การรับรู้ภาวะสุขภาพของแรงงานประมงต่างด้าวในภาคใต้

ผู้แต่ง

  • ศารีนา สุขสมบูรณ์

คำสำคัญ:

แรงงานประมงต่างด้าว, ภาวะสุขภาพองค์รวม, พฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ภาวะสุขภาพของแรงงานประมงต่างด้าวในภาคใต้ ใช้กรอบแนวคิดสุขภาวะองค์รวมและปัจจัยกหำนดภาวะสุขภาพ กลุ่มตัวอย่าง 150 คนสุ่มตามสัดส่วนจากแรงงานสัญชาติกัมพูชาและพม่าอาชีพประมงทะเลในจังหวัดสงขลาและปัตตานี เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและการตรวจร่างกาย ความตรงเชิงเนื้อหาตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ทดสอบความเที่ยงด้วยค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคแอลฟาได้ 0.7 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณณา ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดเป็นชายสัญชาติกัมพูชาและพม่า ร้อยละ 74 และ 26 ตามลำดับ ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 64.7 รายได้เฉลี่ย 10,309 บาทต่อเดือน (SD=1686.45) ไม่มีโรคประจำตัว ค่าดัชนีมวลกายและค่าความดันโลหิตปกติ การเจ็บป่วยมีอาการมึน/เวียนศีรษะและปวดเมื่อยตามร่างกาย ร้อยละ 82 และ 96 ตามลำดับ การรับรู้ภาวะสุขภาพทุกด้านอยู่ในระดับดี พฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานอยู่ในระดับดี ร้อยละ 49.6 การรับรู้สิ่งแวดล้อมในการทำงานทางกายภาพและทางชีวภาพอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 62.8 และ 77.5 ตามลำดับ ปัจจัยนโยบายและการเข้าถึงระบบบริการด้านสุขภาพอยู่ในระดับดี ร้อยละ 55.7 ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าแรงงานประมงต่างด้าวมีสุขภาพที่แข็งแรง ดังนั้นจึงควรมีมาตรการที่จะคงไว้ซึ่งสุขภาพที่ดีและส่งเสริมสุขภาพให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

References

กระทรวงแรงงาน. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคนต่างด้าว. 2561 (เข้าถึงเมื่อ 25 พ.ค. 2561). เข้าถึงได้จาก : http://www.mol.go.th/academician/basic_alien.

กลุ่มสถิติแรงงาน. สรุปผลที่สำคัญ การสำรวจสุขภาพจิต การสำรวจสุขภาพจิต (ความสุข) คนไทย กรกฎาคม พ.ศ. 2558. สำนักสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาิ, กรุงเทพมหานคร: 2558.

ขวัญชีวัน บัวแดง. สุขภาพของแรงงานข้ามชาติกับการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของรัฐ. วารสารสังคมศาสตร์ 2551; 1: 146-172

จันทิมา เขียวแก้วและคณะ. การใช้สื่อสังคมออนไลน์ และการรู้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ด้านสุขภาพของ แรงงานกัมพูชาในประเทศไทย. วารสารวิจัยสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศ 2560;1:33-46.

จรัมพร โห้ลำยองและศิรินันท์ กิตติสุขสถิตย์. การทำงานและความพึงพอใจ เกี่ยวกับการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ ของแรงงานข้าชาติ ไม่มีใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย. สถาบันวิจัยประชากร และสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม: 2554.

เฉิด สารเรือน และนิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์. การเข้าถึงบริการสุขภาพของแรงงานต่างด้าวก่อนเข้าสู่เขตพัฒนาเศรษฐกิจ และประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ชายแดนไทย-เมียนมาร์ จังหวัดตาก. บทความ. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2558; 3: 123-136.

ณัฐกานต์ เล็กเจริญ, อนามัย เทศกะทึก และกุหลาบ รัตนสัจธรม. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเสี่ยงต่อการประสบอันตรายจากการทำงานของแรงงานประมงไทยและต่างด้าว ตำบลเกาะเปริด อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี. วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา 2554;6: 42-52.

ณรงค์ฤทธิ์ คงสมานและพยุง พุ่มกลิ่น. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของแรงงาน. สำนักงานป้องกันควบคุม

โรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น 2559; 1: 62-75.

ดำรง เปรมสวัสดิ์, สุวดี ทวีสุข, ณัฐชยวัศสงวนไชยกฤษณ์, กษมา ศีรมงคลและ วนิดา. แนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยในการทำงานภาคประมงทะเล. สำนักงานความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. กรุงเทพมหานคร:ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามัญนิติบุคคล จี้ยฮั้ว; 2556.

นฤมล วงษ์เดือน, ขวัญจิต ศศิวงศาโรจน์, นันทยา ดวงภุมเมศ และสิรินทร พิบูลภานุวัธน์. สมรรถนะการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมเพื่อการบริการสุขภาพแรงงานข้ามชาติ Intercultural Communication Competence for Health Care Services in Migrant Workers. Graduate Research Conference 2014. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น 2557.

บุญใจ ศรีสถิตนรากูล. ระเบียบวิธีการวิจัยทางการพยาบาล. 3: กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ลักษณ์; 2553.

ประภาพร เชื่อมสุข. งานสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์กับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนปี 2558. วารสารเวชบันทึกศิริราช 2557; 2: 84-88.

เปวิกา และวรดา. การศึกษาคุณภาพชีวิตของแรงงานต่างด้าว ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร. สัมมนาปัญหาทางธุรกิจตามหลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการจัดการธุรกิจทั่วป คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปกร. กรุงเทพมหานคร; 2554.

ธนกร สิริธร. พฤติกรรมการทำงาน สภาพแวดล้อมในการทำงาน และบุคลิกภาพที่ส่งผลต่อ ความปลอดภัยในการทำงานของแรงงานต่างด้าว: กรณีศึกษาแรงงานต่างด้าว สัญชาติเมียนมาในโรงงานย่านมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร. การค้นคว้าอิสระของการศึกษาตามหลักสูตร บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพมหานคร ;2559.

พฤกษ์ เถาถวิล. (2553). นโยบายการจัดการแรงงานข้ามชาติของไทย : จากความเกลียดกลัวคนต่างชาติ ถึง (เหนือกว่า) สิทธิมนุษย์.

วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง 2553; 3: 1-30.

สมเกียรติ ศิริรัตนพฤกษ์. การจัดการอาชีวอนามัยสำหรับกลุ่มแรงงานข้ามชาติ. สำนักโรจากการประกอบอาชีพและสิงแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, กรุงเทพมหานคร; 2559.

สมพงค์และคณะ. รายงานสถานการณ์เด็กข้ามชาติและแรงงานเด็กข้ามชาติในกิจการอุตสาหกรรมต่อเนื่องประมง พื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร. มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (LPN). สนับสนุนโดย แตร์ เดอ ซอมม์ เยอรมันนี (terre des hommes

Germany); 2558.

สุนิสา ชายเกลี้ยง, จันทิมา ดรจันทร์ใต้, จันจิราภรณ์ วิชัย. การประเมินความเสี่ยงต่อการปวดหลังส่วนล่างจากการทำงานของ

พนักงานยกเคลื่อนย้ายวัสดุ. วารสารความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม 2559; 1; 8-17.

เสาวภา พรสิริพงษ์. การจัดการสุขภาพของแรงงานข้ามชาติเขมร ในจังหวัดชายแดนไทย-กัมพูชา. วารสารภาษาและวัฒนธรรม

; 2:65-85.

สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว. สถิติจำนวนคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานคงเหลือทั่วราชอาณาจักร. สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กลุ่มงานการจัดระบบงค์การเอกชน การเคลื่อนย้ายบุคคลตามข้อตกลงการค้าเสรีและสารสนเทศ. กรมการจัดหางาน, กรุงเทพมหานคร ; 2561.

สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ. ร่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข,

นนทบุรี 2545.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. แบบประเมินภาวะสุขภาพเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ; พระนครศรีอยุธยา; 2554.

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. ความเสี่ยงต่อสุขภาพและโรคการประกอบอาชีพภาคเกษตรกรรม. 2561 (เข้าถึงเมื่อ 16 ม.ค. 61). เข้าถึงได้จาก: http://envocc.ddc.moph.go.th/contents/view/107.

Polit, D. F. & Beck, C. T. Nursing research: Principlesand methods (7th ed.). Philadephia, USA: Lippincott Williams & Wilkins; 2004.

World health organination. The determinants of health. Evidence base of health determinants. Health Impact Assessment (HIA); 2015 (cited 2015 march 20). Available at: http://www.who.int/hia/evidence/doh/en/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-06