การประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ของอาชีพช่างเสริมสวย กรณีศึกษาบริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • สาธิตา แสวงลาภ

คำสำคัญ:

การประเมินความเสี่ยง, มาตรการป้องกัน, ช่างเสริมสวย

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงและหามาตรการป้องกันในการทำงานของช่างเสริมสวยบริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก เก็บรวบรวมข้อมูลจากช่างเสริมสวยทั้งหมด 40 คน จำนวน 26 ร้าน โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลช่างเสริมสวย และแบบประเมินระดับความเสี่ยงในการทำงานของช่างเสริมสวย ผลการศึกษา พบว่า ช่างเสริมสวยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 72.5) มีอายุและประสบการณ์ในการทำงานเฉลี่ยเท่ากับ 38.10±8.31 ปี และ 11.10±7.08 ปี ตามลำดับ มีระยะเวลาในการทำงาน 7 วัน/สัปดาห์ ร้อยละ 55.0 ผลการประเมินความเสี่ยง พบว่า ปัจจัยอันตรายด้านเคมีมีความเสี่ยงอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 60.0) และพบว่า ปัจจัยอันตรายด้านชีวภาพ มีความเสี่ยงอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 60.0) ซึ่งช่างเสริมสวยมีโอกาสรับสัมผัสเชื้อโรคจากอุปกรณ์ น้ำ และจากผู้รับบริการ มาตรการป้องกัน คือ ติดตั้งระบบระบายอากาศที่เหมาะสม ใช้น้ำสะอาดในการชำระล้างทำความสะอาดอุปกรณ์ รวมถึงสวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน อันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสม จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า อาชีพช่างเสริมสวยมีความเสี่ยงในการรับสัมผัสปัจจัยคุมคามสุขภาพ ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสนใจที่จะหามาตรการป้องกัน โดยการให้ข้อมูลข่าวสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อให้ช่างเสริมสวยเกิดความตระหนักและเกิดความปลอดภัยในการทำงานมากยิ่งขึ้น

References

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2560. 2560 (เข้าถึงเมื่อ 1 เม.ย. 2562). เข้าถึงได้จาก http:www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/ด้านสังคม/สาขาแรงงาน/แรงงานนอกระบบ/แรงงานนอกระบบ_2560/Full_report2560.pdf

จันทร์จิรา มาทอง. การประเมินความเสี่ยงจากการทำงานของอาชีพช่างเสริมสวย กรณีศึกษาในตำบลหัวรอ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก (วิทยานิพนธ์หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต). คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2559.

พิมพ์พรรณ ศิลปสุวรรณ. แนวคิดหลักการการพยาบาลอาชีวอนามัย : ทฤษฎีและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : เจริญดีการพิมพ์; 2544.

พรแก้ว เหลืองอัมพร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีของช่างเสริมสวย ในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). คณะสาธารณสุขศาสตรมหาวิทยาลัยมหิดล; 2556.

วันชัย สุธีวีระขจร. อาชีวอนามัยในอุตสาหกรรมทางด้านความงาม. กรุงเทพฯ: กองสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัย; 2554.

ปิยะ แซ่จัง. ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดผื่นผิวหนังอักเสบบริเวณอื่น จากการปฏิบัติงานในนักศึกษาช่างทำผมหญิงในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.

บุญธรรม ทุมพงษ์. โรคจากการทำงาน. ศูนย์บริการสาธารณสุข 45; 2554

อาชีวเวชศาสตร์ – เวชศาสตร์สิ่งแวดล้อมเพื่อคนทำงาน. 2557 (เข้าถึงเมื่อ 28 ส.ค. 2561) เข้าถึงได้จาก https://www.hfocus.org/content/2013/08/4526

จีราพร ทิพย์พิลา. การประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานของช่างเสริมสวยในตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี; 2559.

กชพรรณ หนูชนะ. ความเสี่ยงด้านสุขภาพในการทำงานของแรงงานนอกระบบในกรุงเทพมหานคร. Graduate Research Conference; 2014; Khon Kaen, Thailand. p. 1759-70.

มหาวิทยาลัยนเรศวร. รายงานสถิติจำนวนนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร ประจำการศึกษา 2560. พิษณุโลก : กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2560.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์. แบบประเมินเพื่อรับรองมาตรฐานสถานบริการแต่งผม-เสริมสวย. สุรินทร์ : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์; 2554.

สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน. แบบประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยตามมอก.18001. กรุงเทพฯ :สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน; 2560.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-06