การประเมินภาระงานของกล้ามเนื้อและความเสี่ยงทางการยศาสตร์ในพนักงาน ที่มีการยกลำเลียงในโรงงานอุตสาหกรรม

ผู้แต่ง

  • ปริญญาภรณ์ แก้วยศ

คำสำคัญ:

งานยก, REBA, NIOSH lifting, คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ

บทคัดย่อ

         พนักงานโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ มีการทำงานที่เสี่ยงต่อการเกิดอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มพนักงานที่ออกแรงยกของตามจังหวะการควบคุมของเครื่องจักรลำเลียงและด้วยท่าทางที่ไม่เป็นไปตามหลักการยศาสตร์ทำให้พนักงานอาจได้รับบาดเจ็บที่บริเวณหลังได้ ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินภาระงานของกล้ามเนื้อ และความเสี่ยงทางการยศาสตร์ ซึ่งเป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางในพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมที่มีหน้าที่ยกของต่อเนื่องอย่างน้อย 1 ชั่วโมงต่อวันโดยทำงานกับเครื่องจักรลำเลียง จำนวน 12 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วัดภาระงานของกล้ามเนื้อโดยเครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (EMG) ใน 2 ลักษณะ ได้แก่ ความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อ และการหดตัวของกล้ามเนื้อสูงสุด (%MVC) แบบประเมินท่าทางการทำงานของ REBA (Rapid Entire Body Assessment) และ NIOSH lifting จากผลของความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อ สามารถแบ่งได้เป็นกลุ่มที่มีความเมื่อยล้า และกลุ่มที่ไม่มีความเมื่อยล้า โดยมีค่าเฉลี่ยความชันของกราฟความถี่ของคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อเท่ากับ -11.2 และ 2.18 ตามลำดับ และจากการประเมินความรู้สึกไม่สบาย ส่วนใหญ่พบที่บริเวณหลังส่วนล่างในระดับเล็กน้อยร้อยละ 16.67 รองลงมารู้สึกไม่สบายในระดับมากร้อยละ 8.33 นอกจากนี้พบค่าเฉลี่ยของค่า %MVC เท่ากับ 48 และ 54.25 ตามลำดับเมื่อประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ด้วย REBA พบว่าทั้ง 2 กลุ่มมีระดับความเสี่ยงอยู่ในระดับสูงขณะทำงานยก และความเสี่ยงปานกลางขณะวางผลการประเมินความเสี่ยงด้วย NIOSH พบว่า ทั้ง 2 กลุ่มมีความเสี่ยงระดับ 4 หมายถึงงานนั้นมีปัญหาควรแก้ไขปรับปรุงโดยทันที และขณะวางมีความเสี่ยงระดับ 2 หมายถึง งานนั้นควรมีการตรวจสอบและติดตามผลการศึกษาในครั้งนี้บ่งชี้ถึงสภาพความเสี่ยงทางการยศาสตร์ในพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมที่มีหน้าที่ยกลำเลียงของต่อเนื่องอย่างน้อย 1 ชั่วโมงไปพร้อมเครื่องจักรลำเลียงโดยพบว่างานในลักษณะดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อ ดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้พนักงานหลีกเลี่ยงท่าทางการทำงานโดยเฉพาะท่ายกแขนสูงเหนือศีรษะ ท่าก้มลำตัว และท่าบิดลำตัวที่มากเกินไปอาจส่งผลกระทบต่ออาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อทั้งในระยะเฉียบพลันและเรื้อรังได้ โดยการปรับระดับหน้างานที่เป็นเครื่องจักรให้เหมาะสมกับสรีระของตน

References

Plamondon A, Lariviere C, Denis D, Mecheri H, Nastasia I, IRSST MMH research group. Difference between male and female workers lifting the same relative load when palletizing boxes. ApplErgon 2017; 60: 93-102.

ธนารักษ์ หีบแก้ว,ณัฐพล พุฒยางกูร. การศึกษาความเสี่ยงด้านการยศาสตร์สำหรับการยกของด้วยแรงกายด้วยสมการยกของ NIOSH. ใน: การสัมมนาและประชุมวิชาการทางการยศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2559; 15-17 ธันวาคม 2559. หน้า 45-55.

สุนิสา ชายเกลี้ยง.สรีรวิทยาการทำงานและการยศาสตร์. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2557

สำนักงานประกันสังคม. ข้อมูลสถิติกองทุนเงินทดแทน [ออนไลน์] 2561 [อ้างเมื่อ 3 เมษายน 2562], จากhttps://www.sso.go.th/wpr/assets/upload/files_storage/sso_th/d3789f5205a06fa221f1-feaf85bf76b7. pdf.

Varrecchia T, Cristiano DM, Rinaldi M, Draicchio F, Serrao M, Schmid M, et al. Lifting activity assessment using surface electromyographic features and neural networks. International Journal of Industrial Ergonomics 2018; 66(1): 1-9.

อรรถพล แก้วนวล, บรรพตโลหะพูนตระกูล, กลางเดือนโพชนา. ความชุกของความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานในอาชีพต่างๆ. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2560; 12(2): 53-64.

จันจิราภรณ์ วิชัย, สุนิสา ชายเกลี้ยง.การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ ในพนักงานที่มีการยกเคลื่อนย้ายวัสดุ.วารสารวิจัย มข.2557; 19(5): 708-19.

Ahmad I, Kim JY. Assessment of whole body and local muscle fatigue using electromyography and a perceived exertion scale for squat Lifting. International Journal of Environmental Research and Public Health 2018; 15(4).doi: 10.3390/ijerph15040784.

อรุณจิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2551.

สุนิสา ชายเกลี้ยง, จันทิมา ดรจันทร์ใต้, จันจิราภรณ์ วิชัย. การประเมินความเสี่ยงต่อการปวดหลังส่วนล่างจากการทำงานของพนักงานยกเคลื่อนย้ายวัสดุ. วารสารความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม2559;25(1): 8-17.

สุนิสา ชายเกลี้ยง, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ, วิภารัตน์ โพธิ์ขี. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ปัจจัยเสี่ยง ความเสี่ยงทางการยศาสตร์และความชุกของการปวดหลังของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมอิเลคทรอนิกส์. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2558.

Hignett S, McAtammney L. Rapid entire body assessment. ApplErgon 2000; 31(2): 201-5.

Hlavenka TM, Christner, VFK, Gregory DE. Neck posture during lifting and its effect on trunk muscle activation and lumbar spine posture. ApplErgon2017; 62(1): 28-33.

สุธีรา เตชะธนะวัฒน์, และธิดา ตังตระกูลไพศาล. การศึกษาเปรียบเทียบภาพคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อของกล้ามเนื้อทราพีเซียสบนขณะปฏิบัติงานทางทันตกรรมระหว่างทันตแพทย์ที่มีอาการและไม่มีอาการปวดบริเวณกล้ามเนื้อหลังส่วนบน. ว.ทันต.มศว. 2555; 5(1):77-85.

Spyropoulos E, Chroni E, Athanassiou G. Muscle fatigue estimation in repetitive lifting task using surface electromyography-based analysis.Journal of Ergonomics 2015; 5(2). doi: 10.4172/2165-7556.1000139.

Halim I, Omar AR, Saman AM, Othman I. Assessment of Fatigue Associated with Prolonged Standing in the Workplace. Safety and Health at Work 2012; 3(1): 31-42.

Wan JJ, Qin Z, Wang PY, Sun Y, Liu X. Muscle fatigue: general understanding and treatment. Journal of the Korean Society for Biochemistry and Molecular Biology 2017; 49.doi: 10.1038/emm.2017.194.

Bonato P, Ebenbichler GR, Roy SH, Lehr S, Posch M, Kollmitzer J, et al.Muscle fatigue and fatigue-related biomechanical changes during a cyclic lifting task. Spine 2003; 28(16): 1810-20.

Berchicci M, Menotti F, Macaluso A, Di Russo F. The neurophysiology of central and peripheral fatigue duing sub-maximal lower limb isometric contractions. Front. Hum. Neurosci 2013; 7(135). doi: 10.3389/fnhum.2013.00135.

de Looze MP, Boeken-Kruger MC, Steenhuizen S, Baten CT, Kingma I, van Dieen JH. Trunk muscle activation and low back loading in lifting in the absence of load knowledge. Ergonomics 2000; 43(3):333-44.

Yi C, Li KW, Tang F, Zuo H, Ma L, Hu H. Pulling strength, muscular fatigue, and prediction of maximum endurance time for simulated pulling tasks. Plos one 2018; 13(12):e0207283. https://doi.org/10.1371/journal.pone.0207283.

Torres Y, Vina S.Evaluation and redesign of manual material handling in a vaccine production centre’s warehouse. Work 2012; 41(1): 2487-91.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-06