ภาวะสุขภาพและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพของเกษตรกรชาวไร่อ้อย อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
ภาวะสุขภาพ, สิ่งคุกคามสุขภาพ, เกษตรกรชาวไร่อ้อยบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพของเกษตรกรชาวไร่อ้อยในอำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามในกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 114 คน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีภาวะสุขภาพอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 50.9) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การออกกำลังกาย (p-value = 0.020) สิ่งคุกคามสุขภาพด้านกายภาพ (p-value = 0.001) สิ่งคุกคามสุขภาพด้านเคมี (p-value = 0.032) สิ่งคุกคามสุขภาพด้านชีวภาพ (p-value = 0.007) และสิ่งคุกคามสุขภาพด้านจิตสังคม (p-value < 0.001) ผลการศึกษาที่พบครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าเกษตรกรชาวไร่อ้อยบางส่วนมีภาวะสุขภาพอยู่ในระดับที่ไม่ดี ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ควรมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ และให้ความรู้ในเรื่องการป้องกันและควบคุมสิ่งคุกคามที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพในสถานที่ทำงานให้แก่เกษตรกรชาวไร่อ้อย
References
Centers for Disease Control and Prevention [Internet]. 2018 [cited 2018 Apr 23]. Available from https://www.cdc.gov/niosh/topics/aginjury/default.html
สำนักงานโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. ปัญหาโรคและภัยสุขภาพในกลุ่มเกษตรกร [อินเตอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 10 เมษายน 2561]. เข้าถึงได้จาก http://envocc.ddc.moph.go.th/contents/view/403
สำนักงานโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. รายงานสถานการณ์ โรคและภัยสุขภาพจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมปี 2560 [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 23 เมษายน 2562]. เข้าถึงได้จาก http://envocc.ddc.moph.go.th/uploads/situation/01_envocc_situation_60.pdf
ดาริวรรณ เศรษฐีธรรม, กาญจนา นาถะพินธุ, วรรณภา อิชิดะ, ทวีศักดิ์ ปัดเต. พฤติกรรมเสี่ยงและปัจจัยที่ส่งผลต่อสภาวะสุขภาพของเกษตรกรทำนา. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2556; 6: 4-12.
จีรนันท์ จะเกร็ง. ผลกระทบต่อสุขภาพกายจากการสัมผัสพลังงานความร้อนขณะทำงานในกลุ่มคนงานทำ นาเกลือจังหวดั สมุทรสงคราม [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2553.
Hofmann JN, Crowe J, Postma J, Ybarra V, Eifer MC. Perceptions of environmental and occupational health hazards among agricultural workers in Washington State. AAOHN J 2009; 57: 359-71.
สำนักงานโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. โรคจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช [อินเตอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 23 เมษายน 2562]. เข้าถึงได้จาก http://envocc.ddc.moph.go.th/contents/view/72
ลักขณาพร โทวรรธนะ. การบาดเจ็บที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานและพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของเกษตรกร [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2552.
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. แนวทางการจัดบริการอาชีวอนามัยให้กับแรงงานในชุมชนด้านการยศาสตร์ [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 10 เมษายน 2561]. เข้าถึงได้จาก http:// envocc.ddc.moph.go.th/uploads/media/manual/Guidelines_Health_Services.pdf
Phajan T., Nilvarangkul K, Settheetham D, Laohasiriwong W. Work-related musculoskeletal disorders (WMSDs) among sugarcane farmers in North-Eastern Thailand. Asia-Pacific Journal of Public Health 2014; 26: 320-7.
Kallioniem MK, Simola A, Kaseva J, Kymäläinen HR. Stress and burnout among finnish dairy farmers. Journal of Agro medicine 2016; 21: 256-68.
Kearney GD, Rafferty AP, Hendricks LR, Allen DL, Tutor - Marcom R. A cross-sectional study of stressors among farmers in Eastern North Carolina. North Carolina Medical Journal 2014; 75: 384-92.
วีรพงษ์ รามางกูร. เปิดเสรีอ้อยและน้ำตาล [ อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 10 เมษายน 2561]. เข้าถึงได้จาก https://www.matichon.co.th/columnists/news_813815
สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. รายงานพื้นที่ปลูกอ้อย ปีการผลิต 2559/60 [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 22 มีนาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก http://www.ocsb.go.th/upload/ journal/fileupload/923-9999.pdf
เกษม สุขสถาน. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. เล่ม 5. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิชย์; 2523.
สำนักงานเกษตรจังหวัดขอนแก่น. ข้อมูลด้านการเกษตร [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อเมื่อ 22 เมษายน 2561]. เข้าถึงได้จาก http://www.khonkaen.doae.go.th/
ธีรวุฒิ เอกะกลุ. ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี; 2543.
รัตนาภรณ์ อาษา, กฤติเดช มิ่งไม้, จิตสุภา พาแกด, อภิสรา มุสิกาวัล, นิตยาวรรณ เจริญขำ. ภาวะสุขภาพของเกษตรกรไร่อ้อยในตำบลเนินขาม อำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท. การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2560; 20 มกราคม 2560; มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. มหาสารคาม; 2560. 1823-9.
Park K, Roh S, Lee J, Kwon SC, Jeong M, Lee S. Health status and related factors in farmers by SF-12. Annals of Occupational and Environmental Medicine 2015; 27: 1-6.
ภารินี หงษ์สุวรรณ, โกวิท เป็งวงศ์, บรรณาธิการ. แนวทางการดูแลสุขภาพตามหลัก 3อ. อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์. นนทบุรี: สำนักงานส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2560.
นิภาพร ศรีวงษ์, อุไรวรรณ อินทร์ม่วง. ผลกระทบต่อสุขภาพจากการทำไร่อ้อยของเกษตรกรชาวไร่อ้อย ตำบลหนองกุงแก้ว อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น 2556; 6: 14-22.
วารุณี พันธ์วงศ์, กาญจนา ปินตาคำ. ปัจจัยคุกคามต่อสุขภาพของเกษตรกรชาวนาไทย: กรณีศึกษาชาวนาตำบลบ้านดู่ อำเภอเมืองจังหวัดเชียงราย. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย 2560; 11: 125-33.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.