การประเมินการรับสัมผัสสารโทลูอีนและไซลีนที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการทำงาน ของพนักงานเก็บกวาดขยะในเขตควบคุมมลพิษของจังหวัดระยอง

ผู้แต่ง

  • ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์

คำสำคัญ:

โทลูอีน, ไซลีน, ความสามารถในการทำงาน, พนักงานเก็บกวาดขยะ

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง โดยมีการประเมินการรับสัมผัสสารโทลูอีนและไซลีนและประเมินความสามารถในการทำงาน จำนวนตัวอย่างทั้งหมดในการศึกษามี 200 คน กลุ่มศึกษา (n=100) มีอายุเฉลี่ย 44.05 ปี และ 33.95 ปี สำหรับกลุ่มเปรียบเทียบ (n=100) กลุ่มศึกษาในแต่ละวันส่วนใหญ่ทำหน้าที่เก็บกวาดขยะ 8 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 92.0 และทำงาน 6 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 63.0 มีการใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจทุกครั้ง ร้อยละ 57.0 โดยส่วนใหญ่เป็นการใช้ผ้าปิดจมูก ร้อยละ 97.9 และระดับความสามารถในการทำงาน อยู่ในระดับดี ร้อยละ 64.0 ในการเก็บตัวอย่างอากาศใช้ Organic Vapor Monitor (3M 3500) ติดตัวบุคคลในระดับการหายใจของกลุ่มศึกษา พบว่า กลุ่มศึกษา (n=100) มีค่าเฉลี่ย ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของโทลูอีน 86.09 ± 84.016 ppb และไซลีน 4.85 ± 6.125 ppb และมีการเก็บตัวอย่างปัสสาวะหลังสิ้นสุดการทำงาน พบว่ากลุ่มศึกษา (n=100) มีค่าเฉลี่ย ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของโทลูอีนในปัสสาวะ 0.001 ± 0.002 μg/l และไซลีนในปัสสาวะ 0.038 ± 0.082 μg/l เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของปริมาณความเข้มข้นของสารโทลูอีนและไซลีนในบรรยากาศการทำงานระหว่างกลุ่มศึกษาและกลุ่มเปรียบเทียบ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p <0.001 และ p<0.001 ตามลำดับ) และเมื่อหาความสัมพันธ์พบว่าปริมาณความเข้มข้นของสารโทลูอีนและไซลีนในบรรยากาศการทำงานแบบติดตัวบุคคลและในปัสสาวะกับความสามารถในการทำงานของกลุ่มศึกษาพบว่าไม่มีความสัมพันธ์กัน จากผลการศึกษานี้ทำให้ตระหนักได้ว่า กลุ่มศึกษาควรได้รับการอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจถึงอันตรายของสารโทลูอีนและไซลีนและวิธีการป้องกันรวมถึงการแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อไปในขณะปฏิบัติงาน

References

วชร โอนพรัตน์วิบูลและอดุลย์ บัณฑุกุล. สารตัวทำละลายอินทรีย์. ตำราอาชีวเวชศาสตร์ text books of occupational medicine. กรุงเทพมหานคร: โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. 2554.

Dennison JE, Bigelow PL, Mumtaz MM, Anderson ME, Dobrev ID, Yang RS. Evaluation of potential toxicity from co-exposure to three CNS depressants (toluene, ethylbenzene and xylene) under resting and working conditions using PBPK. J Occup Environ Hyg 2005; 2(3): 127- 35.

Chang FK, Chen ML, Cheng SF, Shih TS, Mao IF. Dermal absorption of solvents as a major source of exposure among shipyard spray painters. J Occup Environ Med 2007; 49: 430-6.

ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์. การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพจากการสัมผัสสาร Organic Solvent ในกลุ่มปฏิบัติงานกับรถโดยสารธรรมดา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2553.

Jimenez GO, Marquez GS, Albores A, Caudillo CC, Carrieri M, Bartolucci GB, Manno M. CYP2E1 phenotype in Mexican workers occupationally exposed to low levels of toluene. Toxicol Lett 2012; 210 (2): 254 – 63.

Ongwandee M, Chavalparit O. Commuter exposure to BTEX in public transportation modes in Bangkok, Thailand. J Environ Sci (China) 2010; 22 (3): 397 – 404.

อรวรรณ แก้วบุญชู. คู่มือประเมินความสามารถในการทำงาน. ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. 2550.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: จามจุรีโปรดักส์; 2551.

ACGIH. Threshold limit values for the chemical substances and physical agents and biological exposure indicies. American Conference of Governmental Industrial Hygienists, Cincinnati, Ohio, USA. 2011.

Martinez, M.C, & Latorre, MRDO. Health and work ability among office workers. Rev Saude Publica 2006; 40(5):1-7.

Tuomi, K., Huuhtanen, P., Nykyri, E. & Ilmarinen, J. Promotion of work ability, the quality of work and retirement. Occup Med 2001; 51(5):318-24.

Pohjonen, T. Perceived work ability of home care workers in relation to individual and work-related factors in different age groups. Occup med 2001;51(3):209-17.

Kiss, P., Walgraeve, M. & Vanhoorne, M. Assessment of work ability in aging fire fighters by means of the work ability index preliminary results. Arch Public health 2002; 60: 233-43.

Monteiro, MS., Ilmarinen, J., Corraa Filho, HR. Work ability of workers in different age groups in a public health institution in Brazil. Int J Occup Saf Ergon 2006; 12:417-27.

อรวรรณ แก้วบุญชู. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของผู้ใช้แรงงาน. ในเอกสารประกอบการอบรมระยะสั้น เรื่องการพยาบาลอาชีวอนามัย. หน้า 31 – 40. ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. 2546.

Mandiracioglu A, Akgur S, Kocabiyik N, Sener U. Evaluation of neuropsychological symptoms and exposure to benzene, toluene and xylene among two different furniture worker groups in lzmir. Toxico Ind Health 2011; 27(9): 802-9.

Wanna Laowagul, Kunio Yoshizumi, Auemphorn Mutchimwong, Patana Thavipoke, Martin Hooper, Hathairatana Garivait, Wongpun Limpaseni. Characterisation of ambient benzene, toluene, ethylbenzene and m-, p- and o-xylene in an urban traffic area in Bangkok, Thailand. International Journal of Environment and Pollution 2009; 36: 241-54.

Ciarrocca M, Tomei G, Fiaschetti M, Caciari T, Cetica T, Cetica C, Andreozzi G, Capozzella A, Schifano MP, Andre JC, Tomei F, Sancini A. Assessment of occupational exposure to benzene, toluene and xylenes in urban and rural female workers. Chemosphere 2012; 87 (7): 813-9.

Chen ML, Chen SH, Guo BR, Mao IF. Relationship between environmental exposures to toluene, xylene and ethylbenzene and the expired breath concentrations for gasoline service workers. J Environ Monit 2002; 4(4): 562-6.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-06