ปัจจัยที่สัมพันธ์กับอาการเกี่ยวกับการสัมผัสความเย็นในกลุ่มคนงานคลังสินค้าห้องเย็น

ผู้แต่ง

  • โชติรส โชติพันธ์
  • โชติรส โชติพันธ์

คำสำคัญ:

อาการที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสความเย็น, คนงานคลังสินค้าห้องเย็น, ระยะเวลาการสัมผัสความเย็น

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้เป็นการศึกษาภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบุคคล ระยะเวลาการสัมผัสความเย็น และเสื้อผ้าที่สวมใส่ขณะทำงานกับอาการที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสความเย็นในกลุ่มคนงานคลังสินค้าห้องเย็น ข้อมูลที่ศึกษา ประกอบด้วย ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมการทำงาน ได้แก่ อุณหภูมิอากาศ ความเร็วลม และความชื้นสัมพัทธ์ ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ และสังเกต ได้แก่ ประวัติบุคคล และการทำงาน ลักษณะงาน อาการที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสความเย็น และเสื้อผ้าที่สวมใส่ขณะทำงาน มีผู้เข้าร่วมวิจัย 163 คน จาก 10 โรงงานในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย ผลการศึกษา พบว่า อุณหภูมิอากาศเฉลี่ยในพื้นที่คลังสินค้าห้องเย็นเท่ากับ -18.4°C และพื้นที่ขนถ่ายสินค้า -7.6°C ความเร็วลมเฉลี่ยเท่ากับ 0.8 m/s และ 1.0 m/s ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยเท่ากับ 29.6% และ 45.8% ตามลำดับ คุณลักษณะของกลุ่มศึกษาที่สัมพันธ์กับอาการระบบทางเดินหายใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ (p-value = 0.039) และอายุงาน (p-value = 0.015) โดยที่ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 38 ปีขึ้นไป และผู้ที่มีอายุงานมากกว่า 1 ปีมีความชุกของอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจมากกว่าผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 38 ปี และอายุงานต่ำกว่า 1 ปี และระยะเวลาการสัมผัสความเย็นมีความสัมพันธ์กับอาการระบบทางเดินหายใจ (p-value = 0.040) และอาการปวดนิ้ว (p-value = 0.003) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยที่ผู้ที่สัมผัสความเย็นมากกว่า 4 ชั่วโมงต่อวันมีความชุกที่จะมีอาการระบบทางเดินหายใจ และอาการปวดนิ้วสูงกว่าผู้ที่สัมผัสความเย็นต่ำกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน ขณะที่เพศ การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ และเสื้อผ้าที่สวมใส่ขณะทำงานไม่มีความสัมพันธ์กับอาการที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสความเย็นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value > 0.05)

References

ภาพรวมการส่งออกของไทย [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 25 มี.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.ditp.go.th/contents_attach/236374/236374.pdf.

กรมโรงงานอุตสาหกรรม. จำนวนโรงงาน ประเภท 092, 00402, 00602, 00802, 01211 กรุงเทพฯ [อัพเดต 22 มี.ค 2562; เข้าถึงเมื่อ 26 มี.ค. 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://www.diw.go.th/.

Oliveira AVM, Gaspar AR, Raimundo AM, Quintela DA. Evaluation of occupational cold environment: field measurements and subjective analysis. Ind Health. 2014; 52:262-74.

Chen F, Li T, Huang H, Holmér I. A field study of cold effects among cold store workers in China. Arctic Med Res. 1991:99-103.

Morioka I, Ishii N, Miyai N, Yamamoto H, Minami Y, Wang T, et al. An occupational health study on workers exposed to a cold environment in a cold storage warehouse. Environment Ergonomics. 2005; 3:199-204.

Cold Stress [Internet]. Infrastructure Health & Safety Association. 2013 [cited 2018 Sep 10]. Available from: https://www.ihsa.ca/rtf/health_safety_manual/pdfs/health/Cold_Stress.pdf

Thetkathuek A, Yingratanasuk T, Jaidee W, Ekburanawat W. Cold exposure and health effects among frozen food processing workers in eastern Thailand. Saf Health Work. 2015; 6(1):56-61.

Stocks J, Taylor N, Tipton M, Greenleaf J. Human physiological responses to cold exposure. Aviat Space Environ Med. 2004; 75(5):444-57.

Holmér I, Hassi J, Ikaheimo TM, Jaakkola JJK. Cold Stress: Effects on Performance and Health. 2012.

ISO 7726. Ergonomics of the thermal environment -- Instruments for measuring physical quantities. Geneva: International Organization for Standardization; 1998.

National Health Survey Finrisk. Cold And Heat Inquiry. The National Public Health Institute of Finland; 2007.

ISO 15743. Ergonomics of the thermal environment -- Cold workplaces -- Risk assessment and Management. Geneva: International Organization for Standardization; 2008.

ISO9920. Ergonomics of the thermal environment -- Estimation of thermal insulation and water vapour resistance of a clothing ensemble. Geneva: International Organization

for Standardization; 2007.

ISO11079. Ergonomics of the thermal environment -- Determination and Interpretation of Cold Stress When Using Required Clothing Insulation (IREQ) and Local Cooling Effects. Geneva: International Organization for Standardization; 2007.

Cochran WG. Sampling Techniques 3rd ed. John Wiley and Sons Inc., New York. 1977.

Sormunen E, Remes J, Hassi J, Pienimaki T, Rintamaki H. Factors associated with self-estimated work ability and musculoskeletal symptoms among male and female workers

in cooled food-processing facilities. Ind Health. 2009; 47: 271-48.

Koskela H. Cold air-provoked respiratory symptoms: the mechanisms and management. Int J Circumpolar Health. 2007; 66(2):91-100.

ปารยะ อาศนะเสน. การปรับอุณหภูมิและความชื้นของอากาศที่หายใจเข้าไป [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สาขาวิชาโรคจมูกและโรคภูมิแพ้ ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล; 2558 [เข้าถึงเมื่อ 27 เม.ย. 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=1165.

Castellani JW, Young AJ. Human physiological responses to cold exposure - Acute responses and acclimatization to prolonged exposure. Auton Neurosci. 2016; 196:63-74.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-06