ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่ออาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างของนิสิต ระดับปริญญาตรีที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ สังกัดมหาวิทยาลัยนเรศวร

ผู้แต่ง

  • นภัสรา ไชยะ

คำสำคัญ:

อาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง, นิสิต, การใช้คอมพิวเตอร์

บทคัดย่อ

        การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างของนิสิตระดับปริญญาตรีที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ สังกัดมหาวิทยาลัยนเรศวร เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 212 คน โดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล ข้อมูลปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานคอมพิวเตอร์ และข้อมูลอาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างโดยใช้สถิติ Mann-Whitney U test และ Kruskal-Wallis test ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง (ร้อยละ 54.2) อายุเฉลี่ย 21.00 ± 0.83 ปี ระยะเวลาในการใช้งานคอมพิวเตอร์ต่อวัน ≥ 4 ชั่วโมง (ร้อยละ 52.36) ความชุกของการเกิดอาการสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ คอ (ร้อยละ 70.8) หลังส่วนล่าง (ร้อยละ 53.3) และหลังส่วนบน (ร้อยละ 50.5) ตามลำดับ นอกจากนี้ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ได้แก่ เพศ (p-value = 0.019) การออกกำลังกาย (p-value = 0.047) อายุ (p-value = 0.042) ระยะเวลาการใช้งานคอมพิวเตอร์ต่อวัน (p-value = 0.003) และระยะเวลาการใช้งานคอมพิวเตอร์โดยไม่หยุดพัก (p-value = 0.028) ดังนั้นสถานศึกษาควรจัดโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ นอกจากนี้ควรมีการจัดอบรมเกี่ยวกับท่าทางการใช้งานคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสม เพื่อป้องกันหรือลดความรุนแรงของการเกิดอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง

References

Deros, B.M., Daruis, D.D.I., Thiruchelvam, S., Othman, R., Ismail, D., Rabani, N.F., et al.Evaluation on Ambulance Design and Musculoskeletal Disorders Risk Factors among Ambulance Emergency Medical Service Personnel. Iran J Public Health 2016; 45(1): 52-60.

Simoneau S., ST-Vincent, M. & Chioine D. Work-Related Musculoskeletal Disorder (WMSDs). Infrastructure Health & Safety Association. 1996.

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์ โรคและภัยสุขภาพจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมปี2561. (เข้าถึงเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2561). เข้าถึงได้จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=envocc/format3.php&cat_id=f16421e617aed29602f9f09d951cce68&id=27b76100cf013d00077b73274d1dc690#

NIOSH. Elements of Ergonomics Programs: A Primer Based on Evaluations of Musculoskeletal Disorders. DHHS (NIOSH) Publication 1997; 97-117.

กลางเดือน โพชนา และองุ่น สังขพงศ์. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อของ กลุ่มผู้ใช้คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก กรณีศึกษา นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต หาดใหญ่. วารสารสาธารณสุข. 2557; 44(2).

วิลาวัลย์ ชันแก่น. ปัจจัยด้านการยศาสตร์และอัตราความชุกของอาการปวดทางโครงร่างและกล้ามเนื้อใน คนงานโรงงานผลิตชิ้นส่วนสารกึ่งตัวนำในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ. [วิทยานิพนธ์ พย.บ.], มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 2556.

งานทะเบียนนิสิตและประมวลผลกองบริการการศึกษา. รายงานสถิติจำนวนนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร ประจำปีการศึกษา 2560. (เข้าถึงเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2561). เข้าถึงได้จาก file:///D:/Journal/Thesis/สถิตินิสิตประจำปีการศึกษา_2560[24-10-2560].pdf

Wayne, W.D. Biostatistics: A Foundation of Analysis in the Health Sciences (6th ed.). John Wiley&Sons, Inc. 180.

Erdinc, O. and Eksioglu, M. (n.d.). Student Specific Cornell Musculoskeletal Discomfort Questionnaires (SS-CMDQ). Available at http://ergo.human.cornell.edu/ah SSCMDQ quest.htm, accessed March 21, 2018.

สุนิสา ชายเกลี้ยง, พีรพงษ์ จันทราเทพ, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ และรุ้งทิพย์ พันธุเมธากุล. ความชุกและปัจจัย เสี่ยงทางการยศาสตร์ของการปวดหลังส่วนล่างในพนักงานเก็บขนขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัด หนองบัวลำภู. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด. 2554; 24(1): 97-109.

จารุวรรณ ปันวารี, จักรกริช กล้าผจญ และภิชนา โฆวินทะ. อาการปวดคอที่เกิดกับบุคลากรที่ใช้คอมพิวเตอร์: การศึกษาปัจจัยทางการยศาสตร์. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร. 2552; 19(1): 30-35.

ปิติกานต์ บูรณาภาพ. โยคะและโภชนาการเพื่อชะลอวัย. กรุงเทพฯ: ยูโรปา เพรสจำกัด; 2552.

Alec, L., Meleger., Lisa, S. and Krivickas.Neck and Back Pain: Musculoskeletal Disorders. Neurologic Clinics 2007;25(2), 419-438.

สุนันทา การะนันท์. พฤติกรรมการทำงานที่ส่งผลให้เกิดความเมื่อยล้ากล้ามเนื้อของเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ์จังหวัดปราจีนบุรี. การประชุมวิชาการระดับชาติ เรื่องกำลังคนด้านสุขภาพกับการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ สถาบันพระบรมราชชนก; 2552. หน้า 85

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-06