ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถภาพปอดของพนักงานโรงสีข้าว

ผู้แต่ง

  • สุปราณี คุณร้าน

คำสำคัญ:

ฝุ่นที่เข้าสู่ระบบทางเดินหายใจได้, โรงสีข้าว, สมรรถภาพปอด

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านงานและปริมาณการรับสัมผัสฝุ่นที่เข้าสู่ระบบทางเดินหายใจได้ (Inhalable dust) ที่มีความสัมพันธ์กับอาการผิดปกติของสมรรถภาพปอดของพนักงานในโรงสีข้าวแห่งหนึ่ง ของภาคตะวันออกฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานที่ทำงานในกระบวนการผลิต จำนวน 101 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยด้านงาน การเก็บตัวอย่างฝุ่นที่เข้าสู่ระบบทางเดินหายใจได้ด้วย IOM Sampler และการตรวจสมรรถภาพปอด ผลการวิจัยพบว่า พนักงานส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 86.1 ช่วงอายุที่พบมากที่สุด อายุ 46-55 ปี ร้อยละ 41.6 มีสถานภาพสมรสร้อยละ 78.2 จบการศึกษาจบมัธยมศึกษาตอนต้นร้อยละ 38.6 สูบบุหรี่ร้อยละ 45.5 พนักงานส่วนใหญ่มีการใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจร้อยละ 60.4 พนักงานมีอายุงานเฉลี่ย 10.86 ±7.92 ปี ปริมาณการรับสัมผัสฝุ่นที่เข้าสู่ระบบทางเดินหายใจได้ ความเข้มข้นสูงสุดที่แผนก สี/แปรสภาพ 12.76mg/m3 ความเข้มข้นต่ำสุดที่แผนกรับ/อบสินค้า 0.04mg/m3 มีค่าเฉลี่ย 2.86±2.85 mg/m3 ความสัมพันธ์ระหว่างฝุ่นที่เข้าสู่ระบบทางเดินหายใจได้ กับสมรรถภาพปอด พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับสมรรถภาพปอด ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์กับสมรรถภาพปอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ เพศ (p = 0.012) อายุ (p = 0.001) สถานภาพ (p = 0.02) การสูบบุหรี่ (p = 0.005) และโรคประจำตัว (p = 0.045) และปัจจัยด้านงานที่ความสัมพันธ์กับสมรรถภาพปอดอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ได้แก่ อายุงาน (p = 0.000) ดังนั้นจึงควรมีการเฝ้าระวังและมีการตรวจสมรรถภาพของปอดพนักงานเป็นประจำทุกปี ควรมีมาตรการบังคับใช้การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันทางเดินหายใจอย่างเคร่งครัด และควรมีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพให้กับพนักงาน ได้แก่ การรณรงค์การงดสูบบุหรี่ และการจัดพื้นที่พักผ่อนให้กับพนักงานแยกจากพื้นที่การผลิต

References

กรมโรงงานอุสาหกรรม. คู่มือการกำกับดูแลโรงงานอุตสาหกรรมสีข้าว สีข้าวนึ่ง. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์พิมพลักษณ์; 2552.

Dhankhar P, Hissar T. Rice milling. IOSR J Eng. 2014;4(5): 34-42.

กรมอนามัย. โครงการศึกษา แนวทางการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (HIA) ในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535: กรณีศึกษาการประกอบกิจการโรงสีข้าว. กระทรวงสาธารณสุข; 2553.

Sullivan JB, Krieger GR. Clinical environmental health and toxic exposures: Lippincott Williams & Wilkins; 2001.

Christiani D, Wegman D. Respiratory disorders. Occupational Health: Recognizing and Preventing Work-Related Disease. 2000:427-54.

Parnell Jr CB, Jones DD, Rutherford RD, Goforth KJ. Physical properties of five grain dust types. Environmental Health Perspectives. 1986;66:183.

Batsungneon K, & Kulworawanichpong, T.,. Effect of Dust Particles in Local Rice Mills on Human Respiratory System. World Academy of Science, Engineering and Technology.2011; 80:260-5.

Milanowski J. Organic dust-induced lung diseases. Current Pneumol. 1998;2:15-20.

Bickis U. Hazard prevention and control in the work environment: airborne dust. World Health. 1998;13:16.

Ghosh T, Gangopadhyay S, Das B. Prevalence of respiratory symptoms and disorders among rice mill workers inIndia. Environ Health Prev Med. 2014;19(3):226-33.

Cochran WG. Sampling Techniques: 3d Ed: Wiley New York; 2007.

Dewangan KN, Patil MR. Evaluation of Dust Exposure among the Workers in Agricultural Industries in North-East India. Ann Occup Hyg. 2015;59(9):1091-105.

Rana MC, Naskar S, Roy R, Das DK, Das S. Respiratory morbidity among rice mill workers in an urban area of Burdwan District, West Bengal: A cross-sectional study. Indian J Occup Environ Med. 2018;22(1):5.

Said AM, AbdelFattah EB, Almawardi A-AM. Effects on respiratory system due to exposure to wheat flour. Egypt J Chest Dis Tuberc. 2017;66(3):537-48.

Eshwaramma P, Sudeena, S. K., & Chaladevi, D. A study of Respiratory disorders in rice mill workers of the Mahaboobnagar and to compare with the control group from same district. Asian Pac J Health Sci. 2016; 3(1):175-80.

Kaur SKDaH. Study of effect of flour dust and rice husk dust on pulmonary functions. Indian J Fund Applied Life Sci ISSN: 2231-6345 (Online). 2011;1(4): 100-106.

Uma R RL. Susceptibility towards obstructive lung change (FEV1/FVC) in rice mill workers in comparison to normal adult individuals. Int J Biol Med 2016;7(2):5534-6.

Somani, Handergulle, Jashi P. Effect of flour dust on pulmonary functions in flour mill workers in marathawada region. Intern J Basic & Appl Phys. 2014;35:472-6.

Hearl FJ. Current exposure guidelines for particulates not otherwise classified or regulated: History and rationale. Appl Occup Environ Hyg. 1998;13(8):608-12.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-06