ความชุกการเกิดโรคจากความร้อนเนื่องจากการทำงานของเกษตรกรเพาะปลูก

ผู้แต่ง

  • ปฐมฤกษ์ มีสมบัติ

คำสำคัญ:

โรคจากความร้อน, ความร้อนเนื่องจากการทำงาน

บทคัดย่อ

         ปัจจุบัน โลกกำลังประสบปัญหาภาวะโลกร้อน ซึ่งอุณหภูมิของโลกในปัจจุบันนั้น มีค่าสูงขึ้นเรื่อยๆในทุกปี ที่ส่งผลให้ทุกพื้นที่ให้โลกมีอุณหภูมิสูงมากขึ้น นั้นความว่า ผู้ปฏิบัติงาน ก็ต้องได้รับความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่สูงมากขึ้น ซึ่งความร้อนนั้นสามารถก่อให้เกิดโรคจากความร้อน เช่น โรคลมแดด Heat stroke, การหมดแรงเพราะแดด/ความร้อน Heat exhaustion, ตะคริวแดด Heat cramps หรือ ผื่นแดด Heat rashes ได้ พบว่าปัจจุบัน ประเทศไทยมีผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงานทั้งสิ้นกว่า 38,728,000 คน เป็นผู้ที่มีงานทำจริง จำนวน 38,286,900 คน โดยเป็นแรงงานที่อยู่ในภาคเกษตรกรรม รวมทั้งสิ้น 12,392,000 คน ซึ่งสูงที่สุดในกลุ่มแรงงานภาคอุตสาหกรรม โดยเมื่อเทียบกับปี 2560 ในช่วงเวลาเดียวกัน ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาถึงความชุกของการป่วยจากการสัมผัสความร้อนในเกษตรกรจังหวัดขอนแก่นว่ามีเท่าใด เพื่อนำไปสู่การขยายผลเพื่อเฝ้าระวังการป่วยจากความร้อนในเกษตรกรและวางแผนดูแลสุขภาพของเกษตรกรเพาะปลูกเพื่อลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดการป่วยจากการสัมผัสความร้อนต่อไป ในการศึกษาครั้งนี้ ใช้รูปแบบการศึกษาวิจัยโดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิเพื่อหาความชุกการป่วยจากการสัมผัสความร้อนของเกษตรกรเพาะปลูก โดยใช้ข้อมูลของกลุ่มเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนของสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดขอนแก่น จำนวน 225,901 คน กับข้อมูลรายงานระบบข้อมูล 43 แฟ้ม ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น โดยใช้ข้อมูลจำนวนของเกษตรกร ข้อมูลการวินิจฉัยโรคทั้งแผนกผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การป่วยจากการสัมผัสความร้อนในเกษตรกร จังหวัดขอนแก่น ช่วงวันที่ 1 มกราคม 2559 ถึง 31 ธันวาคม 2561

             จากผลการศึกษาระดับความชุกของการเกิดโรคจากความร้อน ในเกษตรกรจังหวัดขอนแก่นสูงที่สุด ซึ่งมีระดับความชุกในรอบ 3 ปี เท่ากับ 12.8375 ต่อประชากรแสนราย พบว่าโรคความร้อนที่พบเหมือนกันทั้ง 3 ปี ได้แก่ อาการล้า (ชั่วคราว) และ อาการเป็นลมแดด หากพิจารณาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2559-2561 พบว่า โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยเป็นเพศหญิง มีอายุมากกว่า 51 ปี ส่วนใหญ่อาศัยอยู่นอกเขตและเข้ามารับการรักษา โดยพบว่า เกษตรกรที่ป่วยส่วนใหญ่พบว่า อำเภอเมืองส่วนใหญ่ พืชที่ปลูก คือ ข้าว และ มันสำปะหลัง และจำนวนไร่สำหรับการเพาะปลูกของเกษตรส่วนใหญ่ ได้แก่ น้อยกว่า 10 ไร่ ซึ่งมีผลผลิตส่วนใหญ่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 ตัน/ปี หากพิจารณาอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดร่วมกับความชุกการเกิดโรคจากความร้อนในเกษตรกรจะพบว่ามีค่าความชุกเพิ่มสูงขึ้นทุกปีซึ่งมีแนวโน้มในทางเดียวกันกับค่าเฉลี่ยสูงสุดของอุณหภูมิ ความชุกของการเกิดโรคจากความร้อนในเกษตรกรนั้น มีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นในทุกปี สอดคล้องกับอุณหภูมิของโลกที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในทุกปี จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจที่จะทำการศึกษาต่อเพื่อหาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคจากความร้อนในกล่มุ เกษตรเพาะปลูก พร้อมทั้งจัดทำเครื่องมือที่ช่วยในการเฝ้าระวังการเกิดโรคจากความร้อนในเกษตรกรเพื่อลดความชุกของการเกิดโรคจากความร้อนในอนาคต

References

บีบีซี นาวิเกชัน.อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกในปี 2016 ร้อนสุด เป็นประวัติการณ์, 2560. เข้าถึงได้จาก https://www.bbc.com/thai/international-38675932, เข้าถึงเมื่อ 15 เมษายน 2562,

CDC. Heat Stress - Heat Related Illness,2018. เข้าถึงได้จาก https://www.cdc.gov/niosh/topics/heatstress/heatrelillness.html, เข้าถึงเมื่อ 20 เมษายน 2562.

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. รายงานสถานการณ์โรคและภัยสุขภาพจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมปี 2559, 2560. เข้าถึงได้จาก hdc.moph.go.th/contents/view/561http://envocc. เข้าถึงเมื่อ 18 เมษายน 2562.

Xiang J, BI P, Pisaniello D, Hansen A. Health Impacts of Workplace Heat Exposure : An Epidemiological Review. Industrial Health 2014, 52, 91–101

สมจิต แดนสีแก้ว, รัตน์ดาวรรณ คลังกลาง, เกศินี สราญ-ฤทธิชัย. ประสบการณ์ของชาวนาในการป้องกันการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับการทำนา. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2557 ; 33 (1) :, 134-144.

ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์, วรันธรณ์ จงรุ่งโรจน์สกุล, ธานี แก้วธรรมานุกูล, อนนท์ วิสุทธิ์ธนานนท์, วิไลพรรณ ใจวิไล. สถานการณ์ด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมของกลุ่มเกษตรกรปลูกข้าวโพด. พยาบาลสาร พ.ศ. 2562; 46(1) : 4-16

Bethel JW, Harger R. Heat-Related Illness among Oregon Farmworkers. Int. J. Environ. Res. Public Health 2014;

: 9273-9285.8. ศูนย์ภูมิอากาศ สำนักพัฒนาอุตุนิยมวิทยา. ภูมิอากาศ จังหวัดขอนแก่น, 2560 เข้าถึงได้จาก http://climate.tmd.go.th/data/province/ตะวันออกเฉียงเหนือ/ภูมิอากาศขอนแก่น.pdf, เข้าถึง

เมื่อ 18 เมษายน 2562.

สำนักงานสถิติจังหวัดขอนแก่น.รายงานสถิติจังหวัด พ.ศ.2560, 2560. เข้าถึงได้จาก https://issuu.com/khonkaen.nso.go.th/docs/1aa3e08374d6ee. เข้าถึงเมื่อ 18 เมษายน 2562.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมส่งเสริมการเกษตร. Farmer Map อ้างอิงฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกร ณ วันที่ 30 เมษายน 2559. Farmer Map, 2559. เข้าถึงได้จากhttp://www.ictc.

doae.go.th/wpcontent/uploads/2017/11/farmermapbook58.pdf, เข้าถึงเมื่อ 18 เมษายน 2562

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมส่งเสริมการเกษตร. Farmer Map อ้างอิงฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกร ณ วันที่ 30 เมษายน 2560. Farmer Map, 2560. เข้าถึงได้จาก http://www.ictc.doae.go.th/wpcontent/uploads/2017/11/farmermap59.pdf, เข้าถึงเมื่อ 18 เมษายน 2562

ธัญญารัตน์ ทราบจังหรีด และอุไรวรรณ อินทร์ม่วง. การเจ็บป่วยที่สัมพันธ์กับความร้อนของเกษตรกรตำบลตะขบ อำเภอปกธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหา-วิทยาลัยขอนแก่น 2559, 9 (2), 53-59.

Lundgren K, Kalev K, Gao KC.Effects of Heat Stress on Working Populations when Facing Climate Change. Industrial Health 2013; 51:110.

Dang TN , Honda Y, Do DV, Pham ALT, Chu C, Huang C, et al. Effects of Extreme Temperatures on Mortality and Hospitalization in Ho Chi Minh City, Vietnam.Int.JEnviron

Res Public Health 2019;16(43)

Spector JT, Krenz J, Rauser E, Bonauto DK. Heat-Related Illness in Washington State Agriculture and Forestry Sectors. AMERICAN JOURNAL OF INDUSTRIAL MEDICINE 2014; 57: 881–895.

Arcury TA, Summers P, Talton JW, Chen H, Sandberg JC, Johnson CRS, et all. Heat Illness among North Carolina Latino Farmworkers, J Occup Environ Med. 2015 December; 57 (12): 1299–1304.

El-Shafei DA, Bolbol SA, AwadAllah MB, Abdelsalam AE. Exertional heat illness: knowledge and behavior among construction workers, Environmental Science and Pollution Research (2018); 25:32269–32276

Abdelmoety DA, El-Bakri NK, Almowalld WO, Turkistani ZA, Bugis BH, Baseif EA, et all. Characteristics of Heat Illness during Hajj:A Cross-Sectional Study Hindawi, BioMed Research International Volume 2018;1-5

จิว เชาว์ถาวร, ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์, วรันธรณ์ จงรุ่งโรจน์สกุล. ภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงานของเกษตรกรปลูกหอมแดง ตำบลจำป่าหวาย อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา, Nursing Journal April-June 2014; 41(2) : 35–47.

Mathee A, Oba J, Rose A, Climate change impacts on working people (the HOTHAPS initiative) findings of the South African pilot study, Global Health Action 2010; 3 (5612): 1-9

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-06