์, ภูษณิศา ฉลาดเลิศ. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการซื้อสารกำจัดศัตรูพืช และอัตราการเข้ารับการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาล ด้วยโรคพิษจากสารกำจัดศัตรูพืชของประเทศไทย ในปีงบประมาณ 2557. วารสารควบคุมโรค 2558; 41 (4): 297-308.

สำนักงานเกษตรจังหวัดมุกดาหาร. ทะเบียนเกษตรกรคืออะไรและทำไมต้องขึ้นทะเบียนเกษตรกร. https://kuza.me/mqkyk

ภคนันท์ คําจันทราช, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ, สุนิสา ชายเกลี้ยง. ความชุกของการเจ็บป่วยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในกลุ่มเกษตรกรเพาะปลูกจังหวัดสกลนคร. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2563; 27 (2): 55-66.

สุนิสา ชายเกลี้ยง, กวิสทรารินทร์ คะณะพันธ์, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ. ความชุกของการปวดหลังจากการทำงานและสภาพแวดล้อมทางการยศาสตร์การทำงานของเกษตรสวนยางพารา อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 2564; 10(1): 101-111.

Kaewdok, T.; Sirisawasd, S.; Taptagaporn, S. Agricultural risk factors related musculoskeletal disorders among older farmers in Pathum Thani province, Thailand. J. Agromedicine 2021; 26: 185–192. https://doi.org/10.1080/1059924X.2020.1795029.

Gadhavi, B.; Shukla, Y. Prevalence of work related musculoskeletal disorders in farmers of Gujarat. Inter J Research and Review 2019; 6: 231-236.

Sombatsawat, E.; Luangwilai, T.; Ong-artborirak, P.; Siriwong, W. Musculoskeletal disorders among rice farmers in Phimai district, Nakhon Ratchasima province, Thailand. J. Health Res. 2019; 33: 494-503. https://doi.org/10.1108/JHR-01-2019-0009.

Puntumetakul, R.; Siritaratiwat, W.; Boonprakob, Y.; Eungpinichpong, W.; Puntumetakul, M. Prevalence of musculoskeletal disorders in farmers: Case study in Sila, Muang Khon Kaen, Khon Kaen province. J. Med. Tech. Phy. Ther. 2011; 23: 297-303.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-22 — Updated on 2022-08-26